วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ความสุขเริ่มที่ใจ

หลายคนทำอะไรต่ออะไรมากมายเพราะอยากได้ความสุข
แต่ก็ไม่พบความสุขเสียที ทั้งนี้ก็เพราะมีสิ่งหนึ่งที่เขามองข้ามไป
นั่นคือ การดูแลรักษาใจของตน ซึ่งต้องอาศัยการหมั่นมอง
หมั่นสังเกตจิตใจของตนอยู่เสมอ

เป็นเพราะละเลยจิตใจของตน ผู้คนจึงนอกจากหาความสุข
ไม่พบแล้ว ยังรู้สึกเหินห่างหมางเมินกับใจตน การอยู่คนเดียว
จึงเป็นความทุกข์ทรมาน เกิดความรู้สึกเหงาเปล่าเปลี่ยว
ทั้ง ๆ ที่มิตรที่ดีที่สุดนั้นพบได้ที่ใจตนเช่นกัน

เมื่อใดก็ตามที่พบว่าความสุขหาได้ที่ใจ และมิตรที่ประเสริฐที่สุด
ก็คือใจของตน เมื่อนั้นเราก็มีความสุขได้ในทุกหนแห่ง เจออะไร
ก็ไม่ทุกข์ มีเท่าไรก็ไม่รู้สึกยากไร้ อยู่คนเดียวก็ไม่รู้สึกอ้างว้าง
ใครจะมองเราอย่างไรใจก็ไม่หวั่นไหว สูญเสียเท่าใดใจก็ไม่เสียศูนย์

ภาวะเช่นนี้ย่อมประเสริฐกว่าชีวิตที่ร่ำรวยมั่งคั่ง มียศศักดิ์อัครฐาน
ชื่อเสียงขจรไกล แต่ข้างในกลับไร้สุข ไม่รู้สึกพอในสิ่งที่ได้มา
หวั่นไหวเพราะกลัวสูญเสีย และหงอยเหงาอ้างว้างเพราะไร้เพื่อนแท้

น้อยคนตระหนักว่า มีความสุขอีกชนิดหนึ่งที่ประเสริฐกว่า
ขณะที่ความสุขประเภทแรกต้องอาศัยการเสพ
ความสุขประเภทหลังเกิดจากการกระทำ เช่น
การทำความดี เอื้อเฟื้อผู้อื่น หรือเกื้อกูลส่วนรวม
รวมทั้งการทำสิ่งยากให้สำเร็จด้วยความเพียรของตน
ความสุขประเภทนี้เป็นความสุขทางใจ ทำให้จิตใจเกิดปีติ
แช่มชื่นเบิกบานหรือเกิดความภาคภูมิใจ ระลึกนึกถึงเมื่อใด
ก็มีความสุขเมื่อนั้น แม้กาลเวลาจะผ่านไปหลายปีก็ตาม

ความปีติ แช่มชื่นเบิกบาน หรือความภาคภูมิใจ
แม้ไม่หวือหวาเท่ากับความสนุกตื่นเต้นจากการเสพ
แต่ประณีต ลุ่มลึกและช่วยเติมเต็มจิตใจ ทำให้สัมผัสได้
ถึงคุณค่าและความหมายของชีวิต อีกทั้งยังเป็นสะพาน
ไปสู่ความสงบเย็นในจิตใจ อันเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
ที่ผู้คนโหยหาในส่วนลึกของจิตใจ

การได้ครอบครองโภคทรัพย์แม้ให้ความสุขใจแก่เราอย่างรวดเร็ว
แต่ก็จางหายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน อีกทั้งยังตามมาด้วยความทุกข์
เพราะมันกลายเป็นภาระที่ต้องแบก สิ่งที่ยั่งยืนคงทนกว่าคือ
ความสุขจากการทำความดี รวมทั้งความสงบที่เกิดจากการฝึกจิต
ความสุขดังกล่าวไม่เพียงหล่อเลี้ยงใจให้เบิกบาน
มีพลังในการทำงาน ยังช่วยให้เราเผชิญกับ
ความผันผวนปรวนแปรในชีวิตโดยไม่จมดิ่งในทุกข์

