วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

โปรดอ่าน....เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

1. ในแต่ละปี... จงทำชีวิตให้ " ดีขึ้น "
    เพราะในแต่ละวัน... ชีวิตกำลัง " สั้นลง "

2. การ " อยู่กับปัจจุบัน "
    ไม่ใช่การ " หยุดทำ " ในเรื่องสำคัญ
    แต่มันคือการ " หยุดทุกข์ " ไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ

3. อารมณ์ " ลบ " ทุกชนิด จะทำร้ายเรา
    ก่อนที่จะทำร้ายคนอื่นเสมอ...
    ส่วนอารมณ์ " บวก " ทุกชนิด จะให้พรเรา
    ก่อนที่จะให้พรคนอื่นเสมอ เช่นกัน...

4. วิจารณ์คนอื่นทุกวัน... ใจต่ำลงทุกวัน
    วิจัยตัวเองทุกวัน... ใจสูงขึ้นทุกวัน

5. ถ้าไม่มีคนมาทำให้คุณโกรธ
    ... คุณจะไม่รู้เลยว่าระดับจิตคุณอยู่ตรงไหน
    ถ้าไม่มีใครมาทำให้คุณทุกข์ใจ
    ... คุณจะไม่รู้เลยว่าตัวเองยังมีอะไรต้องพัฒนา

6. ไม่ว่า " ภายนอก " เราจะอยู่กับคนมากแค่ไหน
    แต่ " ภายใน " เรายังอยู่ตัวคนเดียวเสมอ
    จงหาวิธี " รักตัวเอง " ให้เจอ
    เพราะไม่มีใครในโลกนี้ที่จะอยู่กับเธอ
    สม่ำเสมอเท่ากับ " ตัวเธอเอง "

7. การฝึกจิตและพัฒนาตัวเอง
    อาจไม่ทำให้เรา " พ้นทุกข์ตลอดกาล "
    แต่มันทำให้เรา " เป็นทุกข์นานน้อยลง "

8. การ " แก้กรรม " ที่ดีที่สุด
    คือการแก้ไข " ความคิด " " คำพูด "
    และ " การกระทำ " ของตัวเอง

9. ความดีเล็ก ๆ ที่ทำไปนาน ๆ
    สุดท้ายอาจสร้าง " ปาฏิหารย์ " ให้ชีวิต

10." ไป " ได้เร็วแค่ไหน ก็ถึงเร็วเท่านั้น...
    " ปล่อย " ได้เร็วแค่ไหน ก็สุขเร็วเท่านั้น

11. จำไว้ว่า " ความทุกข์ "
    และ" ความเจ็บปวด " ทั้งมวล
    ไม่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตเรา... เพื่อมอบ " คำสาป "
    แต่มันผ่านเข้ามาในชีวิตเรา... เพื่อมอบ " คำสอน "

12. ก้าวแรกของการใช้ชีวิตอย่าง " ผู้ตื่น "
    คือการหยุดยุ่งวุ่นวายเรื่อง " คนอื่น"
    แล้วหันกลับมาวิเคราะห์ใจ " ตัวเอง "

13. ความทุกข์ทั้งหมดในชีวิต ไม่ได้เกิดจาก
    " สิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับคุณ "
    แต่มันเกิดจาก
    " สิ่งที่คุณคิด ว่าคนอื่นคิดเกี่ยวกับคุณ "

14. ต้องขอบคุณคนที่ทำ " ไม่ดี "
    ที่ช่วยเป็นตัวอย่างที่ " ดี "
    ว่าอะไร " ไม่ควรทำ "

15. ไม่ว่าจะทุกข์หนักหนาสาหัสสักแค่ไหน
    ทางออกก็ไม่เคยอยู่ไกลไปกว่า " ใจ " ของเราเอง...
   
16. เกลียดเขา " เราทุกข์ "
    เมตตาเขา " เราสุขเอง "

17. คนเราฝึกเดินจนเก่งได้ ฉันใด
    ก็สามารถฝึกใจจนเป็นสุขได้ ฉันนั้น...

