- เงินได้สุทธิ 0-300,000 บาท อัตราภาษี 5%
- เงินได้สุทธิ 300,001 ถึง 500,000 บาท อัตราภาษี 10%
- เงินได้สุทธิ 500,001 ถึง 750,000 บาท อัตราภาษี 15%
- เงินได้สุทธิ 750,001 ถึง 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
- เงินได้สุทธิ 1,000,001 ถึง 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%
- เงินได้สุทธิ 2,000,001 ถึง4,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
- เงินได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%
สรุป
- มองในรูปอัตราส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของภาษีที่ลดลงนั้น ผู้มีรายได้น้อย จะได้ส่วนลดในสัดส่วนที่สูงกว่า
- มองในรูปตัวเงิน ที่เป็นเม็ดเงินที่ลดหย่อนได้จริงๆ ผู้ที่เสียที่ฐานภาษีสูงกว่า ได้รับประโยชน์เป็นจำนวนเงินเยอะกว่า
จะมองว่าใครได้ประโยชน์มากกว่า ก็มีสองทางคือในมุมของตัวเงิน หรือ % ที่ลดลงเมื่อเทียบกับฐานภาษีเก่า แต่โดยรวมบุคคลธรรมดา ทุกคนในระบบได้ประโยชน์ทั้งหมด
คำถาม : สรรพากรจัดเก็บรายได้ภาษีน้อยลง แล้วจะไปชดเชยด้วยวิธีใด
คำตอบ : ไปขึ้น VAT แทน โดยใช้สมมติฐานว่า เมื่อคนจ่ายภาษีลดลง ก็มีอำนาจจับจ่ายใช้สอยมากกว่า ก็เอาไปซื้อสินค้า ซึ่งการขึ้น VAT ก็จะมาชดเชยรายได้ที่ลดลงจากการเสียภาษีบุคคลธรรมดานั้นเอง
สุดท้าย ถ้ามาดูโครงสร้างผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดา จากประชากรทั้งประเทศ 65.4 ล้านคน จะพบว่า ผู้ที่เสียภาษีจริงๆ มีแค่ 2 ล้าน กับอีก 3 หมื่นคน หรือคิดเป็น 3.1% ของประชากรทั้งระบบ
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบ