วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Google Logo : ครบรอบวันเกิด 127 ปี Niels Bohr



วันนี้เป็นวันครบรอบ 127 ปีของ นีลส์ บอร์ (Niels Bohr) นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีชื่อดัง ผู้มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าไม่มีเขา เราจะไม่มีทางรู้จักอะตอมซึ่งจะนำไปสู่การสร้างระเบิดปรมาณูช่วยหยุดสงครามโลกได้อย่างแน่นอน

นีลส์ บอร์ หรือ นีลส์ เฮนริค เดวิด นีลส์ บอร์ (Niels Henrick David Bohr) เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1885 (พ.ศ. 2428) ที่กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก พ่อของเขาชื่อว่า คริสเตียน นีลส์ บอร์ เป็นศาสตราจารย์ทางสรีรวิทยา ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ส่วนแม่คือ อัลเลน นีลส์ บอร์ เป็นบุตรสาวของคหบดีที่มั่งคั่งแห่งเมือง ซึ่งการที่นีลส์ บอร์เกิดมาในตระกูลของผู้ที่มีความรู้และมั่งคั่ง จึงทำให้เขามีโอกาสได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี หลังจากที่เขาจบการศึกษาเบื้องต้นในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) นีลส์ บอร์ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน และเขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ มากมายหลายเรื่อง

นีลส์ บอร์ เริ่มการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) เกี่ยวกับเรื่องความตึงของผิวน้ำ และจากผลงานชิ้นนี้นีลส์ บอร์ได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติเดนมาร์ก ต่อมาในปี ค.ศ.1911 (พ.ศ.2454) เกี่ยวกับเรื่องอิเล็กตรอนของโลหะ เพื่อจัดทำเป็นวิทยานิพนธ์สำหรับปริญญาเอก ซึ่งเขาก็ประสบความสำเร็จได้รับปริญญาเอกในสาขาวิชาฟิสิกส์สมใจ

หลังจากที่เขาได้รับปริญญาเอกแล้ว นีลส์ บอร์ได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ เขาได้ทำการทดลองค้นคว้าร่วมกับเออร์เนสรัทเธอร์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในเรื่ององค์ประกอบของอะตอม จำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนในธาตุแต่ละชนิด และในตารางธาตุทั้งหมดแต่ละอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งโดยรอบ และโปรตอนหนึ่งโปรตอนมีประจุไฟฟ้า ในธาตุใดก็ตามแกนกลางของธาตุยังมีจำนวนโปรตอนเหมือนกันทั้งสิ้น และจำนวนอะตอมเหล่านี้ เรียกว่า จำนวนอะตอมของธาตุ และธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากที่สุด คือ ธาตุยูเรเนียม แต่ไม่ทันที่จะก้าวหน้าไปมากกว่านี้รัทเธอร์ฟอร์ดก็เสียชีวิตไปก่อนการค้นคว้าครั้งนี้ก็นับว่ามีประโยชน์อย่างมากมหาศาลแล้ว หลังจากนั้นเขาจึงได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่ประเทศเดนมาร์ก พร้อมกับภรรยามากาเร็ต ฮอร์แลนด์ ที่เพิ่งแต่งงานกันได้ไม่นาน

หลังจากที่นีลส์ บอร์เดินทางถึงบ้านในปี ค.ศ.1913 (พ.ศ.2456) เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์วิชาฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน และต่อมาในปี ค.ศ.1920 (พ.ศ.2463) นีลส์ บอร์ได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าทฤษฎีฟิสิกส์ ในมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน นอกจากนี้เขายังได้รับการสนับสนุนด้านการเงินในการค้นคว้าทดลองอีกด้วยในปี ค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) นีลส์ บอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากผลงานทฤษฎีอะตอมแนวใหม่ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการค้นคว้าด้านอะตอมในเวลาต่อมา และในปีเดียวกัน เขาได้เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า โครงสร้างของอะตอมและการแผ่รังสี (The Theory of Spectra and Atomic Constitution) โดยเขาได้อธิบายว่า "โครงสร้างของอะตอมก็เช่นเดียวกันกับโครงสร้างของระบบสุริยจักรวาล คือระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ส่วนอะตอมมีนิวเคลียสเป็นศูนย์กลาง ส่วนอิเล็กตรอนก็หมุนรอบนิวเคลียส เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ที่ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์"
          ในปลายปี ค.ศ.1938 (พ.ศ.2481) นีลส์ บอร์ ได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อพบกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เพื่อต้องการปรึกษาหารือ และทำการทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งไอน์สไตน์ก็เห็นดีด้วย ทั้งสองจึงร่วมมือกันทำการทดลองขึ้นที่ห้องทดลองในมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน แต่การทดลองของทั้งสองก็เป็นอันยุติลงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็เป็นโอกาสดีในทางหนึ่งเนื่องจากในเดือนมกราคม ค.ศ.1939 (พ.ศ.2482) ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์อพยพมาจากยุโรปซึ่งเป็นศูนย์กลางสงครามเข้ามาในประเทศอเมริกาจำนวนมาก ในระหว่างนี้นีลส์ บอร์ได้ เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์ฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เมืองนิวยอร์ค ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทำให้นีลส์ บอร์มีโอกาสได้เผยแพร่ผลงานที่เขาเพิ่งค้นพบให้กับนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้มีโอกาสได้รับรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการแตกตัวของอะตอม ซึ่งเป็นการแตกตัวของอะตอมของยูเรเนียม และทฤษฎีนี้เองได้ถูกนำไปใช้ในการสร้างระเบิดปรมาณู

แต่ผลเสียที่ร้ายแรงตามมาก็คือ มีผู้เสียชีวิตจากระเบิดปรมาณู 2 ลูกที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิที่ญี่ปุ่น เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวนมากกว่า 2 แสนคน และเสียชีวิตภายหลังอีกจากโรคมะเร็งกว่า 200,000 คน

หลังจากที่นีลส์ บอร์ประสบความล้มเหลวจากการหยุดยั้งระเบิด เขาได้เดินทางกลับประเทศเดนมาร์ก และได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพลังงานปรมาณูแห่งเดนมาร์ก ซึ่งเขาได้พยายามหยุดยั้งการใช้ระเบิดปรมาณูเพื่อการทำลายล้างทุกวิธีทาง จนในที่สุดความพยายามของเขาก็สัมฤทธิ์ผล ในปี ค.ศ.1955 (พ.ศ.2498) การประชุมเรื่องปรมาณูว่าด้วยเรื่องการควบคุมการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติและสร้างสรรค์ มิใช่เพื่อการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ด้วยกันครั้งแรกเกิดขึ้นที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจากความพยายามครั้งนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลปรมาณูเพื่อสันติภาพ (Atom for Peace Award) จากหอวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นจำนวนเงิน 75,000 เหรียญ ในปี ค.ศ.1957 (พ.ศ.2500) ซึ่งนีลส์ บอร์ถือเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...