นอกจากเติมอาหารให้กาย หาทรัพย์มาใส่บ้านแล้ว
การเติมสุขให้ใจด้วยการทำความดี ช่วยให้ผู้อื่น
มีความสุขและฝึกจิตอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่มิอาจละเลยได้

หากหวังความสุขจากทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ
ความสำเร็จ ก็ไม่มีวันพบสุขอย่างแท้จริง แม้แวดล้อม
ด้วยบริษัทบริวารที่สนองและปรนเปรอทุกสิ่งสรรพ
อยู่ในคฤหาสน์อันโอฬาร หรือสถานที่อันงามวิจิตร
ก็ยากที่จะพึงพอใจในชีวิตได้ เพราะสุขที่แท้จริงนั้น
ไม่ได้อยู่ข้างนอก แต่อยู่ในใจเราต่างหาก

ใจที่มองเป็น เห็นถูก มีเมตตา เข้าใจความจริงของชีวิต
และรู้จักปล่อยวาง คือใจที่เปี่ยมสุข สุขจึงมิใช่สิ่งที่ต้อง
ดิ้นรนแสวงหาจากที่ใด หากวางใจให้เป็น ก็พบสุขได้ทันที
ดังนั้นแทนที่จะมองออกไปนอกตัว ควรหันกลับมาที่ใจของตน
ปรับจิตรักษาใจให้ดี ก็จะพบความสุข ดังพระพุทธองค์
ได้ตรัสว่า “จิตที่ฝึกไว้ดีแล้วนำสุขมาให้”

พระไพศาล วิสาโล

ขอเชิญแวะชม website ความสุขประเทศไทย
www.happinessisthailand.com
แพลทฟอร์มความสุขของทุกคน ความสุขเริ่มได้ที่ตัวเอง

แหล่งที่มา  ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล 27 ธันวาคม เวลา 21:44 น. ·

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

MRI ตรวจอะไรได้บ้าง

ศีรษะ
หาความผิดปกติของสมองและเส้นประสาทในสมอง

หน้าอก
หาความผิดปกติบริเวณเต้านมและหัวใจ

หน้าท้องและกระดูกเชิงกราน
หาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง
มดลูกและรังไข้ในเพศหญิง ต่อมลูกหมากในเพศชาย

กระดูกและข้อต่อ
หาความผิดปกติของกระดูก และข้อต่อต่างๆ
เช่น ข้ออักเสบ เส้นเอ็นฉีดขาด เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

ไขสันหลัง
เช็คหมอนรองกระดูก เส้นปราะสาทไขสันหลัง และกระดูกสันหลัง

เส้นเลือด 
ตรวจดูเส้นเลือด และการไหวเวียนของเลือด

ที่มา  :  รศ.นพ.ชวลิต  เลิศบุษยานุกูล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก (antihistamine)

ยาแก้แพ้ หรือยาลดน้ำมูก 
ถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท 
ตามลักษณะการพัฒนาของยา

ยาแก้แพ้รุ่นที่หนึ่ง
ใช้ลดน้ำมูกได้ดี แต่มีอาการข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น
  • เกิดอาการง่วงซึม
  • คอแห้ง
  • เสมหะเหนียวข้น
  • ปากแห้ง
  • ไอเอาเสมหะออกได้ยาก
  • ท้องผูก
  • ปัสสาวะไม่ออก (ถ้าใช้ยาขนาสูงในเด็กเล็ก)
ควรพิจารณาใช้ด้วยความระมัดระวัง
เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
จากการง่วงนอนขณะขับรถ
หรือผลัดตก หกล้มได้

ยาแก้แพ้รุ่นที่สอง
มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ จึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการอักเสบ
จากภูมิแพ้จมูก ภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา และลมพิษ เป็นต้น
มีอาการข้างเคียงน้อยกว่ายาแก้แพ้รุ่นที่หนึ่ง
เช่น มีอาการง่วงน้อยกว่า

ที่มา  :  ผศ.นพ.เทอดพงศ์  เต็มภาคย์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ทำอย่างไรเมื่อลูกชัก

