ถูกจัดเป็นหมวดหมู่ดาวที่กำหนดขึ้นใหม่
เป็นดาว “เคราะห์แคระ” (Dwarf Planet)
โดยการประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล
หรือไอเอยู (International Astronomical Union”s : IAU)
ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก มีนักดาราศาสตร์จาก 75 ประเทศ
จำนวน 2,500 คนเข้าร่วมประชุมใช้เวลาถึง 1 สัปดาห์
โดยประกาศให้ “ดาวพลูโต”
ดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดในระบบสุริยะจักรวาล
หนึ่งในสมาชิกของดาวนพเคราะห์
หลุดพ้นจากความเป็น “ดาวเคราะห์” ไป
ดาวเคราะห์ มีองค์ประกอบ 3 ข้อหลักๆ คือ
- เป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (โคจรรอบดวงอาทิตย์) แต่ตัวเองต้องไม่ใช่ดาวฤกษ์
- มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ทำให้ตัวเองกลมหรือเกือบจะกลม
- มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวข้างเคียง
- โคจรรอบดวงอาทิตย์
- มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะเป็นวงกลม
- วงโคจรไม่ชัดเจน ซึ่งต่างจากดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรที่ชัดเจน
จะเรียกเป็น “ดาวเคราะห์น้อย” “ดาวหาง”
มีรูปร่างจะไม่เป็นทรงกลม หรือที่เรียกว่า
สมาชิกวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar System Bodies)
ระบบสุริยะ จึงแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- กลุ่ม ดาวเคราะห์ปกติ (Classical Planet) มี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลกและดวงจันทร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน
- กลุ่มดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets) มี ดาวพลูโต และดาวที่อยู่ระหว่างการศึกษาอีกหลายดวง
- กลุ่มวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar System Bodies) มีดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น