วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

PM2.5 ฝุ่นร้ายอันตรายรอบตัว

PM2.5 คือฝุ่นพิษขนาดเล็ก ตั้งแต่ 0.1 - 2.5 ไมครอน 
หรือ particulate matter 2.5
  • เป็นอนุภาคขนาดเล็กและเบา
    ลอยกระจายในอากาศได้นาน
  • มีโอกาสหายใจเอาฝุ่นพิษผ่านจมูกเข้าสู่หลอดลม
    และกระแสเลือด กระจายไปยังอวัยะต่างๆ ได้
  • เป็นพาหะนำสารพิษ เช่น สารเคมีพิษ หรือโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย
  • เป็นปัจจัยร่วมของการเกิดโรคต่างๆ
  • เป็นตัวกระตุ้นหรือทำให้บางโรคมีอาการแย่ลง
    • โรคหอบหืด
    • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
    • โรคมะเร็งปอด
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคหัวใจขาดเลือด
ข้อควรปฏิบัติในภาวะอากาศเป็นพิษ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง
    เพื่อป้องกันการสูดฝุ่นละอองเข้าไปในร่างกาย
  • หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร
    ควรใส่หน้ากากชนิดพิเศษ N95 ที่สามารถป้องกันฝุ่นเล็กๆ
    ตั้งแต่ 0.1 - 0.3 ไมครอนได้ดี 
  • ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ
    งดการออกกำลังกายนอกอาคาร
    หากเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศเป็นสีเหลือง
    และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคารทุกชนิดหากเป็นสีส้มขึ้นไป
  • ในคนปกติไม่ควรทำกิจกรรมนอกอาคารเป็นเวลานาน
    โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ หากเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศเป็นสีเหลือง
    จำกัดการออกกำลังกายนอกอาคารหากเป็นสีส้ม
    และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคารเมื่อเป็นสีแดง
ที่มา  :  รศ.นพ.ทรงกลด  เอี่ยมจตุรภัทร

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ยาพ่นทางจมูก ประเภทสเตียรอยด์ใช้ได้กบโรคใดบ้าง

โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ
ช่วยปรับความไวของจมูกต่อสารก่อภูมิแพ้หรือ
สารก่อการระคายเคืองในอากาศให้น้อยลง

โรคริดสีดวงจมูก
ช่วยทำให้ริดสีดวงจมูกมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้น

โรคไซนัสอักเสบ
  • ช่วยลดการอักเสบในจมูก
  • ช่วยทำให้รูเปิดของไซนัสที่มาเปิดในโพรงจมูกโล่งขึ้น
  • ช่วยให้การไหลเวียนของอากาศและการระบายของสารคัดหลั่ง
    หรือหนองที่อยู่ภายในไซนัสดีขึ้น
ที่มา  :  รศ.นพ.ฮิโรชิ  จันทาภากุล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

พึ่งอาหารเสริมลดน้ำหนักเสี่ยงตายเร็ว

จากการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนัก
โดย อย. พบว่าร้อยละ 50 มีการปลอมปนสารอันตรายต่างๆ
โดยเฉพาะ "ไซบูทรามีน" ซึ่งเป็นยาต้องห้าม
มีผลข้างเคียวที่ทำให้เสียชีวิตได้

กาานำยาชนิดต่างๆ มาใช้เพื่อลดน้ำหนัก
ต้องใช้ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

อาการและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

  • ปากแห้ง
  • กระสับกระส่าย
  • นอนไม่หลับ
  • คลุ้มคลั่ง ประสาทหลอน
  • กดการหายใจ
  • ไจสั่น
  • ความดันเลือดสูงขึ้น
  • หัวใจวาย
  • เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักควรเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งเป็นวิธีที่ดี ยั่งยืน และปลอดภัยที่สุด

ที่มา  :  ผศ.นพ.พิสนธิ์  จงตระกูล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ขึ้นเครื่องบินแล้วหูอื้อทำอย่างไรดี