  • เมื่อเด็กเกิดอาการชัก ผู้ช่วยเหลือต้องรวบรวมสติ
    อย่าให้ตกใจจนเกินไป เรียกขอความช่วยเหลือ
    เพิ่มเติมจากคนอื่นและเริ่มปฐมพยาบาล
  • ระวังเด็กกัดลิ้นตนเอง ควรใช้ผ้าหนาๆ
    (เช่น ผ้าขนหนู) ใส่เข้าไปในช่องปากของเด็ก
    เพื่อป้องกันการกัดลิ้น ไม่ควรใช้วัตถุแข็ง
    หรือนิ้วมือของผู้ช่วยเหลือใส่เข้าไป
  • ระวังเด็กตกจากที่สูง (เช่น เตียง)
    ให้นำเด็กนอนราบลงกับพื้น
    เพื่อเริ่มให้ความช่วยเหลือ
  • เด็กมักหยุดชักได้เองภายในไม่เกิน 2-3 นาที
    ส่วนใหญ่จะสามารถหายใจได้ และหัวใจเต้นเป็นปกติ
  • เมื่อเด็กหยุดชัก และรู้สึกตัวดี อาจให้ยาลดไข้ได้
  • ทำให้ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยการเช็ดตัว
  • ส่วนใหญ่เด็กจะหยุดชักได้เอง
หากไม่หยุดชักหลังการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ต้องรีบไปโรงพยาบาล

ที่มา  :  รศ.นพ.ชิษณุ  พันธุ์เจริญ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยเบาหวาน

  • สัปปะรด
  • องุ่น
  • แตงโม
  • ทุเรียน
  • กล้วย
  • ลำไย
  • มะม่วง 
  • ขนุน
  • ส้ม
  • ละมุด 
  • น้อยหน่า
  • ลิ้นจี่
  • รวมถึงผลไม้รสหวานอื่นๆ
ที่มา  :  อ.นพ.วิทวัส  แนววงศ์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ปัจจัยเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • น้ำหนักตัวมาก อ้วนลงพุง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
  • ใช้งานผิดท่า เช่น ก้มยกของโดยไม่ระวัง
  • ยกของหนัก
  • สูบบุหรี่จัด
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • เสื่อมตามวัยหรือพันธุกรรม
หากมีอาการปวดหลังรุนแรง และปวดขาร่วมด้วย
อาจเป็นอาการทับเส้นประสาท ควรพบแพทย์
เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกวิธี

ที่มา  :  อ.นพ.วีรศักดิ์  สิงหถนัดกิจ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

นั่งเล่นมือถือระหว่างขับถ่ายเสี่ยงโรค

ท้องผูก
ทำให้เสียสมาธิในการขับถ่าย
เป็นเหตุให้ต้องใช้เวลาในการขับถ่าย
นานกว่าปกติ หรือหายปวดถ่ายไปเลย

ริดสีดวงทวาร
การนั่งนาน และการเบ่งถ่ายทำให้เลือด
คั่งบริเวณรูทวารหนัก เป็นต้นเหตุ
ก่อโรคริดสีดวงทวารได้

ท้องร่วง
มือถือที่นำเข้าไปเป็นพาหะนำเชื้อโรคสู่ร่างกาย

หน้ามือ เหน็บชา
โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

การนั่งในห้องน้ำไม่ควรนั่งเกิน 10-15 นาที
และควรตั้งใจขับถ่ายให้เสร็จเพียงอย่างเดียว

ที่มา  :  อ.นพ.ปิยะพันธ์  พฤกษพานิช

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ใช้ไม้แคะหูทำให้ขี้หูอุดตันมากขึ้นจริงหรือ?

ขี้หู มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ มีสารต่อต้านเชื้อโรค
และไม่ละลายน้ำ ช่วยปกป้องผิวหนังของรูหู และ
ป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในรูหู โดยปกติ
ขี้หูจะมีการเคลื่อนที่จากเยื่อแก้วหูออกไปภายนอกได้เอง
โดยไม่จำเป็นต้องแคะออก การใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดรูหู 
จึงเป็นสาเหตุของขี้หูอุดตันที่พบได้บ่อย
  • ขี้หูถูกดันเข้าไปด้านนลึกขึ้น
  • หากปั่นหูแรงอาจทำให้หูชั้นนอกถลอก
    อักเสบ และติดเชื้อได้
  • ทำให้เยื่อแก้วหูบาดเจ็บ หรือทะลุได้
หากสงสัยว่ามีขี้หูอุดตัน ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
โดยแพทย์จะใช้เครื่องส่องหูตรวจหูชั้นนอกตรวจเช็ค