18. " ความตาย " เป็นเรื่องธรรมดา
    แต่การได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า
    เป็นเรื่อง" อัศจรรย์ "

19. โปรดสังเกตุดูให้ดี...  ว่าสิ่งที่ทำให้เราทุกข์
    บ่อยที่สุดในแต่ละวัน
    ไม่ใช่ " พฤติกรรม " ของคนอื่น
    แต่คือ " ความคิด" ของเราเอง

20. อย่าถือโทษ โกรธคน ไม่คู่ควร
    อย่าตีตรวน ตนไว้ กับอดีต
    ชะตาเรา อย่าให้ใคร มาเขียนขีด
    อย่าเอาคำ ที่เหมือนมีด มากรีดใจ   
    ( แถมให้อีกหนึ่งอัน ! )

21. หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า เพราะมี " เงิน "
    วันไหนเงินหมด คุณค่าคุณก็หมด
    หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า เพราะ " หน้าตา " ดี
    วันไหนคุณแก่ลง จนหน้าตาไม่ดี คุณค่าคุณก็หมด
    แต่ตราบใดที่คุณรู้ว่าตัวเองมีค่า เพราะเป็น "่ คนดี "
    ตราบใดที่คุณมีความดี
    คุณก็จะ " มีคุณค่า "ได้ตลอดไป

แหล่งที่มา  ข้อมูลจาก Line

วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตรุษจีนนี้ "กินดีต่อสุขภาพ"

การเลือกเนื้อสัตว์ที่สุกแล้ว
ตรวจสอบว่าสุกทั่วทั้งชิ้น หากนำมาปรุงอาหาร ควรนึ่งหรือต้มแทนการผัดหรือทอดเพื่อลดการบริหารไขมัน

การเลือกเนื้อสัตว์อาหารสด
เลือกเนื้อสีแดงสด เนื้อแน่น ไม่ช้ำ ไม่เหม็น ไม่มีเม็ดสีขาวใสคล้ายเม็ดสาคู เพราะเป็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด

ควรปักธูปในกระถางแยกต่างหาก
เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนบนอาหาร

ระมัดระวังอาหารที่มีสีฉูดฉาด
เช่น กุยช่ายสีชมพู สีที่ใช้แต้มขนมเปี๊ยะ อาจมีโลหะหนักผสมอยู่ เช่น สารตะกั่ว สารหนู ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และโลหิตจาง

สังเกตวันหมดอายุให้ชัดเจน
หากอาหารมีกลิ่นหรือรสชาติเปลี่ยนไป ไม่ควรเก็บไว้

ที่มา  : อ.นพ.ธเนศ  แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Line : Ramathibodi

ไขปัญหาคาใจเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า

Q : บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยหรือไม่?
A : ควันจากบุหรี่ไฟฟ้า ประกอบด้วยไอจากสาร propylene glycol และ glycerin และพบว่ามีสารปนเปื้อนจำพวกโลหะหนักบางชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง และพบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ จะมีนิโคตินเป็นส่วนผสม ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อภาวะหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะเสพติด และยังพบว่ามีสารเคมีอื่นๆ ที่ผสมเพื่อการปรุงแต่รสชาด ไม่มีข้อมูลยืนยันว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในระยะยาวมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่ย่อมมีโอกาสให้ผู้ใช้ได้รับสารดังกล่าว และเพิ่มโอกาสที่จะมีผลเสียทางสุขภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า

Q : บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เลิกสูบบุหรี่จริงได้?
A : พบผู้ที่เลิกบุหรี่สำเร็จโดยการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยมีจำนวนน้อยมาก ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะสามารถทำให้ผู้สูบเลิกสูบบุหรี่ได้มากกว่าด้วยวิธีมาตรฐาน อีกทั้งมีผู้สูบส่วนหนึ่งใช้บุหรี่ทั้งสองชนิดควบคู่กัน เนื่องจากมีตัวช่วยในการสูบบุหรี่ได้มากขึ้น เช่น ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในที่ห้ามสูบบุหรี่ ดังนั้น ในปัจจุบันผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ ควรปรึกษาคลิกนิกที่ช่วยการเลิกบุหรี่ หรือโทร quit line 1600

ที่มา : รศ.นพ.ฉันชาย  สิทธิพันธุ์

แหล่งที่มา  line : chulahospital

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ไขข้อข้องใจ "ทำไมช่องคลอดถึงมีกลิ่น?"

