ตัวอย่าง
11 อ่านว่า สิบ-เอ็ด
41 อ่านว่า สี่-สิบ-เอ็ด
2. การอ่านตัวเลขที่มีทศนิยม ตัวเลขที่อยู่หน้าจุดทศนิยมให้อ่านเป็นจำนวนเต็ม สำหรับตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมให้อ่านเรียงทีละตัว
ตัวอย่าง
1.25 อ่านว่า หฺนึ่ง-จุด-สอง-ห้า
15.347 อ่านว่า สิบห้า-จุด-สาม-สี่-เจ็ด
3. การอ่านเลขบอกเวลา การเขียนสัญลักษณ์คั่นกลางระหว่างตัวเลขได้ 2 แบบ
1) ใช้เครื่องหมายมหัพภาค (จุด . )
2) ใช้เครื่องหมายทวิภาค (จุดคู่ : )
16.00 หรือ 16:00 อ่านว่า สิบ-หก-นา-ฬิ-กา
12.30 หรือ 12:30 อ่านว่า สิบ-สอง-นา-ฬิ-กา-สาม-สิบ-นา-ที
ในกรณีที่มีเศษของวินาที (ตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่เป็นเศษของวินาที) ให้อ่านแบบเรียงตัว
ตัวอย่าง
08:02:37.86 อ่านว่า แปด-นา-ฬิ-กา-สอง-นา-ที-สาม-สิบ-เจ็ด-จุด-แปด-หก-วิ-นา-ที
4. การอ่านเลขหนังสือราชการ ให้อ่านพยัญชนะเรียงตัวเช่นเดียวกับตัวเลข ทั้งที่อยู่ด้านหน้าจุดทศนิยม
และหลังจุดทศนิยม
ตัวอย่าง
หนังสือที่ ศธ 00489.951 อ่านว่า หฺนัง-สือ-ที่-ศอ-ทอ-ศูนย์-ศูนย์-สี่-แปด-เก้า-จุด-เก้า-ห้า-หนึ่ง
หนังสือที่ ลว 00213.47 อ่านว่า หฺนัง-สือ-ที่-ลอ-วอ-ศูนย์-ศูนย์-สอง-หนึ่ง-สาม-จุด-สี่-เจ็ด
5. การอ่านเครื่องหมายวรรคตอน สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- เครื่องหมายที่ไม่ต้องอ่าน หมายถึง เครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้ประกอบการเขียน เพื่อเตือนให้ผู้อ่าน พยายามทำเสียงให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับความเป็นจริง เช่น เครื่องหมายปรัศนี (เครื่องหมายคำถาม หรือ เครื่องหมายสงสัย ?) และเครื่องหมายอัศเจรีย์ (เป็นคำอุทาน !) เป็นต้น
เมื่อผู้อ่านพบเครื่องหมายที่ไม่ต้องอ่าน ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเครื่องหมายวรรคตอนนั้น แต่ให้ผู้อ่านพยายามทำเสียงให้เหมือนหรือคล้ายกับความเป็นจริง
เมื่อผู้อ่านพบเครื่องหมายที่ไม่ต้องอ่าน ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเครื่องหมายวรรคตอนนั้น แต่ให้ผู้อ่านพยายามทำเสียงให้เหมือนหรือคล้ายกับความเป็นจริง
ตัวอย่าง
โอ้โห! ทำไมวันนี้การบ้านเยอะจัง
วันนี้เธอไม่มาเล่นด้วยกันหรือ?