ที่มา  :  อ.พญ.ภาณินี  จารุศรีพันธุ์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งปอดรู้ไว้รักษาได้

สูบบุหรี่
คนสูบบุหรี่ เสี่ยงกว่าคนไม่สูบ 10-30 เท่า

อายุ
อายุมากขึ้นความเสี่ยงสูงขึ้น

พันธุกรรม
หากคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด
จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น แม้ไม่ได้สูบบุหรี

สารพิษในสิ่งแวดล้อม
ควันบุหรี่ กัมมันตภาพรังสี ฝุ่น ไอระเหย
และโลหะสารปนเปื้อนจากการกิน หรือ
ไอระเหยจากโลหะต่างๆ

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
  • การตรวจคัดกรองที่ใช้อยู่คือ การตรวจเอกซเรย์
    คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ
    (low-dose helical computerized tomography)
    สามารถลดอัตราเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดได้
  • ผู้ที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอด คือ
    ผู้ทีมีอายุ 55-74 ปีที่มีประวัติสูบบุหรี่
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอดทุกปี 
เพื่อลดอัตราการเสียชีวิ

ที่มา  :  พญ.ปิยะดา  สิทธิเดชไพบูลย์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

นั่งท่าไหนห่างไกลโรคกระดูก

  • นั่งพิงพนัก โดยเฉพาะเก้าอี้
    ที่มีรูปทรงตามกระดูกสันหลัง
  • นิ่งให้ชิด หลังสัมผัสพนัก
  • คอตั้งตรง ทิ้งไหล่ให้สบาย
  • งอศอกประมาณ 75-90 องศา
    ไม่เหยียดตรงเกินไป
  • เข่างอ 90-110 องศา
  • เท้าสัมผัสพื้นทั้งฝ่าเท้า
    ถ้าเท้าลอยควรหาที่รองเท้าขณะนั่งให้พกอดี
  • ควรลุกขึ้นยืดหรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กระดูก
    และร่างหาย ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง หรืออย่างน้อย ทุก 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการนั่งไม่เต็มเก้าอี้ และการนั่งไขว่ห้าง
    เพราะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกระดูก
การนั่งให้ถูกท่าช่วยลดการปวดคอและหลัง
และส่งผลให้ร่างกายหายใจได้ดี รวมถึง
ลดความเสี่ยงจากโรคข้ออักเสบต่างๆ

ที่มา  :  รศ.นพ.วรวรรธน์  ลิ้มทองกุล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

โรคมะเร็งในเด็ก

ปัจจัยเสี่ยงเหตุให้เกิด 
"โรคมะเร็งในเด็ก" 
ที่แม่ตั้งครรภ์พึงระวัง

ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น
  1. เด็กดาวน์ซินโดรม มีโอกาสเกิดเป็น
    โรคมะเร็งเลือดขาวสูงกว่าเด็กปกติ 10-20 เท่า
  2. การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น
    เชื้อ Epstein-Barr Virus (EBV) และ
    การติดเชื้อ Human Immunodeficiency Virus (HIV)
    ก่อให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสูงขึ้น
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น
  1. แม่ที่ได้รับรังสีเอกซเรย์ หรือสัมผัสยาฆ่าแมลง
    ระหว่างตั้งครรภ์ ลูกมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น
  2. แม่ที่ได้รับสารไนไตรท์จากเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น
    ไส้กรอก แหนม ระหว่างตั้งครรภ์ ลูกมีโอกาสเกิด
    โรคมะเร็งสมองสูงกว่าปกติ
หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งของลูกน้อย

ที่มา  :  รศ.พญ.ดารินทร์  ซอโสตถิกุล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ป้องกัน "ภาวะซีด" ได้อย่างไรบ้าง

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่
    ข้าว เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผัก และผลไม้
    เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
  2. หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า
    เพื่อป้องกันการติดเชื้อพญาธิปากขอ
  3. เด็กผู้หญิงที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ
    ควรรับประทานธาตุเหล็กเสริม
  4. หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเลือด
    ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง
ที่มา  :  รศ.พญ.ดารินทร์  ซอโสตถิกุล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เลือกกินเนื้อสัตว์อย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง

