วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงการคลินิกภาษี


ประเภทภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี 5 ประเภท ได้แก่

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย เช่น มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศ การให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับก่อนหักรายจ่ายจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
  4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง แทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การค้าอสังหาริมทรัพย์
  5. อากรแสตมป์ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น สัญญาจ้าง สัญญากู้ยืมเงิน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คือ ภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปีจากบุคคลทั่วไป วิสาหกิจชุมชนที่ไม่ได้มีการรวมกลุ่มเป็นนิติบุคคล คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ และมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด



ภาษีเงินได้นิติบุคคล
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งที่จดและไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้


ภาษีมูลค่าเพิ่ม
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคล ซึ่งมีรายได้หรือยอดขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ และต้องชำระภาษีเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

กรมสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดี มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ

ภาษีศุลกากร
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีนำเข้าเรียกว่า "อากรขาเข้า" และในกรณีส่งออกเรียกว่า "อากรขาออก" โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ำหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่จะต้อง "ชำระอากรขาออก" เพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ไม้ และหนังโค-กระบือ นอกนั้นอัตราอากรเป็น 0% ทั้งหมด ส่วน "อากรขาเข้า" จัดเก็บตามพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรได้นำระบบฮาร์โมไนซ์มาใช้ในการจัดหมวดหมู่ของสินค้า โดยแบ่งย่อยเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย คือแบ่งเป็น 21 หมวด 91 ตอน แต่ละตอนจะประกอบด้วยประเภทและประเภทย่อยแตกต่างกัน ซึ่งการระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์จะกำหนดเป็นเลข 10 หลัก โดยที่ 7 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก ส่วนเลข 3 หลักหลัง เป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ


แหล่งที่มา   เว็บไซต์คลีนิคภาษี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...