วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกความเป็นไทย และปลูกฝังการมีหัวใจใฝ่เกษตรให้กับเยาวชนและคนไทยสู่การพึ่งพาตนเอง ตามวิถีแห่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ปรับโฉมใหม่ ครั้งใหญ่ในรอบ 15 ปี บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ ให้มีความยิ่งใหญ่ มีมิติที่หลากหลาย น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ด้วยการปรับปรุงนิทรรศการ “ในหลวงรักเรา” ภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติ 5 พร้อมเนรมิตโรงภาพยนตร์ 3 มิติ “กษัตริย์เกษตร” จุผู้ชมได้ 120 ที่นั่ง ฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่น “เรื่องของพ่อในบ้านของเรา” ตลอดจนการจัดแสดงในโซนต่างๆ อีก 9 โซน อาทิ หลักการทรงงาน น้ำคือชีวิต หัวใจใฝ่เกษตร ตามรอยพ่อ วิถีเกษตรของพ่อ เป็นต้น เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยพสกนิกรมากแค่ไหน ตลอดจนสามารถมาเรียนรู้เรื่องเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในฐานเรียนรู้นอกอาคาร
นางจารุรัฐ จงพุฒิศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า หลังจากเข้ามาบริหารงานตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ได้ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแหล่งเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านการเกษตรในมิติที่หลากหลาย เพื่อให้เยาวชนและประชาชนที่เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมได้ตระหนักถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในการพัฒนาการเกษตรไทย และผู้เยี่ยมชมสามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างเป็นรูปธรรมนับเป็นนิทรรศการที่มีชีวิตอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
โดยแนวทางการนำเสนอนั้น จะอยู่ภายใต้หลักคิด “ไม่มีใครรักประชาชนเท่าในหลวงอีกแล้ว พระองค์ทรงทำเพื่อประชาชนมากมาย” โดยผ่านการจัดนิทรรศการ “ในหลวงรักเรา” และการเรียนรู้เรื่องเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฐานเรียนรู้นอกอาคารตลอดจนการจัดตั้งเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติตามศูนย์ภาค 6 ศูนย์ มีการแบ่งโซนจัดแสดงหลายส่วนโดยภายในอาคาร ประกอบด้วย นิทรรศการเผยแพร่เกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชประวัติ หลักการทรงงาน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร นวัตกรรมและการพัฒนาการเกษตรไทย และนิทรรศการหมุนเวียนอันเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการเกษตรในรูปแบบใหม่ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ทั้งสื่อจัดแสดง หุ่นจำลอง สื่อผสมเสมือนจริง สื่อมัลติทัช มัลติมีเดีย แอนิเมชั่น ในลักษณะอินเตอร์แอ๊คทีฟ
ส่วนการแสดงนอกอาคาร จะเน้นเนื้อหาที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับการจัดแสดงภายในอาคาร โดยเฉพาะฐานการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ฐาน 1 ไร่พอเพียง อาทิ การทำนา ปลูกผัก สมุนไพร ไม้ผล เพาะเห็ด เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ หมูหลุม การทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ การทำบ้านดิน การใช้โซลาร์เซลล์ต้นทุนต่ำเพื่อผลิตไฟฟ้าในบ้านเรือนและการเกษตร การทำเตาแก๊สชีวภาพ เป็นต้น
หรือฐานเกษตรพอเพียงเมือง จะนำเสนอต้นแบบการเกษตรสำหรับคนเมืองที่มีพื้นที่น้อย เพื่อการพึ่งตนเองในการผลิตอาหารปลอดสารพิษ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มพื้นที่สีเขียวและช่วยลดโลกร้อน เช่น การปลูกผักในบ่อซีเมนต์ การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ การปลูกพืชบนดาดฟ้า การนำขยะในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น ถัดมาก็จะเป็นฐานมหัศจรรย์เกษตรไทย เป็นการนำเสนอความรู้แปลกใหม่ทางการเกษตรที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เช่น การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์วงใหญ่ มะละกอตอนกิ่ง ปลูกผักในน้ำ เป็นต้น และอีกฐานหนึ่งที่มีความน่าทึ่งและน่าสนใจไม่น้อยกว่ากันคือ ฐานนวัตกรรมที่อยู่อาศัย เป็นการ นำเสนอบนฐานความคิดของการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ สร้างเป็นที่อยู่อาศัย ง่ายและประหยัดสุด ๆ อย่างบ้านดินและบ้านฟาง เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระ เกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.30-15.30 น. ปิดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่วนผู้ที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อล่วงหน้าหรือสอบถามรายละเอียดได้โดยตรงที่พิพิธภัณฑ์ 0-2529-2212-13 ในวันและเวลาราชการ หรือเข้าชมได้ที่ www.wisdomking.or.th
แหล่งที่มา เว็บไซต์เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2555 เวลา 00:00 น.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น