สาเหตุที่พบบ่อย
  • ระคายเคืองหรือแพ้สารบางอย่าง
  • มีความอับชื้นมากเกินไป
  • ติดเชื้อแบคทีเรียหรือโปรโตซัว
  • มีเนื้องอกที่ปากมดลูก
  • เป็นมะเร็งปากมดลูก

การป้องกันและดูแลตนเอง
  • รักษาความสะดวกอยู่เสมอ ใช้สบู่สำหรับบริเวณภายนอกเท่านั้น
  • อย่าปล่อยให้อับชื้น
  • ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมง
  • ไม่สวนล้างช่องคลอดเพราะจะทำลายแบคทีเรียดี (แล็กโทบาซิลลิส) ในช่องคลอด แล้วจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

การรักษา
พบแพทย์เพื่อตรวจภายใน หาสาเหตุและรักษาให้ตรงจุด หากพบว่าเกิดจากการติดเชื้อจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

ที่มา : อ.พญ.สุวิชา  จิตติถาวร ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา  line : chulahospital

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

"มะเร็งลำไส้ใหญ่" ภัยร้ายที่ป้องกันได้

1. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำให้เพียงพอ
2. ควรรับการตรวจคัดกรอง เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
    2.1 ในผู้ที่ไม่มีอาการ แต่มีอายุมากกว่า 50 ปี
    2.2 สำหรับผู้ที่มีประวัติครอบครัวควรเริ่มที่อายุ 40 ปี หรือที่อายุ 10 ปี ก่อนอายุของคนในครอบครัว
          ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
    2.3 ผู้ที่มีประวัติลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือมีญาติพี่น้องมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ ควรเริ่มตรวจเร็วขึ้นกว่าปกติ

กลุ่มเสี่ยง
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป เสี่ยงมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
  • คนที่มีประวัติคนในครอบครัวมีโอกาสเป็นมากกว่าคนไม่มี 2 เท่า
  • คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่
ติดต่อเพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้แล้ววันนี้ ที่คลินิกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อาคาร กปร ชั้น 6

ที่มา: อ.นพ.สุภกิจ  ขมวิลัย

แหล่งที่มา  line : chulahospital

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

โรคตับคั่งไขมัน (Fatty Liver Disease)

มักไม่แสดงอาการ ส่วนมากตรวจพบเมื่อค่าสภาวะตับในเลือดผิดปกติหรือตับอักเสบ

เกิดจาก
  1. ภาวะอ้วน หรืออ้วนลงพุง
  2. ไขมันสะสมอยู่ที่ตับ
  3. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  4. ผลข้างเคียงจากโรค เช่น เบาหวาน, มีถุงน้ำในรังไข่, เส้นเลือดหัวใจตีบ, ความดันเลือดสูง
  5. ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาคุมกำเนิด, ฮอร์โมน, ยารักษามะเร็งเต้านม
ไม่มียารักษา แต่มีวิธีป้องกัน
  1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  3. เลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันและงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. หากมีโรคประจำตัวควรปฏิบัติตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
ความเสี่ยง อาจเกิดภาวะตับแข็ง โดยใช้เวลา 10-15 ปี

ข้อมูลจาก อ.นพ.อัครวิทย์  พูลสมบัติ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา  line : chulahospital

มะเร็งปอดรอดได้ แค่หยุดสูบบุหรี่

มะเร็งปอด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในคนไทย พบบ่อยเป็นอันดับสองในเพศชาย เป็นอันดับสี่ในเพศหญิง

สาเหตุ  
  1. การรับสารก่อเกิดมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ที่พบบ่อย คือ ควันบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องทั้งผู้ที่สูบเอง หรือสูดควันบุหรี่จากคนรอบข้าง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลที่ไม่สูบอย่างชัดเจน
  2. มลพิษจากสิ่งแวดล้อมบางชนิด เช่น Asbestos (แร่ใยหิน) Radon ซึ่งเป็นสารกัมมนตภาพรังสีที่พบได้ในครัวเรือน
  3. กลุ่มเสี่ยงจากปัจจัยอื่น เช่น ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งของสมาชิกในครอบครัว
อาการ
  1. ไอเรือรัง เสมหะมีเลือด
  2. เหนื่อยหอบ
  3. อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดกระดูก ปวดศีรษะ หากมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น
  4. กลุ่มเสี่ยง หากไอต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เสมอ
การรักษา
ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 อย่างคือ ชนิดของมะเร็งปอด ขอบเขตการกระจายของโรค และสภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาตามความเหมาะสม แต่การรักษาที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค คือ การงดการสูบบุหรี่

แหล่งที่มา  line : chulahospital

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...