วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทำไมหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% หรือ 5%

การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน
ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งในส่วนนี้คิดว่าทางผู้รับจ้างก็คงยังไม่ทราบว่าเป็นการหักภาษีไว้ จึงคิดว่า!!! นี่มันจ่ายเงินไม่ครบนี่ คิดจะโกงกันหรือไง

ดังนั้น จะขออนุญาตอธิบายและคุยถึงความหมายของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ว่ามันคืออะไร?

- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย - 
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจะต้องหักออกจากเงินได้ก่อนจ่ายให้แก่ผู้รับทุกคราว หรือเป็นจำนวนเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนผู้มีเงินได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนดและนำส่งแล้ว ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ผู้เสียภาษีได้รับ และเป็นเครดิตภาษีของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในการคำนวณภาษีที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี

สรุปให้ฟังง่ายๆ ว่า  ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  คือ ภาษีที่ทางกฏหมายกำหนดให้หักไว้ล่วงหน้าจากเงินได้ที่ได้รับ และสามารถนำไปขอเครดิตเพื่อหักจากยอดภาษีที่ต้องจ่ายจริงในทุกๆ ปี โดยที่ทางผู้จ่ายเงินได้จะมีหลักฐานที่เรียกว่าหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ไว้เป็นหลักฐาน


- ตัวอย่างของการเครดิตภาษี - 
ถ้าหากเรามีภาษีที่ต้องเสียทั้งหมดในปี จำนวน 15,000 บาท แต่เรามีภาษีหัก ณ ที่่จ่ายไว้แล้วจำนวน 10,000 บาท แปลว่าในปีนั้นเราจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมแค่เพียง 15,000 - 10,000 = 5,000 บาทเท่านั้นเอง

- ทำไมถึงจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วย - 
การหักภาษี ณ ทีจ่ายนั้น มีวัตถุประสงค์หลักๆ อยู่ 4 ข้อ ดังนี้
  1. บรรเทาภาระภาษี เนื่องจาก ภาษีเป็นเรื่องยิ่งใหญ่สำหรับคนทุกคน ดังนั้นทางรัฐจึงต้องบรรเทาภาษีที่เราจะต้องจ่ายโดยการหักไว้ล่วงหน้า (ตอนที่เราได้รับเงิน) เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในการชำระเงินครั้งละมากๆ ตอนสิ้นปี เพราะตอนนั้นเราอาจจะไม่มีเงินพอที่จะชำระนั่นเอง ลองคิดดูง่ายๆว่า ถ้าเราโดนนายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเดือนละ 1,000 บาท ทุกๆ เดือนกับเราต้องจ่ายภาษีทั้งจำนวน 12,000 บาท ในตอนสิ้นปีเลยทีเดียว แบบไหนจะโหดต่อเงินในกระเป๋ามากกว่ากัน :) 
  2. ให้รัฐมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ ข้อนี้น่าจะเป็นวัตถุประสงค์สำคัญที่สุดของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากทางรัฐเองต้องการรายได้อย่าสม่ำเสมอมา เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งการหักภาษี ณ ที่จ่ายก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งของการจัดเก็บภาษีของรัฐนั่นเอง
  3. สร้างความเป็นธรรมแก่ผู้มีเงินได้  บางคนบอกว่าเป็นธรรม บางคนก็อาจจะบ่นว่าไม่เป็นธรรม  
  4. ป้องกัน ปราบปราม การหลบเลี่ยงภาษี  เนื่องจากการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะทำให้ทางรัฐมีกลไกใช้ตรวจสอบข้อมูลของผู้ที่มีเงินได้จากการหัก ณ ที่จ่ายไว้ในระบบ และผู้จ้างส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็นคนที่อยู่ในระบบการหัก ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยนำส่งข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับรัฐอีกทางหนึ่ง 
 - การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยใช้คนอื่นเป็นผู้รับแทน - 
ทีนี้เราก็จะมาดูกันว่าที่ทางผู้รับจ้างได้นำชื่อคนอื่นมาเป็นผู้รับเงินแทนนั้น ผิดหรือไม่ผิดอย่างไรบ้าง ขอแยกออกเป็น 2 ประเด็น ระหว่าง การใช้ชื่อคนอื่นมาเป็นผู้รับเงินแทนนั้น มีผลกระทบอะไรบ้างสามารถทำได้หรือไม่

