วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

"วัณโรค" ร้ายแรงแต่รักษาได้

เชื้อวัณโรค หรือ Tuberculosis (TB)
เป็นเชื้อแบคทีเรีย ติดต่อผ่านทางการหายใจ เชื้อที่ล่องลอยในอากาศ
เข้าไปภายในปอด และต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด อาจมีการแพร่กระจาย
ทางเลือด หรือระบบน้ำเหลือง และอาจส่งผลกระทบต่ออวัยะอื่นๆ
ได้ทั่วร่างกาย ที่พบบ่อย คือ วัณโรคปอด

อาการ
- ไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์
- ไอมีเสมหะ หรือไอแห้ง
หรือมีอาการไอเป็นเลือด
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
-มีไข้ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน

การวินิจฉัย
ส่งเสมหะตรวจหาเชื้อวัณโรค
ร่วมกับถ่ายเอกซเรย์ปอด

การรักษา
วัณโรคสามารถรักษาได้หายขาด
แต่จะกลับเป็นซ้ำได้ถ้ากินยาไม่ครบ
ตามที่แพทย์สั่ง และต้องรักษานานอย่างน้อย
6 เดือน เพื่อลดโอกาสดื้อยาและเป็นซ้ำ

ห้ามหยุดยาโดยเด็ดขาด!

ยกเว้นเกิดอาการข้างเคียงรุนแรง
เช่น คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง มีอาการตัวเหลือง
ตาเหลือง หรือมีผื่นขึ้นรุงแรงทั่วตัว เป็นต้น
ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

ที่มา: ผศ.นพ.กำพล  สุวรรณพิมพสกุล

แหล่งที่มา : Line ChulalongkornHospital

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ

อาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า
- เบื่ออาอาหาร
- มีไข้ เจ็บคอ
- อ่อนเพลีย
- คันที่แผล
- กลัวแสง กลัวน้ำ
- ปวดท้องน้อย
- กล้ามเนื้อขากระตุก
- แน่นหน้าอก
- ชัก เกร็ง
- อัมพาต หมดสติ
- เสียชีวิตในที่สุด

ทำอย่างไรเมื่อถูกกัด
- ล้างแผลด้วยน้ำ ให้ลึกถึงกันแผล
และฟอกด้วยสบู่หลายๆ ครั้ง

- เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

- รีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์
ประเมินการให้วัคซีนและอิมมูโนโกลบูลิน

- อาจให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักและให้ยาปฏิชีวนะ

- กักขังสัตว์ที่กัด สังเกตอาการอย่างน้อย 10 วัน
หากไม่มีอาการผิดปกติ แสดงว่าไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า

ปัจจุบันไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้
ทำได้เพียงการรักษาแบบประคับประคอง มีโอกาสเสียชีวิตเกือบทุกราย


ที่มา : ศ.พญ.ศศิโสภิณ  เกียรติบูรณกุล
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา  :  Line Ramathibodi

ไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น

โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้่อโปรโตซัวพลาสโมเดียม
ยุงก้นปล่องตัวเมียเป็นพาหะ

อาการ 
จะแสดงใน 10 - 14 วัน
มีอาการนำไม่จำเพาะคือ
ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดหัว ปวดเมื่อย
ต่อมาจะมีอาการแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะหนาว
หนาวสั่น ตัวซีด

ระยะร้อน
ไข้สูง ตัวร้อน
หน้าแดง กระหายน้ำ
อาจคลื่นไส้ และอาเจียน

ระยะเหงื่อออก
เหงื่อออกชุ่ม อ่อนเพลีย ร่างกายค่อยๆ เย็นลง


บางรายอาจเป็นรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น
มาลาเรียขึ้นสมอง มีอาการซึมหรือชัก

การวินิจฉัย
ตรวจเลือดหาเชื้อจากเลือด
ด้วยกล้องจุลทรรศน์
หรือใช้ชุดตรวจหาเชื้อ

การรักษา
การรักษาจำเพาะคือ
ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย
ซึ่งมีหลายขนาน
การเลือกยาโดยแพทย์
ขึ้นกับชนิดของเชื้อ การดื้อยา
ระยะของโรคและความรุนแรงของโรค

การป้องกัน
- ระวังไม่ให้ยุงกัด
โดยเฉพาะช่วงกลางคืน

- ทายากันยุงหรือจุดยากันยุง

- สวมเสื้อผ้ามิดชิดหรือใส่เสื้อผ้าสีอ่อน

- ใช้ดินหรือทรายกลบแหล่งน้ำขัง
ป้องกันวางไข่

- ปล่อยปลาในแหล่งน้ำเพื่อกินลูกน้ำ

- นอนในมุ้ง

ที่มา : ศ.พญ.ศศิโสภิณ  เกียรติบูรณกุล
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา  :  Line Ramathibodi

จำไว้สิ่งที่อวัยวะเรากลัว

- กระเพาะ กลัว...เย็น
- ปอด กลัว...ควัน
- หัวใจ กลัว...เค็ม
- ตับ กลัว...มัน
- ม้าม กลัว...กินมาก ดื่มมากเกิน
- ลำไส้ กลัว...กินมั่ว ดื่มมาก
- ตา กลัว...มือถือคอมพิวเตอร์
- สมอง กลัว...ไม่กินข้าวเช้า

เพราะว่า...อะไหล่แพงมาก
และไม่มีของแท้จากโรงงานให้เปลี่ยน

แหล่งที่มา  share ใน Line

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ

- ไม่กด ขยี้ดวงตาแรง

- ไม่ใช้สายตาหนักเกินไป
หากเมื่อยล้าดวงตา
ก็ให้กลอกตาไปมา
แต่ไม่แนะนำให้กดหรือนวด

