- 3% เป็นเงินออมกรณีชราภาพ
- นายจ้างช่วยสมทบอีก 3% รวมเป็น 6%
เงินออมดังกล่าวถูกสะสมไว้กับกองทุนประกันสังคม ผู้ประกันตนจะได้รับคืนเป็นประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเมื่อ
- อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือตาย หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ
- สมทบตามระยะเวลาที่กำหนด (เริ่มนับตั้งแต่วันที่กองทุนกรณีชราภาพก่อตั้งขึ้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2541) แบ่งเป็น 3 แบบ ดังนี้
- สมทบไม่ครบ 12 เดือน มีสิทธิได้รับเงิน “บำเหน็จ” ซึ่งเป็นเงินก้อน จำนวนเท่ากับเงินสมทบส่วนที่ท่านสมทบจริงกลับคืนไป เช่น ท่านที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งสมทบเดือนละ 450 บาท หากสมทบเป็นเวลา 10 เดือน ก็จะได้รับบำเหน็จจำนวน 450 x 10 = 4,500 บาท
- สมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน สิทธิได้รับเงิน“บำเหน็จ” ซึ่งเป็นเงินก้อน จำนวนเท่ากับเงินสมทบส่วนที่ท่านและนายจ้างสมทบกลับคืนไปบวกดอกผลจากการลงทุน เช่น ท่านที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไปและสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพเป็นเวลา 10 ปี ท่านจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จเป็นเงินประมาณ (450 x 2) x 12 เดือน x 10 ปี = 108,000 บาท ที่ใช้คำว่าประมาณเพราะท่านจะได้รับเงินบำเหน็จมากกว่านี้หากรวมดอกผลจากการลงทุน
- สมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (เทียบเท่ากับ 15 ปี) ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม สิทธิได้รับเงิน “บำนาญ” จ่ายเป็นรายเดือนและได้รับไปตลอดชีวิต เงินบำนาญที่ได้รับคำนวณตามสูตรเท่ากับ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และทุกๆ 1 ปีที่สมทบเพิ่ม (คือตั้งแต่ปีที่ 16 เป็นต้นไป) ท่านจะได้รับโบนัสส่วนเพิ่ม เท่ากับ 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย เช่น ท่านที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไปและสมทบเป็นเวลา 30 ปี จะได้รับบำนาญจำนวน (15,000 x 20%) + (15,000 x 15 ปีที่สมทบเพิ่ม x 1.5%) = 3,000 + 3,375 = 6,375 บาทต่อเดือน
ถ้าอยากรู้ว่า เกษียณแล้วจะได้บำนาญเดือนละกี่บาท ดูวิธีการคำนวณดังนี้
ท่านผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบเงินที่ออมไว้กับกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพได้ที่ www.sso.go.th ซึ่งท่านต้องลงทะเบียนก่อน
แหล่งที่มา Face book : สำนักงานประกันสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น