1. การใช้ชื่อคนอื่นมาเป็นผู้รับเงิน
สำหรับกรณีนี้จะมีผลกระทบหลักๆ ก็คือ ช่วยในการกระจายฐานรายได้ของผู้ที่มีเงินได้ เพื่อให้จ่ายภาษีลดลง

ลองสมมุติว่า น้องพอยมีเงินได้สุทธิทั้งปี (หลังหักค่าใช้จ่ายต่างและค่าลดหย่อนต่างๆ) เป็นจำนวน 5,000,000 บาท เมื่อมาดูอัตราภาษีที่น้องพอยจะต้องเสียแล้ว พบว่า


ถ้าคิดจากตารางการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แปลว่า น้องพอยจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงสุด คือ 37% ซึ่งเป็นอัตราภาษีแบบขั้นบันได (ยิ่งมีรายได้มาก ยิ่งเสียภาษีมาก) แต่ถ้าเกิดน้องพอย สามารถกระจายรายได้ให้กับคนอื่น อีกสัก 4 คน เช่น นายหมู นายเห็ด นายเป็ด นายไก่ ได้เท่าๆ กัน ก็แปลว่าทุกๆ คนจะมีเงินได้สุทธิคนละ 1,000,000 บาท ทำให้จากที่ต้องเสียภาษีในอัตราภาษี 37% เหลือเพียงแค่อัตราสูงสุดแค่ 20% เท่านั้น


เราลองมาดูตารางคำนวณเปรียบเทียบกันเลย จะเห็นได้ว่าถ้าเราสามารถกระจายรายได้ให้ผู้อื่นได้ ภาษีที่น้องพอยต้องชำระนั้น จะลดลงจาก 1,405,000 บาท เหลือเพียงแค่ 675,000 บาทเท่านั้น :)

2. การใช้ชื่อคนอื่นมาเป็นผู้รับเงินนั้น สามารถทำได้หรือไม่ 
คำตอบก็คือ สามารถทำได้ แต่ถ้าคำถามถามเพิ่มเติมว่าผิดกฎหมายหรือไม่ คำตอบก็คือผิดกฎหมายเพราะผู้ที่มีรายได้จริงๆ นั้นคือ น้องพอย ไม่ใช่ นายหมู นายเห็ด นายเป็ด นายไก่ ใช่ไหม ซึ่งการหลบเลี่ยงภาษี โดยเอาบัตรประชาชนคนอื่นมาหักภาษี ก็จะทำให้ทางสรรพากรไม่สามารถตรวจพบข้อมูลรายได้ของน้องพอยในฐานข้อมูลของกรมสรรพากรได้นั้นเอง

 - อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทำไมถึงแตกต่างกัน - 


โดยปกติแล้ว อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของเงินได้แต่ละประเภทก็จะมีหลักเกณฑ์และวิธีที่แตกต่างกันไปหลายๆ รูปแบบ ซึ่งอัตราภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายจริงที่น้องพอยต้องถูกหักไว้ก็คือร้อยละ 5 ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ข้อ 9 (2) ดังนี้

ข้อ 9 ให้บุคคล บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

(2) นักแสดงสาธารณะ

“(ก) กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา เว้นแต่นักแสดงสาธารณะที่เป็น นักแสดงภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ เฉพาะกรณีที่มีการดำเนินการถ่ายทำ ภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ในประเทศไทยโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำในประเทศไทยจากคณะอนุกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ว่าด้วยการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2544 หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0”

(ข) กรณีนอกจาก (ก) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0

โดยคำว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพหรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ”

โดยผลใช้ชื่อคนอื่นมารับเงินแทนนั้น ทำให้ทางผู้จ้างไม่สามารถหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ จึงต้องหักเป็นร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ข้อ 8 (1) แทน