- เครื่องหมายที่ต้องอ่าน จำเป็นต้องอ่านออกเสียง เนื่องจากมีผลต่อความหมายของข้อความ เช่น
* เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) ให้อ่านคำหรือข้อความนั้นซ้ำอีกหนึ่งรอบ
ตัวอย่าง
ในวันหนึ่ง ๆ อ่านว่า ใน-วัน-หนึ่ง-วัน-หนึ่ง
เด็ก ๆ อ่านว่า เด็ก-เด็ก
* เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) นิยมเขียนไว้เพื่อใช้ละคำที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว โดยละส่วนท้ายไว้เหลือแต่ส่วนหน้าของคำให้พอเป็นที่เข้าใจ
ตัวอย่าง
กรุงเทพฯ อ่านว่า กรุง-เทบ-มะ-หา-นะ-คอน
โปรดเกล้าฯ อ่านว่า โปรด-เกล้า-โปรด-กระ-หม่อม
* เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ละข้อความข้างท้ายที่อยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งยังมีอีกเป็นจำนวนมากและไม่ได้นำมาแสดงไว้ ซึ่งการอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ที่อยู่ข้างท้ายข้อความให้อ่านว่า “ละ” หรือ “และอื่น”
ตัวอย่าง
ห้างสรรพสินค้ามีสินค้ามากมายให้เลือกซื้อ เช่น เสื้อผ้า อาหาร เครื่องดื่ม ฯลฯ
อ่านแบบที่ 1 ว่า ห้างสรรพสินค้ามีสินค้ามากมายให้เลือกซื้อ เช่น เสื้อผ้า อาหาร เครื่องดื่ม และอื่น ๆ
อ่านแบบที่ 2 ว่า ห้างสรรพสินค้ามีสินค้ามากมายให้เลือกซื้อ เช่น เสื้อผ้า อาหาร เครื่องดื่ม ละ
หากปรากฏเครื่องหมายไปยาลใหญ่และอยู่ระหว่างข้อความ ให้อ่านว่า “ละถึง”
ตัวอย่าง
พยัญชนะไทย มี 44 ตัว คือ ก ฯลฯ ฮ อ่านว่า พยัญชนะไทยมี 44 ตัวคือ ก.ไก่ ละถึง ฮ.นกฮูก
6. การอ่านอักษรย่อ อักษรย่อ หมายถึง การใช้ตัวอักษรย่อแทนคำหรือวลีซึ่งเป็นรูปเต็ม ซึ่งการอ่านออกเสียงอักษรย่อนั้น ผู้อ่านต้องทราบชื่อเต็มของอักษรย่อนั้น ๆ เสียก่อน
ตัวอย่าง
รฟท.ย่อมาจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย
รศ. ย่อมาจาก รองศาสตราจารย์
ภก. ย่อมาจาก เภสัชกร
ป.ต.ท. ย่อมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
นสพ. ย่อมาจาก หนังสือพิมพ์
รศ. ย่อมาจาก รองศาสตราจารย์
ภก. ย่อมาจาก เภสัชกร
ป.ต.ท. ย่อมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
นสพ. ย่อมาจาก หนังสือพิมพ์
7. การอ่านคำไทย สามารถจำแนกหลักการอ่านที่ถูกต้องได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1) อ่านคำแบบมาตรฐาน อ่านโดยยึดหลักการอ่านออกเสียงมาตรฐานตามราชบัณฑิตยสถานกำหนด
2) อ่านคำตามความนิยม
1) อ่านคำแบบมาตรฐาน อ่านโดยยึดหลักการอ่านออกเสียงมาตรฐานตามราชบัณฑิตยสถานกำหนด
2) อ่านคำตามความนิยม
ข้อความ | อ่านคำแบบมาตรฐาน | อ่านคำตามความนิยม |
เกียรติประวัติ
|
เกียด-ติ-ประ-หวัด
|
เกียด-ประ-หวัด
|
ขะมักเขม้น
|
ขะ-มัก-ขะ-เม่น
|
ขะ-หมัก-ขะ-เม่น
|
คุณวุฒิ
|
คุน–นะ-วุด-ทิ
|
คุน-นะ-วุด
|
มกราคม
|
มะ-กะ-รา-คม
|
มก-กะ-รา-คม
|
มนุษยสัมพันธ์
|
มะ-นุด-สะ-ยะ-สำ-พัน
|
มะ-นุด-สำ-พัน
|
แหล่งที่มา : สื่อรายวิชา up003 การใช้ภาษาไทย (Using of Thai Language) ที่เว็บ https://thaimooc.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น