วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

10 มาตรฐานอนามัยโลก

สธ.เผยไทยติด 1 ใน 10 มาตรฐานอนามัยโลก ระบบสอบสวนอาการหลังรับวัคซีน

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการสอบสวนอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคระดับเขต ตอนหนึ่งว่า วัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยมีความปลอดภัยสูง แต่อาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนมีโอกาสเกิดขึ้นได้ สธ.จึงจัดทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 1,200 ทีมทั่วประเทศ และตั้งคณะกรรมการสอบสวนอาการภายหลังได้รับวัคซีนขึ้น เพื่อประเมินสาเหตุเบื้องต้นของอาการข้างเคียงภายหลังรับวัคซีนและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน

“มีเพียง 10 ประเทศ ที่องค์การอนามัยโลกรับรองมาตรฐานของระบบ สำหรับประเทศไทยนับเป็น 1 ใน 4 ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเซียโร่ (SEARO)” นพ.ไพจิตร์ กล่าว

นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยาได้รายงานผลการเฝ้าระวังอาการหลังรับวัคซีนปี 2554 จากประชาชน 72 จังหวัด พบว่าผู้รับวัคซีนประมาณ 81% มีอาการไม่รุนแรง มีเพียงการปวดบวมแดงจากปฏิกิริยาของวัคซีน สำหรับอาการร้ายแรง อาทิ ชัก แพ้รุนแรง พบได้น้อยมาก

นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กล่าวว่า ระบบการรายงานอาการภายหลังได้รับวัคซีน จะทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของประชากรไทยว่ามีการตอบสนองต่อวัคซีนที่ใช้ภายในประเทศอย่างไรบ้าง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้เปรียบเทียบเมื่อมีการนำวัคซีนชนิดเดียวกันแต่บริษัทใหม่เข้ามาใช้ นั่นหมายถึงจะช่วยในการพิจารณาเลือกวัคซีนในอนาคต

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สธ.มีนโยบายการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้กับประชาชนตั้งแต่แรกเกิดและตามช่วงอายุ โดยเด็กแรกเกิดถึงอายุ 12 ปีของไทย จะต้องฉีดวัคซีนพื้นฐาน 10 ชนิดป้องกันโรครวมทั้งหมด 14 ครั้ง อาทิ
  • วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ
  • อกรน
  • บาดทะยัก
  • โรคคางทูม
  • โรคหัด
  • โรคหัดเยอรมัน
ม่รวมวัคซีนตามฤดูกาล หรือวัคซีนอื่นเพิ่มเติม

แหล่งที่มา   เว็บไซต์โพสทูเดย์ 27 มิถุนายน 2555 เวลา 10:49 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...