วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

โรคภูมิแพ้ในเด็กที่พบ

มีหลายระบบที่ต้องทำความเข้าใจ

โรคภูมิแพ้ในเด็กเกิดขึ้นได้ในหลายระบบ ได้แก่
1) ระบบทางเดินหายใจ
เช่น ป่วยเป็นหวัดเรื้อรัง
เป็นหอบหืด

2) ระบบทางเดินอาหาร
คือการแพ้อาหาร
โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก
ส่วนมากจะแพ้อาหาร
ประเภทไข่และนม
ทำให้มีอาการอาเจียน
ท้องเดิน ดูดซึมอาหารไม่ได้
ร่างกายไม่เติบโต

3) ระบบผิวหนัง
เป็นผื่นตามหน้า
แขนขา ตามร่างกาย
ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ

4) ภูมิแพ้ชนิดรุนแรง
มีผื่นทั่วตัว ความดันโลหิตตก
มีโอการช็อกเสียชีวิตได้
หรือมีอาการหอบ หายใจไม่ออก
แล้วเสียชีวิต ในเด็กมักเกิดจาก
แพ้อาหารเป็นส่วนใหญ่
อาหารที่ทำให้แพ้รุนแรง เช่น
นมวัว ไข่ แป้งสาลี ถั่วลิสง
หรืออาหารทะเล

ที่มา  :  รศ.พญ.พรรณทิพา  ฉัตรชาตรี
แหล่งที่มา : Line chulahospital

ไข่ไก่กับไข่เป็ด อะไรมีดีกว่ากัน

ไข่ไก่ 1 ฟอง ไข่เป็น 1 ฟอง
ให้พลังงาน 71  กิโลแคลอรี่ ให้พลังงาน 130  กิโลแคลอรี่
โปรตีน 6 กรัม โปรตีน 9 กรัม
วิตามินเอ 244 IU วิตามินเอ 472 IU
วิตามินบี 12 ไมโครกรัม วิตามินบี 3.8 ไมโครกรัม
คอเลสเตอรอล 211 มิลลิกรัม คอเลสเตอรอล 619 มิลลิกรัม

ข้อดี-ข้อเสียระหว่างไข่ไก่กับไข่เป็ด
ไข่เป็ดมีแคลอรีสูงกว่าไข่ไก่
เพราะมีขนาดใหญ่กว่า
และมีส่วนของไข่แดงมากกว่า

ไข่เป็ดจึงมีโปรตีนสูงกว่าไข่ไก่เฃ็กน้อย

ไข่เป็ดมีธาตุเหล็กมากกว่าไข่ไก่ราว 3 เท่า

ไข่เป็ดมีวิตามินเอสูงกว่า
จากแคโรทีนอยด์ในไข่แดง
ส่งผลให้ไข่แดงมีสีเข้มสดกว่า

วิตามินบี12 พบได้มากกว่าในไข่เป็ดราว 6 เท่า

ไข่เป็ดมีคอเลสเตอรอล
สูงกว่าไข่ไก่ราว 3 เท่า

ไข่เป็ดมีสีแดงสวยกว่าไข่ไก่
ไข่ขาวเนื้อแน่น เหมาะนำมา
ทำไข่ต้ม ไข่พะโล้
แต่มีกลิ่นคาวกว่า
จึงไม่เหมาะนำมาทำไข่ลวก

ไข่ไก่และไข่เป็ด
มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป
หากใครที่มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอลสูง
ไข่ไก่จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

แต่หากอยากได้อาหารสีสวย
และต้องการสารอาหารครบถ้วน
ไข่เป็ดจะตอบโจทย์มากกว่า
ถ้าเทียบกันฟองต่อฟอง

ที่มา : เพจ PleasehealthBooks

4 โรคต้องระวังฤดูฝน

1) โรคไข้หวัดใหญ่
มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว
ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ

2) โรคมือ เท้า ปาก
มีไข้ อาเจียน กินได้น้อย
มีผื่นแดงในปาก
มีตุ่มใสที่งฝ่ามือและฝ่าเท้า

3) โรคไข้เลือดออก
มีไข้สูง ปวดเมื่อย
ปวดศีรษะ อาเจียน
กินได้น้อย

4) โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
จากเชื้ออาร์เอสวี
คัดจมูก น้ำมูกไหล
มีเสมหะมาก หายใจเร็วและแรง
กินได้น้อย ซึม

วิธีป้องกันการติดเชื้อ
- ล้างมือให้สะอาด

- ไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยฃ

- กินอาหารถูกสุขลักษณะ

- สวมหน้ากากอนามัย

ที่มา : ผศ.ดร.นพ.นพพร  อภิวัฒนากุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา : Line Ramathibodi

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

"ตับอักเสบ" ภัยคุกคามใกล้ตัว ที่ควรระวัง!