ข้อ 8 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน เฉพาะที่เป็นค่าจ้างทำของ ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0

อ้างอิงที่มาคำสั่งของกรมสรรพากรจากลิงค์นี้
http://www.rd.go.th/publish/3479.0.html

 - บทสรุป - 
ถ้าหากเหตุการณ์เป็นเรื่องจริง จะมีความผิดฐานเลี่ยงภาษีโดยใช้ชื่อผู้อื่นรับเงินแทน ซึ่งผู้รับจ้างต้องนำรายได้ในส่วนนี้มาถือเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีสิ้นปี

วิธีการดังกล่าว ถือว่าเป็นเทคนิคการวางแผนภาษีได้หรือไม่ หรือใครๆ ก็ทำกัน ถือว่าเป็นเรื่องปกติในสังคมหรือเปล่า แล้วเราจะทำยังไงดี กรณีนี้น่าจะเป็นการเลี่ยงภาษี  ไม่ใช่การวางแผนภาษีที่ไม่ผิดกฎหมาย

ให้ลองอ่านความหมายของคำว่า การหนีภาษี การเลี่ยงภาษี การวางแผนภาษี ประกอบดูเพิ่มเติม คิดว่าน่าจะทำให้หลายๆ คนเข้าใจถึงความหมายของคำว่า การวางแผนภาษีได้ดียิ่งขึ้น

หนีภาษี VS เลี่ยงภาษี VS วางแผนภาษี
http://tax.bugnoms.com/tax/tax-evasion-planning-avoidance/

แหล่งที่มา   เว็บไซต์บล็อกภาษีข้างถนน 26 ส.ค. 2555

226 ความคิดเห็น:

  1. ขอสอบถามค่ะ ในกรณีที่เรามีใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หลายๆเดือนสามารถแล้วหักลดสิ้นปีได้หรือไม่ เพิ่งมีรายได้เกิน1,800,000บาทเป็นปีแรกเลยไม่ทราบการจ่าย

    ตอบลบ
  2. ตอบ คุณน้ำฝน มีโชค

    สำหรับผู้มีรายได้ในปีภาษีปัจจุบัน ก็นำใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายรวมยอดนำมาเป็นเครดิตภาษีของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในการคำนวณภาษีที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปีได้ค่ะ ดังตัวอย่างข้างบน และยกมาให้เห็นชัดๆ ข้างล่างนี้

    - ตัวอย่างของการเครดิตภาษี -
    ถ้าหากเรามีภาษีที่ต้องเสียทั้งหมดในปี จำนวน 15,000 บาท แต่เรามีภาษีหัก ณ ที่่จ่ายไว้แล้วจำนวน 10,000 บาท แปลว่าในปีนั้นเราจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมแค่เพียง 15,000 - 10,000 = 5,000 บาทเท่านั้นเอง

    ตอบลบ
  3. เอาบัตรประชาชนคนอื่นมารับแทน ให้กลับอีกคนหนึ่ง ผิดกฎหมายเปล่าครับ

    ตอบลบ
  4. ตอบ คุณโอ๊ะ บางสะแก23 มกราคม 2557 21 นาฬิกา 12 นาที 00 วินาที GMT+7

    ไม่เข้าใจประเด็นคำถาม หมายถึงอะไรค่ะ รับแทน??? ปกติการหักภาษี ณ ที่จ่ายผู้จ่ายก็น่าจะจ่ายกับผู้รับเงิน ซึ่งอาจจะโอนเข้าทางบัญชีของผู้นั้น หรือรับเงินสด ก็ต้องเป็นตนเอง หากจะมอบหมายให้คนอื่นมารับแทนก็น่าจะมีบัตรประชาชนของผู้รับจริง และ ผู้รับแทนมาประกอบ พร้อมหนังสือมอบอำนาจการมารับแทน

    ปกติ เงินเดือนมักจะเข้าบัญชีการรับแทนก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น

    ไม่ทราบมีผู้ใดจะให้ความรู้เพิ่มเติมก็ช่วย share ได้ที่นี่ เพื่อจะมีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  5. ถามหน่อยคร้า ถ้าเงินได้ เราไม่ถึง 150000บาทล่ะคร้า เราต้องโดนหักภาษีหรือป่าวคร้า

