วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

มุมมองเรื่อง "การบริจาค" กับ "การลดหย่อนภาษี"

โดยปกติแล้ว การบริจาคต้องแยกผู้บริจาคออกเป็น 2 กลุ่มระหว่างที่ผู้บริจาคเป็น "บุคคลธรรมดา" หรือ "นิติบุคคล"

หากมองในมุมของการหักเป็น "ค่าใช้จ่าย" ในการคำนวณภาษี
  1. บุคคลธรรมดา กรณีบริจาคให้องค์การกุศลสาธารณะ โดยปกติสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายที่ไม่รวมเงินบริจาค (มาตรา 47(7))
  2. นิติบุคคล กรณีบริจาคให้องค์การกุศลสาธารณะ โดยปกติแล้วสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ (มาตรา 65 ตรี (3))
ถ้าหากตัวไหนสามารถหักได้มากกว่าตามที่กฎหมายกำหนดก็จะมี พระราชกฤษฎีกาต่างหากออกมาเพื่อกำหนดเงื่อนไขในการหักเป็นค่าใช้จ่าย เช่น หักได้ 2 เท่าของค่าบริจาคตามปกติแต่ต้องบริจาคเพื่อการศึกษา
แต่ถ้ามองในแง่มุมของการ "ประหยัดภาษี" เราอาจจะมองได้ว่าการบริจาคสามารถช่วยประหยัดภาษีได้เท่าไรเมือเทียบกับภาษีที่ต้องเสียไป เช่น

บุคคลธรรมดาคนหนึ่งเสียภาษีในฐาน 35% การบริจาค 100 บาทที่หักลดหย่อนได้เต็มจำนวนตามเงื่อนไขข้างต้น (ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้) เท่ากับจะช่วยให้ประหยัดภาษีไป 35 บาท หรือ

นิติบุคคลที่เสียภาษีในฐาน 20% หากบริจาค 100 บาทและหักลดหย่อนได้เต็มจำนวนเช่นกัน (ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ) เท่ากับว่าจะประหยัดภาษีไป 20 บาท

ป.ล. บุคคลธรรมดาเสียภาษีตามอัตราขั้นบันได ตั้งแต่ 5%-35% ส่วนนิติบุคคลนั้นจะมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ

แหล่งที่มา    Facebook : TaxBugnoms

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...