อาการหูอื้อขณะเครื่องบินขึ้นหรือลง เกิดจากหูชั้นกลาง
ไม่สามารถปรับความดันให้เท่ากับบรรยาศภายนอกได้
โดยเฉพาะผู้ที่ต้องขึ้นเครื่องบินขณะที่เป็นหวัด มีอาการภูมิแพ้
หรือไซนัสอักเสบ มีโอกาสหูอื้อมากขึ้น

อาการ แน่นหู เสียงก้องในหู ได้ยินลดลง บางรายอาจมีอาการปวดหูร่วมด้วย

วิธีแก้ไข
  • กลืนน้ำลาย
  • หาว
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • เป่าให้ลมออกหู
เพื่อให้ท่อปรับความดันที่หู (eustachian tube) เปิดออก
ซึ่งส่งผลให้ความดันในหูเท่ากับบรรยากาศภายนอก

หากอาการหูอื้อไม่ดขึ้นแม้จะผ่านไปหลายวันแล้ว
ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีน้ำในหูชั้นกลาง

ที่มา  :  อ.พญ.ภาณินี  จารุศรีพันธุ์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

สาเหตุปัสสาวะเป็นเลือด

  1. การติดเชื้อที่ไต
  2. การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  3. นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในไต
  4. ต่อมลูกหมากโต
  5. โรคไตบางอย่าง เช่น ติดเชื้อไวรัส โรคทางภูมิคุ้มกัน
  6. มะเร็งที่เกิดขึ้นในทางเดินปัสสาวะ
  7. โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเปราะบาง
  8. อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาที่มีการปะทะรุนแรง
    บริเวณไต ท่อไต หรือกระเพาะปัสสาวะ เช่น มวยไทย
  9. คนที่ออกกำลังกายหนักมากๆ
  10. ทานยาปฏิชีวนะหรือยาละลายลิ่มเลือดในระดับที่มากเกินไป
หากปัสสาวะเป็นเลือด ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

ที่มา  :  อ.นพ.มนินทร์  อัศวจินตจิตร์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

มะเร็งคอหอยหลังโพรงจมูก

อาการต้องส่งสัย อาจใช่มะเร็งคอหอยหลังโพรงจมูก
  • ก้อนต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
  • น้ำมูกปนเลือด คัดจมูกข้างเดียว
  • การได้ยินลดลงข้างเดียว
  • ชาบริเวณใบหน้า มองเห็นภาพซ้อน
มะเร็งคอหอยหลังโพรงจมูก พยากรณ์โรคดี มีโอกาสหายขาดสูง

ที่มา  :  รศ.นพ.ณปฏล  ตั้งจาตุรนต์รัศมี

แหล่งที่มา : Line chulahospital

หลงลืมตามวัยหรือสมองเสื่อม

ผู้สูงอายุปกติ
  • สามารถทำกิจวัตรได้ปกติ
  • จะบอกว่าตนเองความจำไม่ดี แต่สามารถบอกได้ว่าลืมอะไร
  • มีความกังวลเกี่ยวกับความทรงจำของตนเอง
  • จำเรื่องราวสำคัญได้
  • บางครั้งนึกคำที่จะพูดไม่ได้
  • ไม่หลงทางในสถานที่ที่คุ้นเคย บางครั้งอาจใช้เวลานึกเล็กน้อย
  • ใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ทั่วไปได้ และเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ ได้
  • มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ปกติ
ผู้ป่วยสมองเสื่อม
  • ต้องให้ผู้อื่นช่วยทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ
  • ไม่สามารถนึกออกว่าตนเองลืมอะไร
  • คนในครองครัวกังวลเกี่ยวกับความจำของผู้ป่วยมากกว่าตัวผู้ป่วยเอง
  • ความจำระยะสั้นแย่ลงจนสังเกตได้ ทั้งการจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
    และความสามารถในการสนทนา
  • นึกคำพูดไม่ออกมากขึ้น นึกคำนาน และใช้คำอื่น
  • ไม่หลงทางในสถานที่ที่คุ้นเคย บางครั้งอาจใช้เวลานึกแทน
    เช่น เรียก "นาฬิกา" ว่า "อันที่ดูเวลา"
  • หลงทางในสถานที่ที่คุ้นเคยในขณะที่เดินหรือขับรถ
  • ไม่สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ทั่วไปได้
    และไม่สามารถเรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ ได้
  • ขาดความสนใจในการเข้าสังคม และแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
ผู้ที่อาการต้องสงสัยสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยได้ที่
ศูนย์ฝึกสมอง รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โทร.02 256 4000 ต่อ 70710

