วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปรับระบบ ‘การแพทย์ฉุกเฉิน’ ทุกสิทธิเข้ารักษาใน รพ.ทั่วปท.ฟรีใน 72 ชม.แค่กด 1669

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบัน
การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
กล่าวถึงการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
ตามนโยบายรักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ (EMCO) ว่า

ขณะนี้ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้พัฒนาและ
ออกแบบให้ประชาชนคนไทยที่มีสิทธิการรักษาพยาบาล
ใน 3 กองทุน คือ
  1. กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) 
  2. กองทุนประกันสังคม และ
  3. กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 
ที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการบริการ
ทางการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้
ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาลเอกชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
จากนั้นแต่ละกองทุนจะตามจ่ายค่ารักษาพยาบาล
ให้ผู้ป่วยที่อยู่ในสิทธินั้นๆ เอง
“ระบบการแพทย์ฉุกเฉินเริ่มมาตั้งแต่ปี 2555
ตลอด 4 ปี มีผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแล
ตามสิทธิดังกล่าวมากกว่า 70,000 คน และ
จากผลสำรวจพบว่ามีความพึงพอใจสูง

แต่ยังมีปัญหาที่สำคัญคือ
มีการเรียกเก็บเงินค่ารักษาจากผู้ป่วยหรือญาติ
ด้วยเหตุผลหลายประการจนเป็นเหตุ
ให้เกิดการฟ้องร้องและยื่นเรื่องทวงถามไปยังรัฐบาล

ดังนั้นจึงต้องมีการทบทวนและปรับระบบให้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สพฉ.
จึงได้ร่วมมือกับนักวิชาการด้านระบบค่ารักษาพยาบาล
ออกแบบการคิดค่ารักษาพยาบาลและทำข้อเสนอ
เงื่อนไขต่างๆ พร้อมจัดประชุมร่วมกัน
กับสมาคมโรงพยาบาลเอกชน
และผู้แทนจากทั้ง 3 กองทุน”
นพ.อนุชา กล่าว

ข้อสรุปร่วมคือ
  1. จะร่วมมือดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
    ของโรงพยาบาลเอกชนโดยไม่คิดค่ารักษากับผู้ป่วย
    แต่จะเบิกคืนจากกองทุนต่างๆ
    โดยมี สพฉ.กำหนดอาการฉุกเฉินวิกฤต 
  2. การรักษาอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน
    จะคิดค่ารักษาทุกรายการแทนการเหมาจ่าย
    ใน 72 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้น
    เป็นเรื่องที่แต่ละกองทุนกับโรงพยาบาลเอกชน
    จะตกลงกันเอง 
  3. จัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิ
    เมื่อพ้นวิกฤต หรืออยู่จนครบ 72 ชั่วโมง อย่างมีประสิทธิภาพ 
  4. สพฉ.ร่วมกับ รพ.รามาธิบดี
    จัดการอบรมการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตแบบมีส่วนร่วม
    เพื่อให้แพทย์ พยาบาลห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชน
    สามารถคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามเกณฑ์ที่ สพฉ.กำหนด
    รวมทั้งจัดเตรียมศูนย์ประสานงาน
    เพื่อให้แพทย์เวรประจำศูนย์ประสานงาน
    สามารถช่วยการตัดสินเรื่องฉุกเฉินวิกฤต
    ในกรณีที่แพทย์ พยาบาลหน้างานไม่แน่ใจ 
  5. เมื่อทุกฝ่ายยอมรับกับเงื่อนไขต่างๆ
    สพฉ.จะเสนอให้คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน
    ออกเป็นประกาศให้ทราบโดยทั่วกันและ
    ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบต่อไป และ 
  6. เตรียมตั้งกรรมการติดตามและปรับปรุงระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
    นอกจากนี้ ในพื้นที่พิเศษที่ห่างไกล
    อาทิ พื้นที่เกาะ ภูเขา หรือพื้นที่ธุรกันดาร
    ที่รถพยาบาลเข้าถึงยาก
    ทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการเคลื่อนย้าย
    ผ่านเรือกู้ชีพ หรืออากาศยาน ก็ได้รับสิทธิและ
    ได้รับบริการฟรีเช่นกัน โดยแจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1669
แหล่งที่มา    Facebook : มติชนออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...