สำหรับ "ค" นั้น ตามหลักภาษาจัดให้เป็น "อักษรต่ำ" และถ้ามาผสมสระอะ เป็นคำว่า "คะ" ซึ่งนั่นเราถือว่าเป็น "คำตาย" เนื่องจากมีสระเสียงสั้น เมื่อเป็นแบบนี้ เท่ากับว่า คำว่า "คะ" เป็นอักษรต่ำด้วย และเป็นคำตายด้วย
การผันวรรณยุกต์จึงผันได้เพียงแค่ 2 เสียงเท่านั้น คือ
- "ค่ะ" (เสียงเอก) กับ
- "คะ" (เสียงตรี)
คำว่า "คะ"
ใช้กับประโยคที่ต้องการแสดงเสียงสูง อาจเป็นประโยคคำถามหรือเรียกด้วยความสุภาพ
เช่น ไปไหนกันคะ ดูได้ไหมคะ คุณคะเชิญทางนี้ เป็นต้น
ส่วนคำว่า "ค่ะ" (ออกเสียง ขะ)
ใช้กับประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ อย่างประโยคบอกเล่า ตอบรับ ตอบคำถาม
เช่น สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ รักค่ะ เกลียดค่ะ เชิญค่ะ จบค่ะ
คำว่า “นะคะ”
จะใช้กับประโยคบอกเล่า หรือตอบรับเช่นกัน
เช่น ขอบคุณมากนะคะ คิดถึงนะคะ เดินทางปลอดภัยนะคะ
อันนี้บอกเลยว่า มีแต่ “นะคะ” คำว่า “นะค่ะ” ไม่มี
คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการแสดงความสุภาพก็ยังมีอีกหลายคำ คือ
- คำว่า คะ ใช้ในเชิงถาม เช่น ทานไหมคะ หรือ
- ใช้ลงท้ายร่วมกับคำว่า “นะ” เป็น “นะคะ” เช่น น่ารักนะคะ หรือ
- ใช้ลงท้ายคำว่า “ล่ะ” เป็น “ล่ะคะ” เช่น แล้วอันนี้ล่ะคะ
- นอกจากนั้นยังมีคำว่า “ขา” ที่ใช้ขานรับ เช่น ขา ได้ยินแล้วค่ะแม่ หรือ
- ใช้ต่อท้ายคำเรียกขาน เช่น พ่อขาไปด้วยกันไหมคะ
คำว่า จ้ะ ใช้ในเชิงรับ เช่น ไปจ้ะ
คำว่า จ๊ะ ใช้ในเชิงถาม เช่น ไปไหนจ๊ะ
ส่วนคำว่า จ๋า ใช้ขานรับ หรือใช้ต่อท้ายคำเรียกขาน เช่น แม่จ๋า หนูคิดถึงแม่จ้ะ
แหล่งอ้างอิง ข่าวที่: https://www.thairath.co.th/content/972383
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น