ที่มา  :  รศ.พญ.โสฬพัทธ์  เหมรัญช์โรจน์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

พึ่งอาหารเสริมลดน้ำหนักเสี่ยงตายเร็ว

จากการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
เพื่อลดน้ำหนักโดย อย. พบว่าร้อยละ 50
มีการปลอดปนสารอันตรายต่างๆ โดยเฉพาะ
"ไซบูทธามีน" ซึ่งเป็นยาต้องห้าม
มีผลข้างเคียงที่ทำให้เสียชีวิตได้

การนำยาชนิดต่างๆ มาใช้เพื่อลดน้ำหนัก
ต้องใช้ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

อาการและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
  • ปากแห้ง
  • กระสับกระส่าย
  • นอนไม่หลับ
  • คลุ้มคลั่ง ประสาทหลอน
  • กดการหายใจ
  • ใจสั่น
  • ความดันเลือดสูงขึ้น
  • หัวใจวาย
  • เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักควรเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นวิธีที่ดี
ยั่งยืน และปลอดภัยที่สุด

ที่มา  :  ผศ.นพ.พิสนธิ์  จงตระกูล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยตนเอง

  • เข้านอนและตื่นตอนในเวลาเดิมทุกวัน
    ทั้งวันทำงานและวันหยุด
  • หลีกเลี่ยงการงีบหลับในช่วงกลางวัน
  • จำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงแสงสว่างโดยเฉพาะ
    แสงสว่างจากหน้าจอสมาร์ทโฟนในช่วงก่อนนอน
ที่มา  :  อ.นพ.โชติมันต์  ชินวรารักษ์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

สัญญาณเตือนโรคไตเรื้อรังร้ายแรง

สัญญาณเตือนโรคไตเรื้อรังร้ายแรงควรรีบไปพบแพทย์
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปัสสาวะลดลง
  • ตัวบวม เท้าบวม
  • นอนราบไม่ได้
ที่มา  :  ศ.นพ.สมชาย  เอี่ยมอ่อง

แหล่งที่มา : Line chulahospital

สาเหตุลูกติดเชื้อ 4S

กอด หอมแก้มเด็ก สาเหตุลูกติดเชื้อ 4S ได้จริงหรือ?
ตอบ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย
Staphylococcus aureus สาเหตุของโรค 4S อยู่ตามผิวหนัง
สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสผิวของเด็ก

การป้องกันลูกน้อยจากโรค 4S
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสจากคนแปลกหน้า
    ทั้งการกอด หอม หรือจับใบหน้า
  • หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปในที่แออัด
    หรือผู้คนพลุกพล่าน
  • ควรตัดเล็บลูกน้อยให้สั้นเสมอ
    เพื่อป้องกันการขีดข่วนผิวหนัง
ที่มา  :  ศ.พญ.วรรษมน  จันทรเบญจกุล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562

โรคหัดร้ายแรงในเด็กเล็ก

โรคหัดติดต่อได้ง่ายกว่าไข้หวัดใหญ่ถึง 6 เท่า
พบบ่อยในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีน้ำหนักน้อย
ขาดอาหาร โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
จะต้องดูแลเป็นพิเศษ