- ไม่ควรซื้ออาหารเสริมมารับประทานสุ่มสี่สุ่มห้า

- สังเกตการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาสั้น
สายตาเอียง ภายใน 1 ปี
โดยค่าไม่ควรเกิน 50 - 100
หากผิดสังเกตก็ควรมาพบจักษุแพทย์
เพื่อรักษาให้เร็วที่สุด

ดูแลอย่างไรไม่ให้เป็น "โรคกระจกตาโก่ง"

หากมีอาการที่สังสัยว่าเป็นโรคกระจกตาโก่ง
ควรรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง
เพื่อรักการดูแลรักษาก่อนสายเกินแก้

ที่มา  :  รศ.พญ. งามจิตต์  เกษตรสุวรรณ

แหล่งที่มา : Line Chulahospital

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

5 อันดับสุดยอดอาหารเค็ม

1) กุ้งแห้ง 100 กรัม
ปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 3,240 มิลลิกรัม

2) ปลาอินทรีย์เค็ม 10 กรัม
ปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 3,200 มิลลิกรัม

3) ต้มยำปลากระป๋อง 100 กรัม
ปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 3,000 มิลลิกรัม

4) น้ำพริกกะปิ 1 ถ้วย
ปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 2,250 มิลลิกรัม

5) ส้มตำปู 100 กรัม
ปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 2,000 มิลลิกรัม

ใน 1 วัน ไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่าน้ำปลาประมาณ 4 ช้อนชา
หากเกินความจำเป็น อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น โรคไต โรคหัวใจ
โรคความดันเลือดสูง และโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน

ที่มา : ผศ.นพ.สุรศักดิ์  กันตชูเวสศิริ สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา  Line Ramathibodi

เคล็ด(ไม่)ลับ การนอนหลับที่ดี ช่วยให้ชีวิตมีสุข

1) รักษาเวลาตื่นนอนให้สม่ำเสมอ
ทั้งในวันทำงานและวันหยุด

2) ถ้าไม่สามารถหลับได้ภายใน 20 นาที
ให้ลุกออกจากเตียงนอน แล้วทำกิจกรรมที่คุณรู้สึกผ่อนคลาย

3) ใช้ห้องนอน 
สำหรับการนอนหลับ มีเพศสัมพันธ์ และยามที่คุณป่วยเท่านั้น

4) รักษาตารางเวลา
ในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้สม่ำเสมอ

5) ทำกิจกรรมที่ช่วยให้คุณผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ

6) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

7) หลีกเลี่ยงการงีบช่วงกลางวัน

8) ห้ามดื่มแอลกฮอล์ภายใน 6 ชั่วโมงก่อนนอน
เพราะจะกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับของคุณ

9) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือสารที่มีนิโคตินก่อนนอน

10) หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักก่อนนอน

11) หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนภายใน 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

12) ใช้ยานอนหลับอย่างระมัดระวัง

แจ้งแพทย์หากมีอาการเกี่ยวกับการหายใจผิดปกติขณะหลับ 
เช่น นอนกรน หรือหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะหลับ

ที่มา : รศ.นพ.ณัฐพงษ์  เจียมจริยธรรม

แหล่งที่มา  Line chulahospital

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัญญาณเตือนภัย โรคไตอันตราย

  1. การเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อยตลอดกลางคืน ปัสสาวะออกน้อยลง เป็นต้น
  2. มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะขัด สะดุดหรือมีเศษนิ่วปนออกมา
  3. ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อหรือปัสสาวะเป็นฟอง
  4. การบวมของใบหน้า ลำตัว ขา และเท้า
  5. อาการปวดบั้นเอว หรือบริเวณสีข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่อยู่กลางหลัง)
  6. ตรวจพบความดันโลหิตสูง
หากพบสัญญาณเตือนภัยข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อ รีบไปพบแพทย์
เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที
เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะร้ายแรงได้

ที่มา : ศ.นพ. เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์

แหล่งที่มา : chulahospital line

เล่นมือถือมากไป เสี่ยงเป็นสมาร์ทโฟนซินโดรม

สมาร์ทโฟนซินโดรมคืออะไร มาทำความรู้จักไปพร้อมๆกัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/yCFccrgNZtg



แหล่งที่มา : chulahospital line

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

ทดสอบกันไหม...คุณได้ยินระดับไหน?

ระดับการได้ยิน ระดับความสามารถในการได้ยิน
ปกติ 0-25 เดซิเบล ไม่ลำบากในการรับฟังเสียงพูด
หูตึงเล็กน้อย
26-40 เดซิเบล
ไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ
หูตึงปานกลาง
41-55 เดซิเบล
เข้าใจคำพูดระดับความดังปกติในระยะ 3-5 ฟุต
หูตึงมาก
56-70 เดซิเบล
ต้องพูดเสียงดังจึงจะเข้าใจ และมีความลำบากในการฟังขณะอยู่ในที่ที่มีเสียงจอแจ
หูตึงรุนแรง
71-90 เดซิเบล
อาจได้ยินเสียงตะโกนในระยะ 1 ฟุต แต่ไม่เข้าใจ
หูหนวก
91 เดซิเบลขึนไป
ไม่ได้ยินแม้เสียงดังมากๆ

40 - 60 เดซิเบล คือ เสียงพูดในระดับปกติ

ความสามารถในการได้ยินของหูทั้ง 2 ข้างอาจไม่เท่ากัน
ดังนั้น หากมีระดับหูตึงปานกลางขึ้นไป
ควรพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษา

ที่มา : อาจารย์สุวิมล  รื่นเจริญ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งที่มา  :  Line Ramathibodi

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...