ตับอักเสบ
คือภาวะที่ตับเกิดการอักเสบจากสาเหตุอะไรก็ตาม
มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
หากการอักเสบของตับไม่หายไปและเป็นแบบเรื้อรัง
จะเกิดพังผืดหรือแผลเป็นในเนื้อตับ เมื่อเป็นมากขึ้น
จนกระจายทั่วทั้งตับ เรียกว่า ภาวะตับแข็ง
และมีโอกาสสูงที่จะมีมะเร็งตับแทรกซ้อนขึ้น

ตับอักเสบมี 2 ประเภท
- ตับอักเสบเฉียบพลัน
คือ ตับอักเสบที่เกิดขึ้นจาก
สาเหตุใดก็ตาม
ทีการอักเสบหายได้เอง
ในระยะ 6 เดือน

- ตับอักเสบเรื้อรัง
คือ ตับอักเสบจากสาเหตุใดก็ตาม
ที่ไม่หายเองภายใน 6 เดือน
และมักไม่มีอาการบ่งบอก จนกว่าจะถึง
ระยะสุดท้ายของโรค หรือตับวาย

แนะนำให้ตรวจเลือดดูค่าการอักเสบของตับ
ตรวจคัดกรองไวรัสตับเอกเสบ บี และซี
เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่แอบซ่อนอยู่
หรือรู้เท่าทันโรคก่อนจะลุกลาม

ที่มา  :  ผศ.ดร.นพ.ปิยะวัฒน์  โกมลมิศร์
แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ไขมันทรานส์ก่อการร้าย

ไขมันทรานส์ มี 2 ประเภท

1) น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน
แปรสภาพจากน้ำมันเหลวเป็นของกึ่งแข็งกึ่งเหลว
เรียกว่า partially hydrogenated oil (PHO)
เก็บได้นาน ไม่เหม็นหืน ทนความร้อนสูง
กระทรวงสาธารณสุขห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย

2) ไขมันทรานส์ที่พบในอาหารจากสัตว์
ได้แก่ นม ชีส โยเกิร์ต ไม่พบข้อมูลทางการแพทย์
ว่ามีผลเสียต่อสุขภาพ

ดูฉลากโภชนาการบอกไขมันทรานส์ได้
- คำว่าไขมันทรานส์ 0 กรัม
แสดงว่ามีไขมันทรานส์น้อยกว่า
0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโรค
- ส่วนประกอบอาหารมีคำว่า
partially hydrogenated

เสี่ยงต่อการเป็นโรค
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวาน
- โรคมะเร็ง
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

วิธีลดความเสี่ยงไขมันทรานส์
- เสี่ยงอาหารมัน ทอด หรือเบเกอรี่
- ใช้น้ำมันพืชที่ไม่มีไข เช่น
น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง
น้ำมันคาโนลา หรือน้ำมันมะกอก

ที่มา : ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์  วโรดมวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา : Line Ramathibodi

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สมุนไพรไทยดี

1. ขมิ้นชัน
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

2. เหลืองปิดสมุทร
แก้ท้องเสีย

3. เพชรสังฆาต
แก้ริดสีดวงทวาร

4. ฟ้าทะลายโจร
แก้หวัด เจ็บคอ

5. มะแว้ง
แก้ไอ มีเสมหะ

6. เถาวัลย์เปรียง
แก้ปวดกล้ามเนื้อ

7. ไพล
แก้ฟกช้ำ เคล็ดยอด

ที่มา  :  ผศ.นพ.พิสนธิ์  จงตระกูล
แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สูตรถนอมดวงตา 20-20-20

เมื่อต้องดูจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ

เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดี
ทุกๆ 20 นาที

            ผ่อนคลายดวงตา
            เป็นเวลา 20 วินาที

                       มองไปไกลๆ
                              20 ฟุต

ที่มา : รศ.พญ.เกวลิน  เลขานนท์ ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา : Line Ramathibodi

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

โรคตาแดง

โรคระบาดช่วงหน้าฝน

โรคตาแดงเป็นการอักเสบของเยื่อบุตาขาว
ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายรวดเร็ว
และทำให้เกิดอาการขึ้นอย่างเฉียบพลัน