ไข่
บริโภคได้ทั้งไข่ขาวและไข่แดง วันละ 1-2 ฟอง

เนิ้อขาว
เช่น ปลา กุ้ง ปลาหมึก เนื้อไก่ บริโภคได้ปลอดภัย

เนื้อแดง
เช่น เนื้อวัว หมู แพะ แกะ แนะนำให้กินไม่เกิน 500 กรัมต่อสัปดาห์ หรือวันละ 5-6 ช้อนโต๊ะ

เนื้อสัตว์
ไม่แนะนำให้กินแบบปิ้ง ย่าง

เนื้อแปรรูป
เช่น ไส้กรอก กุนเชียง ลูกชิ้น เบคอน แฮม ควรบริโภคน้อยๆ

ที่มา  :  รศ.นพ.ชวลิต  เลิศบุษยานุกูล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

เรื่องขนๆ ที่หลายคนอาจยังเข้าใจผิด

Q : ยิ่งโกนขนยิ่งเยอะ
A : ไม่จริง เพราะจำนวนต่อมขนของคนมีจำนวนเท่าเดิม
การโกนไม่สามารถเพิ่มจำนวนต่อมขนได้

Q : ยิ่งโกนขนยิ่งหนา
A : ไม่จริง แต่รู้สึกว่าหนาขึ้น เพราะขนสั้น
หากขนยาวขึ้นก็จะรู้สึกนิ่มขึ้น

Q : โกนขนย้อนทิศทางทำให้ขนคุด
A : ไม่จริง สาเหตุที่ทำให้ขนคุด เพราะการใช้
ใบมีโกนที่มี 2-3 ใบขึ้นไป และโกนขนสั้นเกินไป

การโกนขนไม่ได้มีผลดีที่ชัดเจน การโกนขนหน้าแข้งบ่อยๆ 
อาจจะเป็นเหตุให้ต่อมขนอักเสบ เป็นตุ่มเล็ก
คล้ายหัวสิว ผิวไม่เรียบเนียนได้

ที่มา  :  รศ.นพ.นภดล  นพคุณ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ลูกนอนกรนอันตราย

ลูกนอนกรนอันตราย
สังเกตได้อย่างไร
  • มีการหยุดหายใจขณะหลับในระยะสั้นๆ ตามด้วยเสียงกรนหายใจหอบ หรือตื่นระหว่างกลางคืน
  • นอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ
  • กรนเสียงดัง และกรนเป็นประจำ
  • เหงื่อออกมากขณะหลับ
  • มีปัญหาในการเรียนและพฤติกรรม
  • นอนกระสับกระส่าย
  • ปลุกตื่นยาก หลังตื่นนอนอยากนอนหลับต่อ
  • ปวดศีรษะในระหว่างวัน หรือปวดศีรษะหลังตื่นนอน
  • หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย
  • หลับขณะเรียนหนังสือ
  • สมาธิสั้น และซนกว่าปกติ
  • ปัสสาวะรดที่นอน
ที่มา  :  ผศ.พญ.นฤชา  จิรกาลวสาน

แหล่งที่มา : Line chulahospital

โรคมะเร็งผิวหนังเบซัลเซลล์

อาการต้องสงสัยอาจเป็น
โรคมะเร็งผิวหนังเบซัลเซลล์

  • แผลเรื้อรังไม่หาย มีเลือดออกหรือ
    อาจมีสะเก็ดแผลตรงกลางคล้ายหนูแทะ
  • ผื่นแดง อักเสบเรื้อรังหรือมีอาการคัน และเจ็บได้
  • ตุ่มมันวาว นูน ขอบยกม้วน อาจมีสีดำหรือน้ำตาล
    หรือเป็นสีผิวปกติก็ได้
  • ผื่นเหมือนแผลเป็นสีขาว เหลืองมันเงา
    ขอบเขตไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นบริเวณ
    ที่ไม่เคยบาดเจ็บหรือมีแผลมาก่อน

