สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินปันผล
เครดิตภาษีเงินปันผลเป็นอีกสิทธิประโยชน์นึง
ที่มักถูกมองข้ามอยู่เสมอ เพราะเรามักจะปล่อย
ให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปโดยไม่สนใจจะ
นำไปยื่นภาษีเนื่องจากมองว่ามีกระบวนการคำนวณที่ยุ่งยาก
แต่คุณรู้หรือไม่ว่าเครดิตภาษีเงินปันผล
ได้ช่วยชีวิตผู้เสียภาษีอย่างเราให้ประหยัดภาษีมานักต่อนัก
สมมติว่าตลอดทั้งปีที่ผ่านมา
คุณมีรายได้จากเงินปันผลแต่เพียงอย่างเดียว
เป็นเงิน 100,000 บาท คุณจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10,000 บาท
1. ถ้าคุณปล่อยให้เงินปันผล 100,000 บาท
นั้นเลยตามเลยโดยไม่ยื่นภาษี
แม้คุณจะมีสิทธิทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
แต่นั่นหมายความว่าคุณยอมเสียภาษีถึง 10,000 บาท
สำหรับรายได้ก้อนนี้
2. แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าคุณเลือกนำเงินปันผล 100,000 บาทนั้น
มายื่นภาษีแล้วใช้สิทธิหักเครดิตภาษีเงินปันผลภายในสิ้นเดือนนี้
นอกจากคุณจะไม่ต้องเสียภาษี 10,000 บาทแล้ว
คุณยังได้เงินคืนภาษีถึง 35,000 บาทเลยทีเดียว!
จะเห็นได้ว่าการใช้สิทธิเครดิตภาษี
เงินปันผลประหยัดภาษีเยอะกว่าเห็นๆ
แต่ก็มีคำถามอีกว่าแล้วต้องได้รับเงินปันผลเยอะแค่ไหน
ถึงควรจะปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่ต้องใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผล?
คำตอบคือ เมื่อมีคุณมีรายได้จากเงินปันผลมากกว่า 5,091,428.60 บาท!
หมายความว่าถ้าคุณยังมีรายได้จากเงินปันผลอย่างเดียวไม่ถึง 5 ล้านบาท
การขอเครดิตภาษีเงินปันผลเป็นทางเลือกที่ประหยัดภาษีมากกว่าเสมอ
แต่อย่างไรก็ดี อย่าลืมคำนวณภาษีของคุณอย่างละเอียดอีกครั้ง
เพราะตัวเลขอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยการคำนวณของแต่ละคน
เช่น มีรายได้ทางอื่นด้วยไหม หรือมีค่าลดหย่อนเพิ่มเติมอีกรึเปล่า
ถ้าคุณมีรายได้จากเงินปันผลแล้ว
ปีนี้ยังไม่ได้ยื่นภาษี ก็อย่าลืมลองคำนวณ
เพื่อเปรียบเทียบภาษีด้วย
แล้วถ้าปีนี้ยื่นภาษีไปแล้วแต่ลืมใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลล่ะ?
ข่าวดี! คุณยังมีเวลายื่น ภ.ง.ด. 90 ใหม่
เพื่อแก้ไขแบบที่ยื่นไปก่อนหน้านี้ได้อยู่จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558
แหล่งที่มา Facebook : iTAX Thailand
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น