การติดต่อ
- เกิดโดยตรงจากการสัมผัส
- การใช้ของร่วมกัน
- การไอหรือหายใจรดกัน

การรักษา
- ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ
- ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษา
โดยการให้ยาปฏิชีวนะ
หยอดตาและป้ายตา
เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
- หากเจ็บตาให้รับประทานยาแก้ปวด
พาราเซตามอล
- ถ้าเคืองตาให้ใส่แว่นกันแดด
ไม่ควรปิดตาและไม่จำเป็นต้องล้างตา
- พักผ่อนและพักการใช้สายตา

ที่มา :  รศ.พญ.วิลาวัณย์  พวงศรีเจริญ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

มะเร็งท่อน้ำดี

พบมากสุดในภาคอีสาน
เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต
ด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับต้นๆ
ของประเทศไทย

ปัจจัยเสี่ยง
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
จากการกินอาหารสุกๆ ดิบๆ
โดยเฉพาะปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด
เช่น ก้อยปลา, ปลาส้ม, ปลาร้าที่ไม่สุก

ประวัติบุคคลในครอบครัว
เป็นมะเร็งท่อน้ำดี

ภาวะท่อน้ำดี
อักเสบเรื้อรัง

การสูบบุหรี่
และดื่มแอลกอฮอล์

ความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีแต่กำหนด
เช่น โรคซีสต์ของท่อทางเดินน้ำดี

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ตับแข็ง
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
เบาหวาน

การป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ
เลือกกินเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน
เพื่อป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ

2. หากได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
ต้องทำการรักษาอย่างสม่ำเสมอจนหายขาด
และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

4. หากมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
หรือบีตับแข็ง ควรพบแพทย์เพื่อรักษา
และตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ

5. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ
ของตนเอง หากพบความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์

ที่มา :  อ.ดร.พญ.รุ่งฤดี  ชัยธีรกิจ

แหล่งที่มา : Line chulahospital

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาคลายเส้น

ยาที่นิยมใช้
- Orphenadrine
- Tolperisone
- Eperisone
- Baclofen

คุณสมบัติ
บรรเทาอาการปวด ตึง หด ของกล้ามเนื้อจาก
- การออกกำลังกาย
- การวางท่าทางไม่ถูกต้อง
- การอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน

ผลข้างเคียง
- มึนงง ง่วงซึม
- ท้องผูก
- ปากและคอแห้ง

ข้อแนะนำ
- ผู้ที่ทำงานกับเครื่องจักร ขับรถหรืองานที่ใช้สมาธิสูง
ควรระมัดระวังในการใช้ยา เพราะอาจมีอาการง่วงซึม
- หากลืมกินยาตามเวลา ให้กินทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา
- หากไม่มีอาการปวด ให้หยุดยาได้ โดยไม่จำเป็นต้องกินต่อเนื่อง
- ไม่มีข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
และห้ามใช้ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ที่มา : ภญ.ปานทิพย์  จันทมา งานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา : Line Ramathibodi

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

7 นิสัยที่ทำให้ยากจน ถึงแม้ว่าเงินเดือนจะสูงก็ตาม

เคยสังเกตมั้ยว่า มองคนรอบๆ ตัวเราบางคนมีตำแหน่งสูง
เป็นถึงผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการต่างๆ
ที่มีเงินเดือนใกล้แตะหลักแสนแล้ว
แต่ก็ยังคงใช้เงินเดือนชนเดือนอยู่ แถมยังมีภาระหนี้สินมากมาย
สงสัยกันบ้างมั้ย ว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น !?

1. พอได้เงินเดือนเพิ่ม ก็หาภาระมาใส่ตัว

เป็นรึเปล่าที่เมื่อพอเงินเดือนขึ้น ก็หาห้องเช่าใหม่
ดีกว่าเดิม แพงขึ้นอีกนิด
พอสิ้นปีโบนัสออกพร้อมปรับเงินเดือน
ก็เอาไปดาวน์รถคันที่แพงขึ้น

คนเราส่วนใหญ่จะคิดว่าเมื่อมีเงินก้อนจากโบนัส
หรือเมื่อมีเงินเดือนเพิ่มขึ้น
ก็รู้สึกว่าอยากจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ก็ใช้จ่ายมากขึ้น เข้าภัตตาคารบ่อยขึ้น
ซื้อของแบรนด์ดังเกรดดีขึ้น
ดังนั้น ไม่ว่าจะมีเงินเท่าไหร่ก็หมด

2. อยู่กับปัจจุบัน แต่ไม่มองอนาคต

หลายคนเวลาเจอปัญหาอะไร ยากๆ
ก็ไม่อยากแก้ ปล่อยได้ปล่อยไป ถูไถไปวันๆ
และนี่คือ “สูตรแห่งความหายนะ”เลย
เพราะนิสัยนี้จะติดไปสู่เรื่องของ “การเงิน” ไปด้วย