  • มักพบบริเวณศีรษะ ใบหน้าและลำคอ พบบ่อยที่จมูก
  • หากมีแผลเรื้อรัง แผลที่ไม่หายใน 2 สัปดาห์
    หรือพบผื่น หรือตุ่มโรคที่โตเร็วผิดปกติ
    มีเลือดออกง่าย ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
    ควรหมั่นตรวจผิวหนังตนเอง หากมีตุ่มที่สงสัยว่า
    เป็นเนื้องอกผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์
ที่มา  :  ศ.ดร.นพ.ประวิตร  อัศวานนท์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

โรคหลังห่อคอตกรักษาได้อย่างไรบ้าง

โรคหลังห่อคอตก (Text Neck) 
คือ การก้มทำกิจกรรมใดๆ นานจนเกิดการปวดเมื่อย
ตามร่างกายโดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลังช่วงต้นคอ
ไล่ลงไปช่วงบ่า หัวไหล่ จนถึงกลางหลัง

ทนยาตามคำสั่งแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

ปรับปรุงพฤติกรรมการใช้งาน โดยมองแนวตรงระดับสายตา
ใบหูจะต้องตรงกับหัวไหล่

การออกกำลังกาย นั่งตัวตรง แอ่นไหล่ไปด้านหลังแล้ว
ดันคางไปด้าหลัง โดยที่ตายังมองไปด้านหน้า และ
ศีรษะไม่ก้มหรือเงย ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 รอบ

ผ่าตัดและทำกายภาพบำบัด ในคนที่มีอาการหนัก

ที่มา  :  รศ.นพ.วรวรรธณ์  ลิ้มทองกุล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ไขความเข้าใจผิดของ "เอชไอวี" กับ "เอดส์"

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus)
คือไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว
ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome - AIDS)
คือ กลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลาย
จนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้
  • การติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นต้องมีอาการเอดส์
    หากรู้เร็วด้วยการตรวจเลือด และรักษาเร็วด้วยยาต้านไวรัส
  • เอชไอวี รักษาแล้ว ตรวจไม่เจอ = ไม่แพร่ หรือ
    Undetectable = Untransmittable (U = U)
  • ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี มีอายุขัยยืนยาว
    เทียบเท่าผู้ไม่มีเชื้อ หากรับการรักษาอย่างถูกต้อง
เพื่อสุขภาพที่ดี ชีวิตที่ปลอดภัย ตรวจเอชไอวีเป็นประจำ
"เอชไอวี รู้เร็ว รักษาได้"

ที่มา  :  ดร.พญ.นิตยา  ภาคนุภาค พึ่งพาพงศ์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

PrEP กับ PEP คืออะไร

PrEP กับ PEP คืออะไร
ทำความเข้าใจก่อนใช้

เพร็พ (PrEP-Pre-Exposure Prophylaxis)
คือยาต้านไว้รัสที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ที่มีผลเลือดลบ เริ่มใช้เตรียมไว้ก่อนจะมีโอกาสสัมผัสเชื้อ และใช้ต่อเนื่องไปจนหมดโอกาสนั้น
  • กินยา PrEP นี้เป็นประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
  • ตรวจเลือดเพื่อติดตามประสิทธิภาพของยาทุกๆ 3 เดือน
  • ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ เช่น หนองใน หนองในเทียม หรือซิฟิลิส 
  • PrEP อาจจะเหมาะกับคุณ หากคุณไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง หรือเคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือใช้ยาเมื่อมีเพศสัมพันธ์
เพ็พ (PEP-Post-Exposure Prophylaxis)
คือยาต้านไว้รัสฉุกเฉินสำหรับผู้ที่มีผลเลือดลบที่เพิ่งสัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  • ต้องได้รับทันที ห้ามเกิน 72 ชั่วโมง
  • รับยาติดต่อกัน 28 วัน
สงสัยว่าสัมผัสเชื้อ ไม่แน่ใจในความเสี่ยง รีบรับคำปรึกษาและตรวจเลือดได้ทันที

ที่มา  :  ดร.พญ.นิตยา  ภาคนุภาค พึ่งพาพงศ์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ปฏิบัติตัวอย่างไรให้ป้องกัน "โรคหูดับ"

