รู้จัก "กฏ 80/20" อันลือลั่นมั้ย?
กฏนี้คิดค้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน
ชื่อ "วิลเฟรโด ปาเรโต"
เมื่อปี 1906 หรือร้อยกว่าปีที่แล้ว
และยังใช้ได้จนถึงทุกวันนี้
อธิบายกฏนี้ง่ายๆ
กฏนี้บอกเราว่า ต้นเหตุเพียง 20% ก่อให้เกิดผลลัพธ์ถึง 80%
ในขณะที่ต้นเหตุถึง 80% ก่อให้เกิดผลลัพธ์เพียง 20% เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น
ลูกค้าเพียง 20% ก่อให้เกิดรายได้ถึง 80% ของบริษัท
ในขณะที่ลูกค้าถึง 80% สร้างรายได้เพียง 20%
รายการอาหารเพียง 20% ของเมนู ก่อให้เกิดรายได้ถึง 80%
ในขณะที่รายการอาหารถึง 80%
ไม่ค่อยมีคนสั่งและก่อรายได้เพียง 20%
เวลาเพียง 20% ที่เราตั้งใจทำงาน ก่อให้เกิดเนื้องานถึง 80%
ส่วนเวลาอีก 80% เราเหลวไหลเรื่อยเปื่อย จนเกิดงานเพียง 20%
ใครที่เข้าใจประเด็นนี้
เขาผู้นั้นจะใส่ความพยายามถึง 80%
เข้าไปใน 20% ที่เป็นต้นเหตุหลักของความสำเร็จ
เพื่อให้สำเร็จมากขึ้น
แน่นอน เขาไม่ทิ้ง 80% ที่เป็นต้นเหตุรอง
เพื่อความหลากหลาย เพื่อความปลอดภัย
และเพื่อคงสัดส่วน 80/20 สัดส่วนมหัศจรรย์ที่ว่านี้ต่อไป
ฟังดูง่าย แต่คนส่วนใหญ่กลับตกหลุมพรางนี้
เขาเหล่านั้นพยายามพัฒนาและโฟกัส 80% ที่เป็นสาเหตุรองนั้น
เพียงเพราะเห็นว่า 20% นั้นมันดีอยู่แล้ว ไม่เห็นต้องใส่ใจมาก
และนั่นเองที่เป็นจุดเริ่มต้นของความผิดพลาดทั้งหมด
ปลากะพงทอดน้ำปลาขายดีอยู่แล้ว ก็ปล่อยๆ มันไป
ไปทุ่มเทปั้นเมนูใหม่ที่ยังขายไม่ดี
หันกลับมาดูอีกที ปลากะพงไหม้หมดแล้ว
ลูกค้าเก่าคือของตาย ยังไงก็ได้ยอด
เลยพยายามไปซื้อใจลูกค้าใหม่ซะมากมาย
หันกลับมาอีกที ลูกค้าเก่าบอกว่าเราเปลี่ยนไป เลยย้ายหนีไปแล้ว
ถนัดงานศิลปะ ไม่ถนัดงานด้านตลาด
แทนที่จะหาคนมาช่วย ก็มัวไปฝึกการตลาดเอง จะเอาให้ได้
สุดท้ายเลยแย่ทั้งศิลปะและการตลาด
เรื่องแบบนี้มีให้เห็นมานาน และจะยังมีให้เห็นต่อไป
เพราะจะมีคนเพียง 20% เท่านั้นที่เข้าใจและใช้กฏข้อนี้
ในขณะที่คนอีก 80% ยังคงฝ่าฝืนกฏข้อนี้ต่อไป
แหล่งที่มา Facebook : Boy's Thought
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น