บางทีอยากได้อะไรก็ซื้อๆ หมุนๆ ใช้เงินไปก่อน
ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน
แต่ไม่ได้มองภาพใหญ่/ ภาพรวม
มองไม่ออกว่าตอนนี้ “สถานะการเงิน” ของเราเป็นยังไง
เรามีทรัพย์สินเท่าไหร่ หนี้สินเท่าไหร่ เงินสดเท่าไหร่
(ถ้าเป็นบริษัทก็คืองบดุล)

ไม่รู้ว่าทุกวันนี้รายได้น้อยกว่ารายจ่ายหรือเปล่า
ชักเงินเก็บออกมาอุดทุกเดือนแล้วทำไม่รู้ไม่ชี้
(ถ้าเป็นบริษัทก็คืองบกำไรขาดทุน)

ไม่ว่าเราอายุเท่าไหร่ ต่อให้เพิ่งเรียนจบก็ตาม
ต้องมองเห็นภาพแล้วว่า ตอนเกษียณ
ตอนที่ไม่มีรายได้หรือไม่ได้ทำงาน เราต้องมีรายได้เท่าไหร่
(รายได้จากการลงทุน หรือรายได้จากการที่ไม่ต้องทำงานอีกแล้ว)

แล้วรายได้จะมาจากไหน
ถ้าเป็นรายได้จากผลตอบแทนของการลงทุน
ก็ต้องรู้ว่าเป็นการลงทุนประเภทไหน
อัตราผลตอบแทนเท่าไหร่
ต้องมีเงินต้นหรือ Port ใหญ่แค่ไหน
แล้วจากวันนี้ไปถึงวันนั้นจะสะสมเงิน
เพื่อสร้าง Port การลงทุนขนาดนั้นได้ยังไง !?

3. คิดว่าวันนี้ยังไม่ต้องรีบออมเงิน

คิดว่ายังไม่สาย อีกแปปค่อยเริ่มเก็บเงินก็ได้
เราอายุยังน้อย สนุกๆ ไปก่อน
เดี๋ยวอีกสักพักค่อยเริ่มมอง
เรื่องการออมเงินหรือการลงทุน

นี่เป็นการที่คิดผิดถนัด และสิ่งที่หลายคนไม่รู้ก็คือ
การเริ่มออมเร็วกว่าคนอื่นแค่ 5 ปี
ตอนปลายทางคุณจะมีเงินเก็บต่างกันลิบลับ
เพราะด้วยพลังของดอกเบี้ยทบต้น

ถึงแม้จะไม่ได้เป็นการเก็บออมเพื่อการลงทุน
แต่นิสัยการออมก็เป็นสิ่งที่ดี ที่ถูกต้องคือ
ถ้าเราอยากได้อะไร เราควรวางแผนตั้งเป้า
ออมเงินไว้ให้ได้เท่านั้นก่อนค่อยเอาไปซื้อ
แบบนี้จะไม่มีภาระ

แต่ถึงแม้จะซื้อแบบผ่อน ก็สามารถทำให้หนี้นี้
เป็นการผ่อนที่ฉลาดได้ เช่น ออมเงินก้อนไปลงทุน
แล้วเอาดอกเบี้ยไปผ่อนชำระสินค้า
เท่ากับได้ของฟรี และเงินต้นก็ยังอยู่

4. ไม่เคยจดบันทึกเรื่องการใช้เงิน

เราส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเรารู้แล้ว
ก็มีรายได้อยู่แหล่งเดียว (เงินเดือน)
แล้วแต่ละเดือนก็มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
เรื่องใหญ่ๆ ก็มีไม่กี่เรื่อง ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน/ ค่าห้อง
ค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่าอาหาร หลักๆ ก็แค่นี้
ไม่เห็นต้องจดบันทึกเลย หรือจะจำไปทำไม

ซึ่งนั่นคิดผิดถนัด เพราะบางทีเรื่องเล็กๆ
หลายเรื่องรวมกันทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ควรจะประหยัดได้
แต่ก็ไม่ได้ทำ (เพราะมันเล็กๆ น้อยๆ จนไม่รู้ตัว)
แล้วสุดท้ายจะพบว่า “เงินไปไหนหมดเนี่ย”
แต่ก็ตอบไม่ได้ แล้วจะประหยัดตรงไหนดี
ก็ตอบไม่ได้เช่นกัน

5. แยกไม่ออกว่าอะไรจำเป็น อะไรแค่อยาก 
แถมยังไม่มีเป้าหมายทางการเงิน
บางทีมันก็สับสนปนเป บางเรื่องเป็นแค่ความอยาก
แต่คิดว่ามันเป็นเรื่องจำเป็น

