วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เก็บอย่างไรไม่ให้อาหารเสีย ?


ไม่ว่าคุณจะเก็บอาหารไว้ในตู้เย็น ในช่องแช่แข็ง หรือตู้กับข้าว คุณสามารถที่จะป้องกันตัวเองให้พ้นจากการรับประทานอาหารที่เป็นพิษจากเชื้อจุลินทรีย์ 


จุดประสงค์หลักของการเก็บอาหารแบบนี้คือ การทำให้ตนเองและผู้อื่น พ้นจากโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อ ซาลโมเนลลา (Salmonella) อี. โคไล (E. coli) และคลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botuninum) ที่ทำให้เกิดโรค โบทูลิซึม (Botulism) 


การเก็บอาหารในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิเหมาะสมเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ไม่ให้เจริญเติบโต เคล็ดลับในการเก็บอาหารแบบนี้จะช่วงทำให้คุณปลอดภัยจากอาหารเป็นพิษที่เกิด จากเชื้อจุลินทรีย์

การเก็บอาหารในตู้เย็นหรือในตู้แช่แข็งทันที
อาหารที่ต้องการการรักษาในตู้เย็นทันทีเมื่อมาถึงบ้าน ให้ยึดหลัก "สองชั่วโมง" ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สามารถทิ้งอาหารไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ อย่าเก็บเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ไข่ หรือผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่ต้องการเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น เอาไว้ที่อุณหภูมิห้องเกิน 2 ชั่วโมง แต่ถ้าอุณหภูมิห้องมากกว่า 32 องศาเซลเซียส ให้ทิ้งอาหารไว้ที่อุณหภูมินี้ได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งนี้รวมถึงอาหารที่ทานเหลือ หรืออาหารที่ซื้อมาทานที่บ้าน และเมื่อเก็บอาหารในตู้เย็น อย่าใส่จนแน่นตู้เย็น เนื่องจากระบบหมุนเวียนความเย็นในตู้เย็นไม่สามารถหมุนเวียนความเย็นได้ทั่วถึง

การเก็บรักษาตู้เย็นให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม
ต้องรักษาอุณหภูมิในตู้เย็นให้ได้ 4 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า และอุณหภูมิในตู้แช่แข็งให้ได้ -18 องศาเซลเซียส ควรมีการตรวจสอบอุณหภูมิเป็นระยะๆ โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ซึ่งสามารถซื้อหาได้ในราคาไม่แพง


ตรวจสอบวิธีการเก็บรักษาอาหารจากฉลาก
อาหารชนิดต่างๆ นอกเหนือจากเนื้อสัตว์ ผักสด นม ก็จำเป็นที่ต้องเก็บในตู้เย็นด้วย ตัวอย่างเช่น มายองเนส ซอสมะเขือเทศ ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นหลังจากเปิดใช้แล้ว หากลืมเก็บอาหารเหล่านี้ไว้ในตู้เย็นควรทิ้งไป อย่านำมารับประทานต่อ เนื่องจากมีเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปปะปนแล้ว


ให้ระมัดระวังกับอาหารที่เสีย
อาหารชนิดใดก็ตามที่ดูแล้วมีลักษณะผิดปกติ หรือมีกลิ่นผิดปกติควรทิ้งไป เชื้อราไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในการทำอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็ทำให้อาหารเปลี่ยนแปลงรสชาดไปทำให้ไม่น่ารับประทาน ดังนั้น วิธีปฏิบัติที่ปลอดภัยที่สุดคือ การทิ้งอาหารที่มีเชื้อรา


เคล็ดลับในการแช่อาหารในตู้เย็น
ทำความสะอาดตู้เย็นอย่างสม่ำเสมอ และเช็ดทำความสะอาดเมื่อมีอาหารหกในคู้เย็น วิธีนี้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ ลิสเทอเรีย (Listeria) และป้องกันการปนเปื้อนจากหยดน้ำที่เกิดจากลำลายเนื้อสัตว์ในตู้เย็น เนื่องจากหยดน้ำที่มาจากการละลายของเนื้อสัตว์จะมีแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิด การปนเปื้อนข้ามไปยังอาหารอื่นๆ ที่เก็บในตู้เย็นได้

เก็บอาหารพร้อมมีฝาปิดในตู้เย็น ควรเก็บอาหารโดยใช้ภาชนะที่มีฝาปิด หรือถุงที่ปิดด้านได้ในการเก็บอาหาร สำหรับไข่สดควรเก็บไว้ในภาชนะที่บรรจุไข่มาพร้อมกับตอนซื้อจะดีกว่าเก็บไว้ ที่ช่องเก็บไข่ในตู้เย็น เนื่องจากอุณหภูมิที่ฝาตู้เย็นจะอุ่นกว่าภายในตู้เย็น

ตรวจสอบวันหมดอายุ ถ้าอาหารหมดอายุแล้วต้องทิ้งไป หรือหากท่านไม่แน่ใจ หรือสงสัยเกี่ยวกับวันหมดอายุ ให้ทิ้งอาหารนั้นไป

ไม่ควรใส่ของให้แน่นตู้เย็นจนเกินไป เพราะจะทำให้ความเย็นกระจายไปยังอาหารต่างๆ ได้ไม่ทั่วถึง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตู้แช่แข็ง
อาหารที่เก็บไว้ในตู้แช่แข็งอย่างดี และทำให้สุกแล้ว และถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส จะมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อุณหภูมิในตู้แช่แข็งไม่ได้ฆ่าแบคทีเรีย แต่จะหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ถึงแม้ว่า อาหารที่เก็บไว้ในตู้แช่แข็งนี้ไม่ว่าจะเก็บไว้ได้นานแค่ไหนจะปลอดภัยต่อผู้ บริโภค แต่คุณภาพของอาหารจะลดลงเมื่อระยะเวลาการเก็บนานขึ้น ความนุ่ม รสชาด กลิ่น ความฉ่ำ และสี จะเปลี่ยนแปลงไป

สำหรับอาหารแช่แข็งสำเร็จรูปต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตในการนำมาทำอาหารเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยต่อการบริโภค

ตู้แช่แข็งไม่ได้ทำให้แร่ธาตุในอาหารลดน้อยลง แต่โปรตีนที่สะสมอยู่ในอาหารจะลดลงเล็กน้อย

ควรวัดอุณหภูมิในตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิในตู้เย็น และตู้แช่แข็งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปจากแผนกของใช้ภายในบ้านของห้างสรรพ สินค้า พร้อมทั้งตรวจสอบอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง


จะทำอย่างไรเมื่อไฟฟ้าดับ
ควรปิดฝาตู้แช่แข็ง ปกติตู้เย็นจะเก็บความเย็นเอาไว้ได้อีกประมาณ 4 ชั่วโมง ถ้าไม่เปิดตู้เย็น ส่วนตู้แช่แข็งจะรักษาอุณหภูมิไว้ได้เพียง 2 ชั่วโมงถ้าไม่เปิดฝา

เคล็ดลับเกี่ยวกับอาหารชนิดที่ไม่ต้องเก็บในตู้เย็น
ตรวจสอบสภาพผิดปกติของอาหารกระป๋อง อาหารกระป๋องเมื่อเสียจะมีสภาพที่มองเห็นได้คือ บวม มีรูรั่ว มีของเหลวไหลออกมา มีรอยแตกร้าว มีสนิม อาหารกระป๋องที่ซื้อมาใหม่ๆ แล้วพบรอยควรส่งคืนร้านค้าที่ซื้อมา หรือทิ้งไป

ไม่ควรเก็บมันฝรั่ง หรือหัวหอมใหญ่ไว้ในตู้ใต้อ่างน้ำ เพราะอาจจะทำให้น้ำที่รั่วจากท่ออาหาร ควรเก็บมันฝรั่งและหัวหอมไว้ในที่เย็นและแห้ง

ควรเก็บอาหารให้ห่างจากสารอันตราย และไม่ควรเก็บอาหารชนิดที่ไม่ต้องเก็บในตู้เย็นไว้ใกล้กับผลิตภัณฑ์ทำความ สะอาดบ้าน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ หรือสารเคมี

แหล่งที่มา    เว็บไซต์ THAIZA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...