วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

'โภชนาการ' หรือ Nutrition

'โภชนาการ' หรือ Nutrition 
หมายถึง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

ข้อมูลด้านโภชนาการจากหลายแหล่งอาจจะค้านกันอยู่บ้าง
แต่อย่างน้อยที่สุดมี 10 ข้อนี้ที่ทุกคนเห็นตรงกัน

1. การเติมน้ำตาลในอาหารถือเป็นหายนะ
2. กรดไขมันโอเมก้า-3 สำคัญมาก แต่คนส่วนใหญ่ยังได้รับไม่เพียงพอ
3. ความจริงแล้วไม่มีสูตรอาหารใดที่เหมาะสำหรับทุกคน
4. Trans-Fat หรือไขมันไม่อิ่มตัวแบบสังเคราะห์ ทำลายสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยง
5. การทานผักช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย
6. ร่างกายต้องได้รับวิตามิน D อย่างเพียงพอ
7. คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีไม่ดีต่อสุขภาพ
8. อาหารเสริม ไม่สามารถแทนที่อาหารหลักได้
9. การควบคุมอาหาร ช่วยอะไรไม่ได้…ต้องเปลี่ยนพฤติกรรม
10. อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป มีประโยชน์ที่สุด

แปล+เรียบเรียงจาก : https://www.healthline.com/nutrition/top-10-nutrition-facts#section2
แหล่งที่มา   :   Facebook Thai Union Spirit

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2562

การฟอกสีฟัน

In-office bleaching
การฟอกสีฟันโดยทันตแพทย์เป็นผู้ทำให้ในคลีนิก

Home-bleaching
ทันตแพทย์จ่ายน้ำยาให้คนไข้ไปทำเองที่บ้าน

Over the counter
คนไข้หาซื้อน้ำยาเองตามร้านขายยา

Other non-dental option
ผลิตภัณฑ์ที่ขายตามอินเตอร์เน็ต

ผลกระทบข้างเคียง
คือในคนไข้บางราย อาจมีอาการเสียวฟัน ขณะฟอกสีฟัน

การรักษาอาการเสียวฟันจากการฟอกสีฟัน
  • การใช้สารลดการเสียวฟันทาก่อนฟอกสีฟัน ได้แก่
    การใช้ potassium nitrate ทาก่อนฟอกสีฟันเป็นเวลา 10 นาที
  • การอุดปิดท่อเนื้อฟัน ด้วยสาร CPP-ACP ทาบนฟัน
    หลังฟอกสีฟัน 10 นาที หรือใช้สารจำพวก Fluoride หรือ
    Calcium phosphate compounds ทาบนฟัน 30 วินาทีหลังจากฟอกสีฟัน
หากคนไข้มีอาการเสียวฟันมาก่อน ควรหลีกเลี่ยงการฟอกสีฟันที่มีการใช้แสง หรือเลเซอร์ร่วมด้วยในการฟอกสีฟัน

ที่มา  :  ทพญ.ธนิตา  ณรงค์เดช

แหล่งที่มา : Line chulahospital

การคัดกรองมะเร็งของเพศชายในผู้มีประวัติ

มะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย ได้แก่
มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด

มะเร็งต่อมลูกหมาก
เพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในครอบครัว

มะเร็งตับ 
ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ C
ผู้ที่มีภาวะตับแข็ง

มะเร็งลำไส้ 
คนทั่วไปตรวจที่อายุ 50 ปี
ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีประวัติในครอบครัวเป็นเนื้องอก หรือมะเร็งลำไส้ ควรตรวจก่อนอายุ 50 ปี

มะเร็งปอด
มีประวัติสูบบุหรี่จัด ในที่นี้ คือ ค่า pack year โดยการนำจำนวน บุหรี่เป็นซองต่อวัน x จำนวนปี ค่าตั้งแต่ 30 ขึ้นไปถือว่าจัด เช่น สูบ 1 ซองเป็นเวลา 30 ปี (pack year =30) หรือ สูบ 2 ซองเป็นเวลา 15 ปี (pack year =30)
ยังคงสูบอยู่หรือถ้าเลิกแล้ว ยังคงอยู่ในช่วงไม่เกิน 15 ปีหลังเลิก
อายุช่วง 55 - 74 ปี

ที่มา  :  รศ.นพ.ชวลิต  เลิศบุษยานุกูล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

ดูแลอย่างถูกวิธี "เมื่อลูกชัก"

  • ผูัปกครองต้องตั้งสติไม่ตื่นตระหนก
  • ป้องกันการบาดเจ็บ หรือพลัดตกหกล้ม
    และระวังสิ่งของรอบตัวที่อาจเป็นอันตราย
  • คลายเสื้อผ้าที่รัดออกจากตัวเด็ก
    และจับนอนตะแคงให้ศีรษะต่ำเพื่อไม่ให้สำลัก
  • ไม่ใช่วัสดุใดๆ งัดปาก หรือให้ยากทางปาก
    ไม่กอดรัด หรือกดผู้ป่วยขณะชัก
  • หากมีไข้ ให้เช็ดตัว โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำ
    บิดหมาดๆ เช็ดถูตามตัว เพื่อให้เส้นเลือดใต้ผิวหนัง
    ขยายตัว เพื่อให้ไข้ลง ใช้เวลาอย่างน้อย 15-20 นาที
    จากนั้นเช็ดตัวให้แห้ง และใส่เสื้อผ้าปกติ
  • สังเกตระยะเวลาการชัก และให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
ที่มา  :  อ.พญ.สาธิดา  พูนมากสถิตย์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

