เรียกชื่อคลองชักพระ ถ้าไม่ใช่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่คงไม่รู้จักกัน แต่ถ้าบอกว่าตลาดน้ำตลิ่งชัน มั่นใจว่าคนกรุงเกือบทุกคนพยักหน้ารับ รู้จักแน่ๆ
จากประวัติคลองชักพระ หรือคลองบางขุนศรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่สมเด็จพระไชยราชาธิราช (กษัตริย์พระองค์ที่ 13 แห่งกรุงศรีอยุธยา) โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดใน พ.ศ. 2065
เลี่ยงเส้นทางเดิมที่ต้องอ้อมหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคุ้งกว้างวกกลับมาช้างวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ในปัจจุบัน)
เมื่อคลองลัดขยายตัวกว้างขึ้นเป็นแม่น้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็แบ่งกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองบางกอกใหญ่ และคลองชักพระ โดยคลองชักพระแยกจากคลองบางกอกน้อยบริเวณวัดสุวรรณคีรี ไปเชื่อมบริเวณที่คลองมอญตัดกับคลองบางกอกใหญ่
ชื่อคลองชักพระมีที่มาจากชาวบ้านสมัยก่อน มีประเพณีชักพระในทุกวันแรก 2 ค่ำ เดือน 12 โดยจะลากเรือประดิษฐานพระพุทธรูปจากวัดนางชีบริเวณวัด
แหล่งที่มา นสพ. M2F วันจันทร์ที่ 24 พ.ย. 55 (296)
ใครที่เคยเดินล่องท่องเที่ยวย่านตลาดน้ำตลิ่งชันคงสงสัยว่า เจ้าตลาดน้ำที่ว่านี้อยู่ริมคลองแห่งหนตำบลใด ขอบอกตรงนี้เลยว่าคือ คลองชักพระ หรือ คลองบางขุนศรี
เป็นคลองเก่าแก่ที่ถูกชุดขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา หวังให้เป็นคลองลัดย่นระยะทางในการอำนวยความสะดวกต่อบรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขาย และเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรไทย
คลองชักพระกำเนิดจากการไหลแยกจากคลองบางกอกน้อย บริเวณวัดสุวรรณคีรีไปเชื่อมกับคลองมอญ ตัดกับคลองบางกอกใหญ่
ลำคลองกว้างประมาณ 10-15 ม. และความยาว 5.45 กม. ทุกๆ วันแรก 2 ค่ำ เดือนสิบสองจะมีประเพณีชักพระ โดยเรือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะถูกชักลากจากวัดนางชี คลองภาษีเจริญ ผ่านคลองชักพระและคลองบางกอกน้อยออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
แล้วอ้อมมาเข้าคลองบางกอกใหญ่กลับไปที่วัดนางชีตามเดิม ซึ่งนับเป็นงานประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพฯ และเป็นที่มาของชื่อคลองแห่งนี้
ปัจจุบันคลองชักพระเป็นคลองเพื่อการระบายน้ำ การสัญจร การท่องเที่ยว และมีคลองอื่นๆ ไหลเชื่อมกัน ได้แก่ คลองบ้านไทร คลองบางระมาด และคลองบางพรม อีกทั้งยังเป็นแนวแบ่งเขตบางกอกน้อยกับเขตตลิ่งชันตลอดทั้งสายด้วย
แหล่งที่มา นสพ. M2F วันอังคารที่ 24 ก.ย. 56 (480)
จากประวัติคลองชักพระ หรือคลองบางขุนศรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่สมเด็จพระไชยราชาธิราช (กษัตริย์พระองค์ที่ 13 แห่งกรุงศรีอยุธยา) โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดใน พ.ศ. 2065
เลี่ยงเส้นทางเดิมที่ต้องอ้อมหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคุ้งกว้างวกกลับมาช้างวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ในปัจจุบัน)
เมื่อคลองลัดขยายตัวกว้างขึ้นเป็นแม่น้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็แบ่งกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองบางกอกใหญ่ และคลองชักพระ โดยคลองชักพระแยกจากคลองบางกอกน้อยบริเวณวัดสุวรรณคีรี ไปเชื่อมบริเวณที่คลองมอญตัดกับคลองบางกอกใหญ่
ชื่อคลองชักพระมีที่มาจากชาวบ้านสมัยก่อน มีประเพณีชักพระในทุกวันแรก 2 ค่ำ เดือน 12 โดยจะลากเรือประดิษฐานพระพุทธรูปจากวัดนางชีบริเวณวัด
แหล่งที่มา นสพ. M2F วันจันทร์ที่ 24 พ.ย. 55 (296)
ใครที่เคยเดินล่องท่องเที่ยวย่านตลาดน้ำตลิ่งชันคงสงสัยว่า เจ้าตลาดน้ำที่ว่านี้อยู่ริมคลองแห่งหนตำบลใด ขอบอกตรงนี้เลยว่าคือ คลองชักพระ หรือ คลองบางขุนศรี
เป็นคลองเก่าแก่ที่ถูกชุดขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา หวังให้เป็นคลองลัดย่นระยะทางในการอำนวยความสะดวกต่อบรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขาย และเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรไทย
คลองชักพระกำเนิดจากการไหลแยกจากคลองบางกอกน้อย บริเวณวัดสุวรรณคีรีไปเชื่อมกับคลองมอญ ตัดกับคลองบางกอกใหญ่
ลำคลองกว้างประมาณ 10-15 ม. และความยาว 5.45 กม. ทุกๆ วันแรก 2 ค่ำ เดือนสิบสองจะมีประเพณีชักพระ โดยเรือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะถูกชักลากจากวัดนางชี คลองภาษีเจริญ ผ่านคลองชักพระและคลองบางกอกน้อยออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
แล้วอ้อมมาเข้าคลองบางกอกใหญ่กลับไปที่วัดนางชีตามเดิม ซึ่งนับเป็นงานประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพฯ และเป็นที่มาของชื่อคลองแห่งนี้
ปัจจุบันคลองชักพระเป็นคลองเพื่อการระบายน้ำ การสัญจร การท่องเที่ยว และมีคลองอื่นๆ ไหลเชื่อมกัน ได้แก่ คลองบ้านไทร คลองบางระมาด และคลองบางพรม อีกทั้งยังเป็นแนวแบ่งเขตบางกอกน้อยกับเขตตลิ่งชันตลอดทั้งสายด้วย
แหล่งที่มา นสพ. M2F วันอังคารที่ 24 ก.ย. 56 (480)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น