  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูดิบ หรือปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ
    หรือหมูที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปรุงหมูให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • เลือกซื้อเนื้อหมูจากสถานประกอบการที่สะอาด และเชื่อถือได้
  • ผู้เลี้ยง และผู้ชำแหละหมู หากมีบาดแผลควร
    ปิดแผลและสวมถุงมือขณะสัมผัส
ที่มา  :  ศ.นพ.ยง  ภู่วรวรรณ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ผลไม้ดึต่อใจของผู้ป่วยเบาหวาน

  • ฝรั่ง
  • ชมพู่
  • มันแกว
  • แอปเปิล
  • แก้วมังกร
ที่มา  :  อ.นพ.วิทวัส  แนววงศ์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

อาการอุจจาระร่วงที่ต้องรีบพบแพทย์

  • ซึม ไม่มีแรง มือเท้าเย็น
  • อาเจียนมาก หรือถ่ายมากผิดปกติ
  • ปัสสาวะสีเข็ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง
  • ในเด็ก ปากแห้ง ตาโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา
ที่มา  :  อ.พญ.วรรษมน  จันทรเบญจกุล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ข้อควรระวังของการใช้ยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก (antihistamine)

  • ควรเลือกประเภทของชนิดยาให้เหมาะสม
    กับอาการแสดงของความผิดปกติ รวมทั้ง
    คำนวณขนาดของยาให้เหมาะสมกับอายุและน้ำหนักตัว
  • ในกรณีที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต
    โรคหัวใจ หรือมียาที่รับประทานเป็นประจำ
    ยาแก้แพ้อาจส่งผลต่อระดับยาในเลือด
    แล้วก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้
  • ควรระมัดระวังการใช้ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
    ในเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ เนื่องจากพบอาการข้างเคียงมากขึ้น
  • น้ำผลไม้ อาจส่งผลต่อการดูดซึมยาแก้แพ้รุ่นที่สองบางประเภทได้
  • แอลกอฮอล์ จะส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้น
ที่มา  :  ผเศ.นพ.เทอดพงศ์  เต็มภาคย์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กินลาบ "หมูดิบ" มีสิทธิ์ "หูดับ"

"หูดับ" คือ การสูญเสียการได้ยินอย่างทันที 
ทำให้ไม่ได้ยินอะไรเลย ซึ่งเกิดขึ้นทันที
โดยจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้

สาเหตุ
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การขาดเลือดไปเลี้ยงจากปฏิกิริยา
    ทางภูมิต้านทานจากพิษของยา
  • เนื้องอกกดทับเส้นประสาท
การติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย คือ
สเตรปโตคอคคัส ซูอิส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในหมู

การติดต่อสู่คน
  • การสัมผัสกับหมูที่ป่วยหรือมีเชื้อดังกล่าว
    โดยที่มืออาจมีรอยบาดแผล่ขีดข่วน
  • การรับประทานเนื้อหมู เช่น ลาบหมูที่ไม่สุก
เชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดการติดเชื้อจนมีผลทำให้หูดับ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อทางสมองร้ายแรง
ถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดได้ จึงควรรับประทาน
หมูที่ปรุงสึกเท่านั้น


ที่มา  :  ศ.นพ.ยง  ภู่วรวรรณ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ยาเลิกเหล้าใช้ผิดๆ ถึงตายได้

ยาเลิกเหล้า คือ ยา "ไดซัลฟิแรม" เป็นยาที่แพทย์ใช้รักษาโรคติดสุราเรื้อรัง หากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปแม้เพียงปริมาณเล็กน้อยจะทำให้เกิดอาการไม่สบายได้อย่างมาก จึงห้ามใช้ยานี้ขณะเกิดพิษจากแอลกอฮอล์และผู้ใช้ยาต้องรู้ว่ากำลังใช้ยานี้อยู่ แพทย์มีหน้าที่แจ้งให้ญาติรับรู้เรื่องนี้ด้วยเพื่อไม่ให้มีการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด
  • เหงื่อออกเต็มใบหน้า
  • อาเจียนอย่างรุนแรง
  • เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว
  • อ่อนเพลีย ตามัว หายใจลำบาก
บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ยา "ไดซัลฟิแรม" ไม่ได้ช่วยให้เลิกเหล้าได้ด้วยการซื้อยามาใช้เอง ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

ที่มา  :  ผศ.นพ.พิสนธิ์  จงตระกูล

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ประโยชน์ดีๆ มีได้ด้วยการออกกำลังกาย

  1. ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
  2. ทำให้สนุก มีสังคม
  3. ช่วยให้การนอนดีขึ้น
  4. ช่วยต่อต้านโรค และภาวะสุขภาพต่างๆ
  5. ช่วยให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
  6. ช่วยส่งเสริมให้กำลังวังชาดีขึ้น
    ทั้งในด้านความแข็งแรงและความทนทาน
  7. ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น เพราะเป็นการกระตุ้น
    การหลั่งสารเคมีในสมองที่ส่งผลให้
    รู้สึกผ่อนคลาย มีความสุข
ที่มา  :  อ.พญ.สกุณี  กระกูลสุขสถิตย์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

สระผมบ่อยๆ ทำให้ผมร่วงมากจริงหรือ?

โดยปกติผมร่วงทุกวัน วันละ 30-70 เส้น
หากเกิน 70 เส้นถือว่าผิดปกติ

แต่ในคนที่ไม่ได้สระผมเป็นเวลานาน
เมื่อมาสระผมผมอาจจะร่วงเยอะ
ถึง 200 เส้น ก็ถือว่าปกติ

ดังนั้น การสระผมบ่อยๆ ไม่ใช่สาเหตุของผมร่วง

คำแนะนำ
  • ควรสระผมวันเว้นวัน ไม่ควรสระทุกวัน
  • ในผู้ที่หนังศีรษะมัน สามารถสระได้ทุกวันแต่ไม่บ่อยเกินกว่าทุกวัน
  • ไม่สระผมด้วยน้ำร้อน เพราะทำให้เส้นผมเปราะ แห้ง
หากมีภาวะผมร่วงผิดปกติเป็นเวลานาน 
ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา

ที่มา  :  รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร  ปัญจประทีป

แหล่งที่มา : Line chulahospital

มีโรคทางหูอะไรบ้างที่ทำให้บ้านหมุน

เวียนศีรษะ บ้านหมุน
รู้ไหม
มีโรคทางหูอะไรบ้างที่ทำให้บ้านหมุน

1. โรคหินปูน หรือหินในหูชั้นในเคลื่อน
BPPV (Bening Paroxysmal Positional Vertigo)
  • เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเวียนศีรษะที่พบบ่อยที่สุด
  • พบบ่อยในวัยกลายคนถึงวัยสูงอายุ อายุตั้งแต่ 30-70 ปี
  • สาเหตุไม่ชัดเจน มักเกิดจากความเสื่อมอวัยวะของหูชั้นในในบางรายอาจมีประวัติอุบัติเหตุมาก่อน
2. โรคเมเนียร์ (Maniere's Diseas)
หรือโรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน
  • พบบ่อยในผู้ป่วย อายุ 20-50 ปี
  • สาเหตุไม่แน่ชัด แต่เกิดจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ภายในหูส่วนใน
ที่มา  :  ศ.พญ.เสาวรส  ภทรภักดิ์

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ดูแลตัวเองได้อย่างไรในภาวะกรดไหลย้อน

  • หลีกเลี่ยงช็อกโกแลต อาหารมัน กาแฟ ชา
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำส้มสายชู น้ำส้ม
    น้ำมะนาว น้ำมะเขือเทศ พริกไทย
  • เลิกสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดน้ำหนัก ระวังไม่ให้น้ำหนักเกิน
  • ใส่เสื้อผ้าไม่คับ หรือรัดแน่น
  • พยายามนั่งตัวตรง
  • ไม่เอนตัวนอนภายใน 3 ชั่วโมงหลังทานอาหารอิ่ม
  • นอนหัวข้อสูง 6-8 นิ้ว โดยเอียงขึ้นตั้งแต่ระดับเอว
    ไปจนถึงศีรษะ ไม่ใช่แค่การหนุนคอ
  • หากมีอาการสามารถบรรเทาด้วยยาสามัญ
    เช่น ยาต้านกรดน้ำสีขาว
  • หากมีอาการไม่ดีขึ้น หรือเป็นรุนแรงควรรีบพบแพทย์
ที่มา  :  อ.นพ.ปิยะพันธ์  พฤกษพานิช

แหล่งที่มา : Line chulahospital

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...