WellStep : รองเท้าคู่ใจเพื่อผู้สูงวัย

WellStep 
happy feet healthy shoes

รองเท้าคู่ใจเพื่อผู้สูงวัย

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ควรใส่ใจเรื่องเท้า และรองเท้าเป็นพิเศษ
เพื่อลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับเท้าได้

ลักษณะเฉพาะของรองเท้าเพื่อสุขภาพ "WellStep"
  • โครงสร้างรองเท้าแข็งแรงได้สัดส่วน
    ตามสรีระของผู้สูงอายุชาวไทย
  • พื้นในรองเท้านุ่มสบาย สามารถถอดออกได้
    และมีส่วนเสริมบริเวณอุ้งเท้า
  • ส่วนบนของรองเท้าทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติ
    นุ่มสบาย กระชับ ไม่บีบรัด ไม่เสียดสี
  • ไม่มีตะเข็บด้านใน
  • ระบายอากาศได้ดี
  • พื้นรองเท้าเกาะพื้นได้ดี เพื่อป้องกันการลื่นล้ม
  • มีหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ
    เช่น รองเท้าใส่ในบ้าน รองเท้านอกบ้านแบบต่างๆ
    รองเท้าสำหรับผู้มีนิ้วหัวแม่เท้าเก เป็นต้น
ผู้สูงวัยสามารถเยี่ยมชมและซื้อได้ที่ชั้น 1 อาคาร ส.ธ.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ที่มา  :  ผศ.พญ.ศิริพร  จันทร์ฉาย

แหล่งที่มา : Line chulahospital

นอนกัดฟัน

นอนกัดฟัน
เรื่องเล็กที่ไม่ควรมองข้าม

การนอนกัดฟัน 
เป็นความเสี่ยงที่พบได้จากโรคผิดปกติจากการนอนหลับ
เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
แต่ในบางรายเกิดจากปัจจัยชั่วคราว เช่น
ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์

พบมาก
  • ในวัยเด็ก ร้อยละ 15-40
  • ในวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 8-10
อาการที่ควรไปพบแพทย์
  • ตื่นเช้ามาปวดขากรรไกร
  • นอนกัดฟันอย่างรุนแรงจนฟันสึกหรือฟันโยก
  • มีคนใกล้ตัวบอก
  • ปวดศีรษะ
  • มีแผลในปากหรือกระพุ้งแก้ม
  • เสียวฟัน
ผู้ที่มีอาการข้างต้น ควรมาพบแพทย์เฉพาะทาง
ด้านโรคความผิดปกติจากการหลับ
เพื่อวินิจฉัยตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

ที่มา  :  อ.พญ.บุษราคัม ชัยทัศนีย์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562

ดูแลอย่างไรหลังผ่าฝันคุด

  • หลังการผ่าตัด ให้กัดผ้าก๊อซนาน 1 ชั่วโมง
    ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย เพราะอาจทำ
    ให้แผลเปิดและเลือดไหลไม่หยุดได้
  • หลังคายผ้าก๊อซแล้ว หากยังมีเลือดออก
    ให้เปลี่ยนผ้าก๊อซผืนใหม่ วางที่เดิมและกัดไว้ประมาณ 15 นาที
  • หลีกเลี่ยงการแตะสัมผัสบริเวณแผลด้วยลิ้น นิ้ว หรืออื่นๆ
  • ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มใน 24-48 ชั่วโมง
    หลังการผ่าฟันคุดเพื่อบรรเทาอาการปวดบวม
  • หากมีอาการปวด ทานยาแก้ปวดได้
  • ทานอาหารอ่อนหรือเหลว และใช้ฟันอีกข้างหนึ่งแทน
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีขนาดเล็ก
    เพื่อป้องกันไปตกหล่นบริเวณแผล
  • แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติ
    แต่งดเว้นบริเวณแผล
  • งดการบ้วนน้ำแรง
  • ในคืนแรกควรนอนหมอนสูง หรือใช้หมอนสองใบ
    หนุนนอน เพื่อลดอาการบวม
หากมีอาการบวมมากผิดปกติเกิน 3-4 วัน
หรือมีหนองมีไข้เกิดขึ้น ควรไปพบทันตแพทย์ทันที


ที่มา  :  ทพญ.ธนิตา  ณรงค์เดช

แหล่งที่มา : Line chulahospital

check list วัคซีนของลูกก่อนไปเรียนต่อในต่างแดน

เด็กที่ไปเรียนภาคฤดูร้อนที่ต่างประเทศ
ควรตรวจสุขภาพและรับวัคซีนก่อนเดินทาง
เพื่อป้องกันการเกิดโรคในขณะที่ศึกษาต่อ ได้แก่
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น
  • วัคซีนโรคสุกใส ควรได้รับ 2 ครั้ง หรือ
    เคยเป็นสุกใสแล้ว ก็จะต้องบันทึกไว้ 
  • ตรวจสอบสมุดสุขภาพ ว่าได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
    ของประเทศไทยแล้วหรือยัง โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันหัด
    หัดเยอรมัน และคางทูม จะต้องได้รับ 2 ครั้ง
    ถึงจะมั่นใจในการป้องกันโรคต
เด็กมีโรคประจำตัว เช่น ลมชัก แพ้ยา หอบหืด แพ้อาหาร
ควรจะต้องมีการบันทึกให้ชัดเจนและให้เด็กส่งบันทึกให้กับโรงเรียนไว้

ควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน
เพื่อจะได้เตรียมการ รวมทั้งการให้วัคซีนป้องกันโรคให้ครบ

ที่มา  :  ศ.นพ.ยง  ภู่วรวรรณ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...