    ตอบลบ
  6. ตอบ คุณ Jammam Nanny30 มกราคม 2557 8 นาฬิกา 59 นาที 00 วินาที GMT+7

    การหักภาษี ณ ที่จ่าย ปกติเงินได้ 150,0000 บาท ก็น่าจะไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ต้องยื่นแบบด้วยค่ะ แม้จะไม่เสียภาษีก็ได้ตาม

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แต่ถ้าโดนหักจากภรรยาล่ะ โดยที่ภรรยาออกใบรับรองภาษีมาให้ด้วย อย่างงี้จะโดนเรียกเก็บภาษีเท่าใดคับ พอดีเพื่อนผมถามมา ผมจะได้บอกเพื่อนได้ถูกต้องคับ

      ลบ
    2. กรณี "คุณ Sittiwat Parnwipa" ภาษีที่ต้องจ่าย คงขึ้นอยู่กับภรรยาเป็นหลัก ไม่ใช่กรมสรรพากรคำนวณ

      ลบ
  7. เงินเดือน 12000บาท/เดือน เฉลี่ยแล้ว ใน 1 ปี รายได้ ก็ไม่ถึง 150000 แต่ทำไมต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 % ทุกเดือนด้วยคะ



    ตอบลบ
  8. ตอบ คุณ Supada butwong31 มกราคม 2557 16 นาฬิกา 58 นาที 00 วินาที GMT+7
    การหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินต้องหักไว้อยู่แล้ว แต่เมื่อยื่นแบบช่วงต้นปีก็สามารถเรียกคืนได้ แต่หากการหักภาษี ณ ที่จ่ายสูงไปหรืออย่างไร กรุณาติดต่อผู้จ่ายเงินถึงวิธีการหักว่าเป็นอย่างไร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แล้วกรณีที่เคยทำงานที่อื่นมาก่อนแต่ไม่ถูกหักภาษี แต่ทำที่นี่ถูกหัก ล่ะคะ แล้วก็เพื่อนที่ทำงานที่อื่นเงินเดือนเท่ากันไม่ถูกหักซักบาท ทำไมถึงเป็นแบบนั้นคะ

      ลบ
  9. ตอบ คุณ Supada butwong7 กุมภาพันธ์ 2557 14 นาฬิกา 09 นาที 00 วินาที GMT+7

    เราสามารถติดต่อกับผู้ที่ทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ว่าเขามีวิธีการคำนวณ หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ฯลฯ อย่างไร หากเรามีค่าลดหย่อนหลายอย่างเราสามารถยื่นขอหักเพิ่มเติมได้ แต่ให้ติดต่อสอบถามทางผุ้มีหน้าที่ดังกล่าว การคำนวณสุดท้ายอาจจะไม่ต้องภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลยก็ได้

    ไม่ทราบว่าที่ทำงานอื่น ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ปกติเขามีการยื่นกรมสรรพากรด้วยหรือไม่ เพราะถ้ามีแล้วไม่หัก อย่างไรตอนยื่นภาษีก็ต้องคำนวณว่าต้องเสียภาษีหรือไม่อยู่ดี ยกเว้นหน่วยงานนั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ยื่นภาษี

    ตอบลบ
  10. ถ้าเราเงินเดือน 10000บาทต่อเดือนแต่บริษัทยังไม่ได้ทำประกันสังคมให้ต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ค่ะ

    ตอบลบ
  11. เรียน คุณ nitararat panthana12 กุมภาพันธ์ 2557 9 นาฬิกา 17 นาที 00 วินาที GMT+7

    ถ้าดูจากฐานเงินเดือนแล้ว ไม่น่าจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย (หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนก็ไม่เสียภาษี) แต่หากหน่วยงานหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็สามารถเรียกคืนตอนปลายปีได้ค่ะ

    ตอบลบ
  12. เงินเดือนเท่าไหร่ ที่บริษัท ต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายคะ ในแต่ละเดือน