อาการ
  • ไม่ไข้สูง ตาแดง และมีอาการทางระบบ
    ทางเดินหายใจมาก เช่น หวัด ไออย่างมาก
  • วันที่ 2-4 จะเห็นมีจุดขาวเล็กๆ ขึ้นในปาก
    ขอบแดงเรียกว่า Koplik's spots
  • เมื่อใช้ครบ 4 วัน เริ่มมีผื่นขึ้นจากบนลงล่าง คือ
    จากบริเวณชายผมลงมาที่บริเวณหน้า ลำตัว
    สู่ปลายเท้าเมื่อผื่นขึ้นถึงปลายเท้า ไข้จะเริ่มลดลง
    อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น ผื่นจะกลายเป็นสีคล้ำดำและคงอยู่ 2-3 สัปดาห์
  • ในรายที่ผื่นถึงปลายเท้าแล้ว ไข้ไม่ลง แสดงว่า
    มีโรคแทรกซ้อนคือ ปอดบวม อาการอาจรุนแรง
    ถึงภาวะหายใจล้มเหลวได้ โรคแทรกซ้อนอื่น เช่น
    หูชั้นกลางอักเสบ สมองอักเสบ ก็อาจพบได้
การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การให้วัคซีนป้องกันหัด
ปัจจุบันอยู่ในรูปวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน และ
คางทูม ทุกคนต้องได้อย่างน้อย 2 ครั้ง
  • อายุ 9 เดือน 1 เข็ม
  • อายุ 2 ขวบครึ่ง 1 เข็ม
  • หากได้ไม่ครบ 2 ครั้ง ถึงแม้ว่าจะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ควรให้ได้รับเพิ่มอีก 1 ครั้ง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ในกรณีที่ไม่มีสมุดวัคซีน หรือบันทึก หรือจำไม่ได้ ก็อาจจะอนุโมว่าไม่ได้รับ
ที่มา  :  ศ.นพ.ยง  ภู่วรวรรณ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

รู้จักน้ำมันมะพร้าวดีแค่ไหน

ก่อนนำไปใช้
น้ำมันมะพร้าวไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า
สามารถใช้ลดน้ำหนักได้

ประโยชน์ของน้ำมัน
  • นำมาสกัดทำ MCT oil (Medium Chain Triglycerides)
    เพราะ MCT oil ดูดซึมเร็วและเอาไปใช้ได้เร็ว
  • นำไปใช้ทำอาหารในกลุ่มคนไข้ที่มีปัญหาการดูดซึม
    หรือพวก ketogenic diet ในคนไข้เด็กลมชัก
ข้อเสียของน้ำมันมะพร้าว
  • มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็น (essential fatty acid) ต่ำ
  • หากใช้ในปริมาณมาก อาจมีผลข้างเคียงทำให้ท้องเสียได้
ที่มา  :  อ.พญ.ณิชา  สมหล่อ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

เจ็บคอส่วนใหญ่หายได้เองอย่าใช้ยาอมผสมยาปฏิชีวนะ

อาการหวัด ไอ เจ็บคอ ส่วนใหญ่มากกว่า 8 ใน 10 ครั้ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ยาปฏิชีวนะที่ผสมอยู่ในยาอมเป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะต่อเชื้อแบคทีเรีย จึงไม่มีผลในการรักษาอาการเจ็บคอที่เกิดจากไวรัส

อาการหวัด ไอ เจ็บคอ หายได้เอง ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้
  • หากมีอาการระคายคอ ใช้เกลือผสมน้ำอุ่นกลั้วคอ
  • หากมีอาการไอ ใช้น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
    ผสมน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ชงกับน้ำอุ่นดื่มวันละ 2-3 ครั้ง
  • ไม่อยู่ในที่เย็นเกินไป ไม่ให้ลมแอร์เป่าที่หน้าตอนนอน
  • ไม่นอนดึกเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดการดื่มน้ำเย็น
  • ไม่ตากฝน หรือโดนละอองฝน
  • ไม่ตากแดดมากเกินไป
  • ไม่อาบน้ำเย็น
  • งดสูบบุหรี่
หากอาการไม่รุนแรง ควรดูแลตนเองโดยไม่ต้องใช้ยา ร่างกายจะฟื้นฟูได้เองด้วยภูมิต้านทานโรค

