นพ.สุขุม กล่าวต่อว่า คนไทยเป็นโรคหัวใจเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือหลังวัยหมดประจำเดือน โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 17,000 ราย ประมาณครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ทั้งนี้เป็นเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป นิยมรับประทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ น้ำหนักตัวเกิน ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ทำงานหนักและพักผ่อนไม่เพียงพอ อีกทั้งยังละเลยการตรวจสุขภาพ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าปกติ 3-4 เท่า ดังนั้นจึงอยากให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง โรคกระเพราะ ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ต้องกลัวการเป็นโรค และต้องรู้จักอาการของตัวเอง อย่าปล่อยให้อาการรุนแรง
“ที่น่าเป็นห่วงคืออาการลวงทำให้ผู้ป่วยคิดว่าเป็นอาการของโรคอื่น เช่น จุกเสียด ปวดกราม ปวดไหล่ข้างซ้าย อาการเหล่านี้อาจสัมพันธ์กับอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพราะหัวใจมีเส้นเลือดและเส้นประสาทกระจายไปทั่ว และที่น่ากลัวกว่าคือไม่แสดงอาการเลย โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นเบาหวาน ดังนั้นหากมีอาการแน่นหน้าอก จุกเหมือนมีอะไรมากดทับจนทำอะไรไม่ได้นานประมาณ 5 นาที ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที” นพ.สุขุม กล่าว
แหล่งที่มา เว็บไซต์เดลินิวส์ วันพุธที่ 20 มิถุนายน 2555 เวลา 15:08 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น