    ตอบลบ
  13. แล้วเบิกเงินมาแล้วเราเอาไปจ่ายค่าแรงคนงานหมดละคับ สรรพากรเค้าจะรู้ไม่คับ แล้วถ้าผมทำงานขาดทุนละ ผมอยากได้ภาษีคืนผมจะต้องทำไงคับ

    ตอบลบ
  14. เรียน คุณ ow main8 มีนาคม 2557 13 นาฬิกา 09 นาที 00 วินาที GMT+7

    ปกติ จากฐานภาษีใหม่ ก็น่าจะไม่เกิน 20,000 บาท แต่ทั้งนี้ให้ติดต่อผู้จ่ายเงินโดยตรงจะชัดเจนมากขึ้น

    ตอบลบ
  15. เรียน คุณ chudmix139 มีนาคม 2557 21 นาฬิกา 25 นาที 00 วินาที GMT+7

    ไม่เข้าใจในคำถาม กรุณาให้รายละเอียดที่ชัดเจนว่าต้องการประเด็นใด

    ตอบลบ
  16. เพิ่งทำงานได้ 3 เดือน ทาง บ. ได้ส่งแบบ ฟร์อมมา ต้องไปยื่นที่ไหนคะ หรือเก็บไว้ คือได้เงินเดือน 12500 บาท เป็นเงินรวมแล้ว150000 พอดี ไม่ต้องเสีย แล้วอย่างนี้สามารถเรียกคืนได้ไม๊คะ

    ตอบลบ
  17. เรียน คุณ ไม่ระบุชื่อ12 มีนาคม 2557 17 นาฬิกา 38 นาที 00 วินาที GMT+7

    ไม่เข้าใจในประเด็นคำถาม และ มีความขัดแย้งกัน เพราะบอกว่าเพิ่งทำงานได้ 3 เดือน แต่ได้รับหนังสือรับรองภาษีเป็นเงินได้ทั้งปี คือ 150,000 บาท จากยอดเงินเดือนๆ ละ 12,500 บาท สรุปแล้วอย่างไรกันแน่ เพราะยอดเงิน 3 เดือนที่ทำงาน ก็น่าจะไม่ใช่ 150,000 บาท

    อย่างไรก็ตาม รายได้จะเป็น 3 เดิอน หรือทั้ง 12 เดือน ก็เข้าหลักเกณฑ์ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่จะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษีอยู่ดี (แม้จะไม่มีภาษีก็ตาม) โดยสามารถยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต หรือทางสำนักงานเขต ก็ได้

    ตอบลบ
  18. ขอเรียนสอบถามหน่อยค่ะ
    - หากเราสั่งจ่ายเช็คไปในนามบุคคล เช่นคุณวิไล และต้องทำการออกเอกสารหัก ณ ที่จ่ายด้วย
    กรณีนี้ คุณวิไล มีร้านค้าที่จดทะเบียน Vat ในบัญชีกรมสรรพากร เราต้องออกหัก ณ ที่จ่ายเป็น
    ภงด.3 หรือ ภงด.53 เพื่อแนบกับเช็คที่จะส่งไปให้ลูกค้าค่ะ
    ปล.ดิฉันเข้าใจว่า ถ้าหน้าเช็คเป็นชื่อคน ก็หัก 3 แต่ถ้าเป็น บ./หจก. ก็หัก 53 ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ ^_^

    ตอบลบ
  19. เรียน คุณ Tanaporn Sangchai19 มีนาคม 2557 17 นาฬิกา 33 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถามนี้คงต้องขอคำแนะนำจากผู้อ่านที่รู้คำตอบหรือทราบ ช่วยตอบให้ด้วย หรือจะติดต่อทางกรมสรรพากร ที่เบอร์ 1161 น่าจะได้คำตอบเร็วกว่า

    ตอบลบ
  20. กรณีขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยยื่นผ่านออนไลน์
    ทางสรรพากรขอเอกสารเพิ่มเติมเป็นหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
    แต่ได้ทำหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย หายต้องทำอย่างไรครับ