เอ้อ...ช่วงนี้รถเสียบ่อย
‘จำเป็น’ ต้องเปลี่ยนแล้วหละ
เอ้อ... มือถือรุ่นใหม่ออกมา
‘จำเป็น’ ต้องเปลี่ยนแล้วหละ

feature ใหม่ในนั้นจะทำให้เรา
ทำงานคล่องตัวขึ้นแน่เลย (คิดไปเอง)

แล้วเป้าหมายทางการเงินล่ะ เกี่ยวอะไรกับข้อนี้
ก็เพราะบางทีคนส่วนใหญ่ไม่มีเป้าหมายทางการเงินกันไง
ก็ทำให้ไม่มีอะไรฉุดรั้งความคิดเลยว่า
เอ... อันนี้เอาไว้ก่อนดีกว่า เราต้องกันเงินอีกส่วนไว้ลงทุน
เอ...อันนี้ยังไม่จำเป็น ยอมลงทุนซ่อมใหญ่ครั้งนึงแล้ว
ใช้ไปได้อีกนานๆ ดีกว่า

เคล็ดลับของข้อนี้ก็คือ
ถ้าเรามีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน
เราจะสามารถอดเปรี้ยวไว้กินหวานได้
เราจะยับยั้งชั่งใจเป็น
หลีกเลี่ยงและรอดพ้นจากความต้องการ
หรือความพึงพอใจระยะสั้นไปได้
เราจะยอมเสียสละบางอย่าง..เพราะมองเป็นเป้าที่อยู่ไกลๆ

เคล็ดลับของเคล็ดลับในการวางแผนการเงิน
(และวางเป้าหมายในชีวิต) ก็คือ “เขียนมันลงบนกระดาษ”
แล้วแปะไว้หน้ากระจกแต่งตัว หรือหน้าตู้เสื้อผ้า

เอาเป็นว่าแปะไว้ในที่ที่เราเห็นมันทุกวัน มันจะย้ำเตือน
และตอกย้ำลงไปในจิตใต้สำนึกให้ร่างกาย
และสมองของเราตอบสนองต่อเฉพาะ
สิ่งที่จะนำพาไปสู่เป้าหมายนี้เท่านั้น

6. มีหนี้ไม่รีบใช้

ถือว่ายังผ่อนไหว หรือผ่อนไปตามระยะเวลาที่ตั้งไว้
เคยลองสังเกตใบเสร็จรับเงินค่างวดผ่อนบ้านหรือเปล่า
ว่าค่าดอกเบี้ยน่ะ..มันแพงกว่าเงินต้นซะอีก
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นๆ ของการผ่อน)

และเกือบจะร้อยทั้งร้อย ตราบใดที่ยังมีเงินเดือนอยู่
ก็จะผ่อนชำระไปเรื่อยๆ เวลามีเงินก้อนมา
เช่นโบนัส แทนที่จะเอาไปโปะ เอาไปปิด
ก็เอาไปซื้อของฟุ้งเฟ้อซะแทน
ปล่อยให้ดอกเบี้ยมันกัดกินอยู่นั่นแหละ ไม่สนใจ

7. อัพเกรดอุปกรณ์รอบกายตลอดเวลา

ผู้หญิงบางคน อุ๊ย..แฟชั่นใหม่ออกมาอีกแล้ว ต้องตาม !
แบบนี้ไม่เหลือหรอก พนักงานใน office
มือถือรุ่นใหม่ออกเป็นไม่ได้
ต้องขวนขวายไป “ถอย” มันมา

อ้างว่าชอบเทคโนโลยี ชอบศึกษา
คุณต้องให้ความชอบของเรามันทำเงินได้บ้าง
ไม่ใช่ให้ความชอบทำให้เสียเงินอย่างเดียว

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อันตรายมากเรื่องหนึ่งเลย
เพราะทุกวันนี้การพัฒนาเทคโนโลยีทำได้เร็วมาก
อุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ ออกรุ่นใหม่กันเป็นว่าเล่น
มันเป็นความตั้งใจของผู้ผลิต / ผู้ขาย
ที่จะมาดูดเงินออกไปจากกระเป๋าพวกเรา

ถ้าเราไม่ระมัดระวังละก็...
กลับไปอ่านหัวข้อบทความอีกครั้ง... ก็จนอยู่ดี

#MoneyBuffalo
#การเงินเรื่องง่ายอ่านสบายใครก็เข้าใจ

แหล่งที่มา  : Line MoneyBuffalo

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...