ที่มา  :  ผศ.นพ.พิสนธิ์  จงตระกูล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

คำถามยอดฮิตโรคงูสวัด

ถาม : งูสวัดพันรอบเอวแล้วตายจริงหรือ
ตอบ : ไม่จริง โรคงูสวัดผื่นมักจะเป็นเพียงซีกใด
ซีกหนึ่งของร่างกาย แต่ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
โรคอาจลุกลามมากกว่าปกติ และเสี่ยงต่อชีวิต
โดยเฉพาะมีการติดเชื้อซ้ำซ้อน

ถาม : เคยเป็นงูสวัดแล้ว จะไม่เป็นซ้ำอีก
ตอบ : ไม่จริง แม้ว่าโรคงูสวัดมักจะไม่เป็นซ้ำอีก
แต่หากร่างกายอ่อนแอ โดยเฉพาะในผู้ป่วย
ที่มีภูมิต้านทานต่ำก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้

ถาม : เคยฉีดวัคซีนอีสุกอีไสแล้ว จะฉีดวัคซินงูสวัดได้ไหม
ตอบ : ฉีดได้ แม้โรคงูสวัดและโรคอีสุกอีใสจะเกิด
จากเชื้อไว้รัสเดียวกัน แต่วัคซีนงูสวัดมีความเข้มขันกว่า
วัคซีนอีสุกอีไสถึง 14 เท่า ดังนั้นถึงแม้วัคซีนทั้งสองชนิด
จะป้องกันเชื้อไวรัสเดียวกันแต่ไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้

ที่มา  :  อ.พญ.สกุณี  กระกูลสุขสถิตย์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562

สมุนไพรอันตรายหากเอามาใช้โดยไม่รู้

สมุนไพรอาจก่อเกิดอาการข้างเคียง
และมีอันตรายในผู้ที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้
  • โรคไต
  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคมะเร็ง
  • โรคเกาต์
ทำให้ไตเสื่อม ไตวาย เกิดนิ่วที่ไน น้ำท่วมปอด
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้
ในประเทศไทยร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
มีสาเหตุจากการกินยาและสมุนไพรที่ไม่ถูกต้อง
ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
ก่อนกินยาสมุนไพรใดก็ตาม

ที่มา  :  ศ.นพ.สมชาย  เอี่ยมอ่อง

แหล่งที่มา : Line chulahospital

รู้หรือไม่? ทำไมลูกตัวเหลือง

อาการตัวเหลืองเกิดจากสารสีเหลืองในเลือดที่เรียกว่า
"บิลิรูบิน" มักสังเกตได้ที่ผิวหนังตั้งแต่อายุ 2-3 วันแรก

สาเหตุ
ภาวะตัวเหลืองธรรมชาติ
เด็กทารกมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมากและอายุสั้นฃกว่า
ผู้ใหญ่จึงแตกสลายเยอะกว่า และตับเด็กยังกำจัดสารบิลิรูบินได้ไม่ดี

ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่
เกิดได้ประมาณร้อยละ 10 ของเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่
เพียงอย่างเดียว หากตัวเหลืองมากอาจต้องงดนมแม่
ชั่วคราว 24-48 ชั่วโมงแล้วจึงกินต่อได้

ภาวะตัวเหลืองจากโรค หรือภาวะผิดปกติอื่นๆ เช่น
  • หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน
  • รูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติแต่กำเนิด
  • โรคพันธุกรรมชนิดเม็ดเลือดแดงพร่องเอนไซม์ จี 6 พีดี
  • มีการติดเชื้อ และ/หรือ ท่อน้ำดีอุดตัน
หากสงสัยว่าบุตรหลานมีภาวะตัวเหลืองในเด็ก
ควรพามาพบกุมารแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที

ที่มา  :  อ.พญ.อังควิภา  ทรัพย์รุ่งเรือง

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ไข้ปวดข้อยุงลาย

โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ที่มียุงลายสวน และยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เลือดออก

อาการ
มีไข้ ปวดข้อ มีผื่น อาจมีเยื่อตาแดง

การรักษา
โรคนี้ยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค และมักหายไปเอง การรักษาในปัจจุบัน จึงเป็นการรักษาตามอาการ

การป้องกัน
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์
ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยการแต่งกายให้มิดชิด เช่น ชาวสวนยางควรใส่เสื้อและกางเกงขายาว หรือใช้ยาทากันยุง

ที่มา  :  ศ.นพ.แยง  ภู่วรวรรณ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ดอกอัญชันทำให้คิ้วดกหนาได้จริงหรือ?