    ตอบลบ
  21. ตอบ คุณ ไม่ระบุชื่อ22 มีนาคม 2557 10 นาฬิกา 48 นาที 00 วินาที GMT+7

    หากไม่มีหนังสือรับรองการหักภาษ๊ ณ ที่จ่าย ก็คงต้องติดต่อหน่วยงานที่ออกหนังสือฉบับนั้นให้ออกใหม่ค่ะ เพราะกรมสรรพากรต้องการหนังสือรับรองประกอบการพิจารณา

    ตอบลบ
  22. บริษัทเก่า เขียนใบลาออกแล้ว แต่ตอนนั้นได้เงินเดือน 10000 บาท แล้วเค้าส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่ จ่ายมา 50000 แต่ว่าเราได้เงินเดือน 10000 บาท น่าจะไม่เสียภาษี เพราะปีหนึ่ง ก้อ 120000 ไม่ถึง 150000 บาท แต่เค้าส่งมาอย่างนี้เราต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ ไม่เคยเสียภาษีด้วยนะค่ะ รบกวนตอบด้วยนะค่ะ ตอนนี้ทำงานที่ใหม่แร้วค่ะ
    ได้เงินเดือน 12850 ค่ะ แร้วอย่างนี้ต้องเสียภาษีหรือป่าวค่ะ

    ตอบลบ
  23. ผมมีการเสียภาษีรายได้ในนามพนักงานบริษัทอยู่แล้วทุกปีครับรายรับเดือนละ 41000บาท แต่ว่าพอดีมีงานพิเศษนอกเหนือจากงานหลักรับเป็นเซ็คเงินสดแล้วเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% จากเงิน 480000บาท อยากทราบว่ารายได้ที่เหลือหลังหัก 3% ก้อนนี้ผมจะต้องเสียภาษีเงินได้อีกหรือไม่ครับ

    ตอบลบ
  24. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ29 มีนาคม 2557 8 นาฬิกา 37 นาที 00 วินาที GMT+7

    ไม่ทราบข้อมูลที่ให้มาผิดพลาดหรือเปล่า เพราะเงินเดือน 10,000 บาท ทั้งปีก็ 120,000 บาท ไม่น่าจะหักภาษี ณ ที่จ่ายถึง 50,000 บาท ดูสูงเกินไป

    สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนทุกท่าน จะต้องยื่นแบบเสียภาษีประจำอยู่แล้ว แต่จะเสียภาษีหรือไม่ก็แล้วแต่เงินรายได้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ยกเว้นหรือไม่ หรือยอดเงินน้อยก็จะอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว อย่างไรก็ต้องยื่นแบบภาษีประจำปีแน่นอนค่ะ

    ตอบลบ
  25. ตอบ คุณ Mr. Somsak Maingool26 เมษายน 2557 20 นาฬิกา 07 นาที 00 วินาที GMT+7

    ในการยื่นแบบประจำปีในปีนั้น ก็นำรายได้ทั้งหมดที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน หรือรายได้อื่นๆ ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย

    ส่วนเงินรายได้พิเศษนั้นเขาได้หักภาษีไปแล้ว ก็คือได้จ่ายภาษีไปแล้ว แต่ยอดเงินนี้จะต้องนำมารวมคำนวณประจำปีด้วย เป็นรายได้ทั้งหมด

    ตอบลบ
  26. อยากทราบว่าในการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของเงินเดือนแต่ละเดือนบริษัทคิดเหมือนกันไหมค่ะ เห็นเพื่อนว่าหักเลย แต่ยังไม่ได้เอาค่าลดหย่อนอะไรมาคิด ถ้ากรณีดิฉัน มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่มกราคม คือเงินเดือน38000+ค่าครองชีพ2000+ค่าโทรศัพท์2000รวมเป็น42000(เป็นรายได้ที่ได้ประจำทุกเดือน บริษัทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไรค่ะ และเดือนมิถุนายน เงินเดือนขึ้นอีก3000 บาท หลังจากเดือนมิถุนายนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายเท่าไรคะ และกรณีเดือนธันวาน่าจะได้รับโบนัสอีกสองเดือน ไม่แน่ใจบริษัทจะหักภายในเดือนธันวาคมหรือทยอยหักก่อนเลยค่ะ
    พอดีไม่เข้าใจเลยค่ะ รบกวนช่วยตอบคำถามให้หายข้องใจด้วยคะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  27. ตอบ คุณ Wongwisit Seesan27 พฤษภาคม 2557 14 นาฬิกา 53 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถาม เงินเดือน 12000 บาท หักค่าประกันสังคม 5% แล้วต้องโดนหักภาษีอีก 3% หรือไม่คะ??
    เพราะที่ทำงานหัก3%ไปด้วยโดยไม่มีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้เลย

