วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บัตรประชาชนแนวใหม่ Any ID Card

ระทรวงการคลังได้ออกมาเผยแล้วว่า จะเปลี่ยนแปลง
ระบบการชำระเงินแบบใหม่โดยการใช้บัตรประชาชน
ในรูปแบบของ Any ID  ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 นี้เป็นต้นไป

Any ID   คืออะไร ?
ก่อนอื่นเราก็ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า
ระบบใหม่ที่ว่านี้เป็นอย่างไร ?
แล้วแตกต่างจากระบบเดิมอย่างไร ?
เปลี่ยนเพื่ออะไร ?
แล้วประชาชนอย่างเราๆ จำเป็นต้องทำหรือไม่ ?
วันนี้เรามีคำตอบที่นี่


ระบบบัตรประชาชนแบบใหม่ Any ID   เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Payment) ของรัฐบาล ซึ่งทางรัฐบาลต้องการข้อมูลเพื่อที่จะนำไปใช้ในการจ่ายสวัสดิการของรัฐและเกี่ยวกับการคืนเงินภาษีของกรมสรรพากรให้กับประชาชน โดยข้อมูลในบัตรประชาชนใหม่ ที่ต้องลงทะเบียนแบบ Any ID  นั้น จะประกอบไปด้วย
  • เลขบัตรประจำตัวประชาชนผู้ถือบัตร จำนวน 13 หลัก
  • เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
  • เลขบัญชีธนาคาร (ธนาคารที่สะดวกในการรับเงินและทำธุรกรรมการเงิน)
ทำไมต้องทำ Any ID   ?  
นั่นก็เป็นเพราะว่า การให้สวัสดิการแก่ประชาชนแบบเดิมที่ผ่านๆ มามีความยุ่งยากและใช้เวลาในการตรวจสอบดำเนินการนาน ทำให้เกิดความล่าช้า ประชาชนเดือดร้อนและไม่ทั่วถึง ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบ Any ID   นั้น จะได้รับการบริการในเรื่องของสวัสดิการ เบี้ยยังชีพ เงินบำนาญ เงินคืนภาษีจากสรรพากร เงินคืนจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้สะดวกขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น  เงินจากรัฐบาลจะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคารที่ผ่านการกรอกข้อมูลการโอนโดยใช้เลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์ เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกกับระบบ Any ID ไว้ นั่นเอง

แล้วใครที่บ้างที่ต้องลงทะเบียน Any ID  ? จำเป็นต้องลงทะเบียนทุกคนหรือไม่ ?
ตามจริงแล้ว กระทรวงการคลังไม่ได้กล่าวเป็นเชิงบังคับว่า
ต้องลงทะเบียนทุกคน แต่อยากจะขอให้ประชาชนได้ทำความเข้าใจว่า
การลงทะเบียนในระบบ Any ID   นั้นจะช่วยในเรื่องของความสะดวกสบาย
ในการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล
ได้สะดวกอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น

เป็นการลงทะเบียนแบบสมัครใจ
เพื่อลดความยุ่งยากของทั้งสองฝ่าย ดังนั้น
ประชาชนที่เห็นสมควรจะต้องลงทะเบียนบัตรประชาชนแบบ Any ID ได้แก่
  • พนักงานของรัฐ  
  • บุคคลที่เข้ารับราชการ  
  • ผู้ที่รับเงินบำนาญจากรัฐบาล  
  • ประชาชนสูงอายุที่ต้องได้รับเบี้ยยังชีพ
  • ประชาชนที่มีรายได้มากกว่า 150,000 บาทต่อปี ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับกรมสรรพากร
  • หรือบุคคลที่คิดว่า ตนเองจะมีความจำเป็นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับได้รับสวัสดิการจากรัฐบาล เช่น เกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง หรือ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นต้น
ดังนั้น การลงทะเบียนบัตรประชาชนแบบ Any ID   จะว่าจำเป็นไหม ? ก็มีความจำเป็นสำหรับบุคคลดังที่กล่าวมา ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว ได้รับการบริการอย่างทั่วถึง และเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเองอีกด้วย
สำหรับการลงทะเบียนบัตรประชาชนแบบ Any ID   นั้น 
บางธนาคารก็เริ่มที่จะเปิดให้ใช้บริการลงทะเบียนแล้ว อย่าง
ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ anyid.scb
หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ก็มีการให้ทำแบบคำขอลงทะเบียน Any ID และ
หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลลูกค้า ในเบื้องต้นแล้ว
เพื่อบริการให้กับประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน
ซึ่งดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่เพื่อประสานงาน
กับผู้นำชุมชนในหมู่บ้านนั้นๆ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
และไม่สับสน และอีกหนึ่งธนาคารคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ก็จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับบุคคลทั่วไปได้
ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป

สิ่งสำคัญที่สุดในการลงทะเบียน Any ID
ก็คือ เลขบัญชีธนาคาร
ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า 1 Any ID
จะสามารถผูกกับหมายเลขโทรศัพท์เพียง 1 หมายเลข และ
เลขบัญชีธนาคารได้เพียง 1 หมายเลขบัญชีเท่านั้น

ฉะนั้นแล้วถ้าใครที่มีคุณสมบัติและมีความต้องการ
ที่จะลงทะเบียนบัตรประชาชน Any ID   นั้นจะต้องตรวจสอบ
เลขบัญชีธนาคารที่สะดวกต่อการทำธุรกรรมทางการเงิน
หรือเป็นเลขบัญชีที่ท่านใช้งานบ่อยๆ หรือเป็นเลขบัญชี
ที่ใช้รับโอนเงินค่าครองชีพ เงินเดือน
หรือเลขบัญชีที่ผูกกับบัตรนักศึกษา เป็นต้น

เพื่อความสะดวกสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้นและเพื่อความมั่นใจว่า
ประชาชนได้รับเงินค่าตอบแทนต่างๆ แล้ว หมายเลขโทรศัพท์ก็เช่นกัน
ต้องเป็นหมายเลขที่สามารถติดต่อได้และใช้งานเป็นประจำ
ถ้าใครมีโทรศัพท์หลายเครื่องหลายเบอร์ ก็ควรเลือกใช้
เบอร์ที่ใช้ในการติดต่องานราชการได้จะดีที่สุดค่ะ

นอกจากประโยชน์ของ Any ID  
1) ที่จะมีไว้เพื่อรับเงินช่วยเหลือและสวัสดิการจากรัฐบาลแล้ว
2) ยังสามารถทำธุรกรรมอย่างอื่นได้อีกหรือไม่ ?
คำตอบคือ ได้

อย่างเช่น การโอนเงินข้ามธนาคาร เป็นต้น
เราก็คงคุ้นเคยกันดีกับการโอนเงินข้ามธนาคาร
ไม่ว่าจะเป็นการโอนผ่านธนาคาร ผ่านตู้เอทีเอ็ม
หรือผ่านระบบแอพลิเคชั่นต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีข้อจำกัด
เช่น โอนต่างธนาคารจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการโอน

ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยนทุกอย่างเป็นระบบแบบ Any ID   แล้ว
ก็เหมือนกับว่าเราเปลี่ยนให้ใช้ระบบธุรกรรมการเงินแบบเดียวกัน
ถึงแม้ว่าแต่ละ Any ID   จะผูกกับเลขบัญชีธนาคารต่างกัน
แต่เวลาเราโอนจะสามารถทำได้สะดวกขึ้น
สามารถโอนเงินต่างธนาคารได้โดยที่อาจจะ
เสียค่าธรรมเนียมในการโอนน้อยลงหรือไม่เสียเลยนั่นเอง
(ต้องติดตามข่าวอัพเดตอีกที)

การลงทะเบียน Any ID  นั้น
ตอนนี้เราอาจจะยังไม่เห็นความจำเป็นซะเท่าไหร่
แต่ในอนาคตไม่แน่ว่า เราอาจจะจำเป็นต้องใช้งาน
ผ่าน  Any ID  ดังนั้นรักษาสิทธิและ
ผลประโยชน์ของตนเองน่าจะดีกว่า

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลข่าวจากทางเว็บไซต์
http://manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9590000056221

แหล่งที่มา   Facebook : MoneyHap

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...