Q : ดอกอัญชันทำให้คิ้วดกหนา-ดกดำได้ จริงหรือ?
A : ไม่จริง เป็นเพียงความเชื่อของคนสมัยก่อน
ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยัน ปัจจัยที่มีผล
ต่อความเข้มของคิ้ว คือ กรรมพันธุ์และเชื้อชาติ
ซึ่งไม่มีฮอร์โมนเกี่ยวข้อง  ขนคิ้วจะขึ้นเต็มที่ภายใน 3-4 เดือน

Q : ดอกอัญชันมีสารแอนโทไชยานินช่วยเพิ่ม
การไหวเวียนของเลือดไปเลี้ยงรากคิ้ว ทำให้คิ้วดกดำ
A : ไม่จริง ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยัน

Q : ทำไมพ่อแม่คิ้วไม่หนา แต่ทำไมลูกคิ้วหนาได้
A : บรรพบุรุษอาจมีคิ้วหนา

การทาดอกอัญชันอาจมีอันตรายต่อผิวหนังเด็กได้
อาจเกิดการระคายเคือง หรือแพ้ เนื่องจากผิวเด็ก
มีความไวต่อการตอบสนองกับสิ่งที่สัมผัสผิว
หากมีการระคายเคือง เช่น ผื่นแดง หรืออักเสบ
ควรเช็ดออกทันที

ที่มา  :  รศ.นพ.นภดล  นพคุณ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส

ป้องกันตัวเองอย่างไรให้ห่างไกล
โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส
  1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด
    อย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำ
  2. ถ่ายอุจจาระลงส้วม รวมทั้งกำจัดอาเจียนของผู้ป่วย
    โดยเททิ้งในส้วมและใช้ยาฆ่าเชื้อ น้ำยาฟอกขาว
    น้ำผสมผงซักฟอกราดซ้ำ
  3. ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้
    เสื้อผ้าที่มีการปนเปื้อนด้วยผงซักฟอก
  4. เมื่อมีอาการป่วย ควรหยุดอยู่บ้าน
ที่มา  :  อ.พญ.วรรษมน  จันทรเบญจกุล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

หนานเฉาเหว่ย

รู้สรรพคุณห้ดีก่อนนำไปใช้
หนานเฉาเหว่ย หรือ ป่าช้าเหงา
เป็นพืชกลุ่มเดียวกับฟ้าทลายโจร พญายอ

สรรพคุณ
  • ลดการปวดและการอักเสบได้
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
การกินหนานเฉาเหว่ย
  • ใช้ใบสด ล้างสะอาด ควรเคี้ยวไม่เกินวันละ 3 ใบ
  • ไม่แนะนำให้กินทุกวัน
  • ผู้ป่วยเบาหวาน หากกินมากเกินไป
    อาจพบภาวะน้ำตาลตกได้
หากมีอาการเหล่านี้ ควรหยุดกินแล้วมาพบแพทย์ทันที
  • หน้ามืด เหนื่อยมากขึ้น เหงื่ออก ใจสั่น อ่อนแรง
  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตผิดปกติ
  • ผู้ทานต้องหมั่นสังเกตตัวเอง เพราะปัจจัยนแต่ละบุคคลแตกต่างกัน
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต 
ควรใช้ยาตามแพทย์สั่งเป็นหลัก ก่อนรับประทาน
สมุนไพรควรปรึกษาแพทย์เสมอ

ที่มา  :  ศ.นพ.สมชาย  เอี่ยมอ่อง

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...