วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

ธนบัตร 20 บาท แบบใหม่ ใช้ 1 เม.ย. 56


ธนบัตรไทย เอกลักษณ์ของชาติไทย...

ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบใหม่ เป็นหนึ่งในชุดธนบัตรแบบ 16 ซึ่งจะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ และโดยเหตุที่พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตบางพระองค์ไม่มีตราสัญลักษณ์ของราชวงศ์ จึงมิได้เชิญตราสัญลักษณ์มาพิมพ์บนด้านหน้าธนบัตร ดังนั้น ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบ 16 จึงไม่มีการแสดงตรามหาจักรีดังเช่น ธนบัตรอื่นๆ

ส่วนการเชิญตรามหาจักรีมาพิมพ์บนด้านหน้าธนบัตรเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นในธนบัตรแบบ 13 ตามแนวความคิดในการออกแบบเพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยที่ธนบัตรแบบ 12 ไม่มีการเชิญตรามหาจักรีมาเป็นภาพประกอบแต่อย่างใด (นำออกใช้ช่วง พ.ศ. 2521 – 2524)

ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบใหม่ (แบบ 16) มีขนาด และสีเช่นเดียวกับแบบที่ใช้ในปัจจุบัน (แบบ 15) โดยมีขนาด กว้าง 72 มิลลิเมตร ยาว 138 มิลลิเมตร และสีโดยรวมเป็นสีเขียว ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่สาคัญ ประกอบด้วย 
  1. ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และลายน้า ตัวเลขไทย “๒๐” ที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อส่องดูกับแสงสว่าง
  2. แถบสีเขียวที่ ฝังไว้ในเนื้อกระดาษธนบัตรตามแนวยืน ปรากฏให้เห็นเป็นระยะที่ด้านหลังธนบัตร สามารถเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วงแดงเมื่อเปลี่ยนมุมมอง
  3. ภาพซ้อนทับ ตัวเลข 20 พิมพ์แยกไว้บนด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่าง จะเห็นเป็นตัวเลข 20 ที่สมบูรณ์
  4. ลายพิมพ์นูน ที่ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งราคา เมื่อใช้ปลายนิ้วลูบสัมผัสจะรู้สึกสะดุด นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา เป็นรูปดอกไม้สีเขียวเข้มในแนวตั้ง 2 ดอก มาจากตัวเลข “2” ในอักษรเบรลล์
ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบใหม่นี้ สามารถแลกได้ที่สาขาธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ทั่วประเทศ สาหรับธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบันรวมทั้งแบบที่ใช้ก่อนหน้านี้ ยังคงชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...