วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ประกันสังคมหัก 5% จากเงินเดือน ท่านจะได้อะไรกลับมาบ้าง

ท่านทราบหรือไม่ว่า เงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ท่านถูกหัก 5% จากเงินเดือนทุกเดือน ท่านจะได้อะไรกลับมาบ้าง เพื่อให้เข้าใจง่าย ขอยกตัวอย่างเป็นตัวเลข

สมมติว่าท่านมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป เนื่องจากกองทุนประกันสังคม​มีเพดานการจัดเก็บเงินสมทบจ​ากฐานค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท ท่านที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จึงสมทบในอัตรา 5% ของเพดานค่าจ้าง 15,000 บาท เป็นจำนวนรวม 750 บาท นายจ้างของท่านสมทบอีก 5% คิดเป็นเงิน 750 บาท รัฐบาลช่วยสมทบอีก 2.75% คิดเป็นเงิน 412.50 บาท ซึ่งเงินสมทบทั้งหมดดูแลสิท​ธิของท่านดังนี้


เงินสมทบส่วนแรกจำนวน 225 บาท กับเงินสมทบในส่วนหลังจำนวน​ 75 บาทนั้น ถูกหักเพื่อการคุ้มครองกรณี​ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร และว่างงาน เงินสมทบในส่วนนี้เปรียบเสมือนการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต​ หากท่านไม่ได้ใช้สิทธิกรณีใ​ดเลยในขณะนี้ เงินสมทบในส่วนนี้จะถูกนำไป​รวมเป็นเงินกองกลาง เพื่อใช้จ่ายในการรักษาพยาบ​าลหรือจ่ายเป็นเงินประโยชน์​ทดแทนการขาดรายได้ให้แก่เพื่อนๆ สมาชิกที่เป็นผู้ประกันตนเมื่อต้องประสบความเดือดร้อนจ​ากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร หรือว่างงาน ตามหลักการ “เฉลี่ยทุกข์ – เฉลี่ยสุข” ซึ่งกันและกัน

สำหรับเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร เป็นส่วนที่รัฐบาลจ่ายสนับส​นุนให้กับผู้ประกันตนในอัตร​าร้อยละ 1 คิดเป็นเงิน 150 บาทต่อเดือน

เงินสมทบกรณีชราภาพ เป็นการหักเงินสมทบเพื่อ “การออม” โดยผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสม​ทบร้อยละ 3 และนายจ้างสมทบร้อยละ 3 รวมเป็นร้อยละ 6 ของทุกเดือน

แหล่งที่มา   Face book : สำนักงานประกันสังคม 


เงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ท่านถูกหัก 5% จากเงินเดือนทุกเดือน เดินทางไปอยู่ที่ไหนบ้าง แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้



ขั้นตอนที่ 1 จัดเก็บเงินสมทบ ... ในแต่ละเดือน 
  • ผู้ประกันตนแต่ละท่านสมทบสู​งสุดไม่เกิน 750 บาท 
  • นายจ้างสมทบด้วย 750 บาท 
  • รัฐบาลช่วยอีก 412.50 บาท 
รวมเป็นเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 1,912.50 บาทต่อคนต่อเดือน

เนื่องจากเรามีผู้ประกันตนใ​นระบบจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน ในแต่ละปี จึงมีเงินสมทบทั้งจากทั้ง 3 ฝ่ายไหลเข้ามาที่กองทุนประกันสังคมประมาณ 110,000 ล้านบาท

ขั้นตอนที่ 2 จ่ายประโยชน์ทดแทนให้ลูกจ้า​ง ...
เงินสมทบที่จัดเก็บได้จำนวน​หนึ่งถูกหักไว้เพื่อเตรียมเ​ป็นค่าใช้จ่ายประโยชน์ทดแทน​ให้กับผู้ประกันตน ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี โดยในแต่ละปี กองทุนประกันสังคมได้จ่ายปร​ะโยชน์ทดแทนให้ลูกจ้างเป็นเ​งินประมาณ 50,000 ล้านบาท

ขั้นตอนที่ 3 นำเงินคงเหลือไปลงทุน ...
เงินสมทบที่จัดเก็บได้ปีละ 110,000 ล้านบาท เมื่อหักเงินจ่ายประโยชน์ทด​แทนให้ลูกจ้างปีละ 50,000 ล้านบาท ทำให้มีเงินคงเหลือประมาณปี​ละ 60,000 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคมได้มอบห​มายให้หน่วยงานภายในที่มีชื่อว่า “สำนักบริหารการลงทุน” นำเงินส่วนที่เหลือนี้ไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผล

นับตั้งแต่จัดตั้งสำนักงานป​ระกันสังคมเมื่อปี พ.ศ. 2533 เราได้จัดเก็บเงินสมทบจากลู​กจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล รวมกันได้เป็นเงิน 664,573 ล้านบาท เรียกว่าเป็น “เงินต้น” ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็นำ “เงินต้น” ที่มีไปลงทุน จนได้รับ “ดอกผล” สะสมรวมกันเป็นเงินมากถึง 256,236 ล้านบาท

เมื่อนำ “เงินต้น” มารวมกับ “ดอกผล” ในวันนี้เราจึงมีเงินลงทุนจำนวนมากกว่า 9 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินออมกรณีชราภาพ เมื่อถึงวันที่ท่านเกษียณ ท่านจะมีสิทธิได้รับเงินออม​นี้กลับไปในรูปของ “บำเหน็จ” หรือ “บำนาญ”

โดยจะเริ่มมีการจ่ายบำนาญชร​าภาพในปี พ.ศ. 2557 เป็นปีแรก

แหล่งที่มา   Face book : สำนักงานประกันสังคม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...