วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท?

ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท?
แต่ละประเภทได้รับความคุ้มครองต่างกันอย่างไร?

มีคำถามทั้งหน้าไมค์และหลังไมค์จำนวนมาก เกี่ยวกับความเหมือนและความต่างระหว่าง "ผู้ประกันตน" ในระบบประกันสังคม เพราะมีทั้งที่เป็นภาคบังคับ และภาคสมัครใจ ขอนำตารางนี้มาให้ดูกันอีกครั้ง


ในระบบประกันสังคม มีผู้ประกันตนทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
  1. พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี มีจำนวน 9,730,000 คน
  2. เคยเป็นพนักงานแต่ลาออก (มาตรา 39) ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี มีจำนวน 1,050,000 คน
  3. อาชีพอิสระ/แรงงานนอกระบบ (มาตรา 40) ได้รับความคุ้มครอง 3 หรือ 4 กรณี (แล้วแต่แพกเกจ) มีจำนวน 1,500,000 คน
พวกเราสงสัยไหมว่า ทำไมประกันสังคม (มาตรา 33) จึงต้องเป็น "ภาคบังคับ" ขออธิบายอีกครั้งว่า ระบบประกันสังคมถูกสร้างขึ้นเพื่อบังคับให้ทั้ง 3 ฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล "ร่วมกัน" ดูแลสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง พูดง่ายๆ ก็คือว่า มีคนจ่ายตังค์ 3 คน เพื่อดูแลลูกจ้างคนเดียว ..ถ้าเราไม่บังคับ ลูกจ้างก็ต้องดูแลค่าใช้จ่ายเหล่านี้เองครับ (ถ้าให้พูดตรงๆ คนที่ถูกกฎหมายบังคับให้ดูแลพวกเรา คือ "นายจ้าง" และ "รัฐบาล" นั่นเอง)

เพื่อนๆ ที่รายได้เยอะอาจจะคิดว่า ฉันดูแลตัวเองได้ แต่อยากให้นึกถึงเพื่อนของเราที่มีรายได้น้อยอีกเกือบ 10 ล้านคนนะ คนที่มีรายได้น้อยเนี่ย เวลาออกจากงานก็ไม่มีเงินใช้ เวลาเสียชีวิตอาจจะไม่มีแม้กระทั่งค่าทำศพ ... นอกจากนี้ เงินที่สมทบเกินครึ่งหนึ่งยังเป็น "เงินออมชราภาพ" ที่พวกเราจะได้รับคืนหลังเกษียณด้วย ...

แหล่งที่มา    Facebook : SSO Savings Club

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...