    คำตอบ ปกติภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทางฝ่ายบุคคลเขาน่าจะมีข้อมูลเงินเดือน + ค่าลดหย่อนของพนักงานแต่ละคนเพื่อทำการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือฝ่ายบุคคลอาจจะเอาสะดวกโดยคิดภาษีหัก ณ ที่จ่ายเหมือนกัน ทั้งนี้ควรติดต่อสอบถามผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องมีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตอนปลายปีให้พนักงานแต่ละคน

    แปลกใจว่าเมื่อเขาหักภาษีไป เขาไม่ได้แจ้งหรือค่ะว่าหักเพราะอะไร อย่างไร ทำไมถึงไม่มีหนังสือรับรองฯ ลองติดต่อสอบถามจากผู้หักภาษีให้ชัดเจนว่าคือการหักอะไร

    ตอบลบ
  28. ตอบ คุณไม่ระบุชื่อ29 พฤษภาคม 2557 11 นาฬิกา 29 นาที 00 วินาที GMT+7

    คำถาม
    อยากทราบว่าในการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของเงินเดือนแต่ละเดือนบริษัทคิดเหมือนกันไหมค่ะ เห็นเพื่อนว่าหักเลย แต่ยังไม่ได้เอาค่าลดหย่อนอะไรมาคิด ถ้ากรณีดิฉัน มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่มกราคม คือเงินเดือน38000+ค่าครองชีพ2000+ค่าโทรศัพท์ 2000 รวมเป็น 42000 (เป็นรายได้ที่ได้ประจำทุกเดือน บริษัทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไรค่ะ และเดือนมิถุนายน เงินเดือนขึ้นอีก3000 บาท หลังจากเดือนมิถุนายนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายเท่าไรคะ และกรณีเดือนธันวาน่าจะได้รับโบนัสอีกสองเดือน ไม่แน่ใจบริษัทจะหักภายในเดือนธันวาคมหรือทยอยหักก่อนเลยค่ะ
    พอดีไม่เข้าใจเลยค่ะ รบกวนช่วยตอบคำถามให้หายข้องใจด้วยคะ ขอบคุณค่ะ

    คำตอบ การหักภาษี ณ ที่จ่ายของแต่ละบริษัทจะไม่คิดไม่เหมือนกัน แต่ไม่ว่าจะคิดหักภาษี ณ ที่จ่ายไปมากหรือน้อย อย่างไรก็ตามผู้มีหน้าที่เสียภาษีทุกคน ก็ต้องยื่นแบบเมื่อสิ้นปีในช่วงเดือน ม.ค-. - มี.ค. ของปีถัดไป เพื่อยื่นแบบในภาษีปีก่อนหน้านี้ เพื่อคำนวณว่าภาษีที่แท้จริงที่ต้องจ่ายคือเท่าไร แล้วนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไปแล้วมาดูว่าถ้าหักไปมากกว่าที่ภาษีจริงที่ต้องจ่ายก็ได้รับเงินคืน ในทางตรงข้ามหากภาษีหัก ณ ที่จ่ายน้อยกว่าภาษีที่ต้องจ่าย ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มส่วนที่ยังขาดไปค่ะ

    ส่วนการหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นการหักจากเงินเดือนที่จ่าย ณ เดือนนั้นๆ เช่นเดียวกับโบนัส จ่ายเดือนไหนก็หัก ณ ที่จ่ายในเดือนนั้นๆ ค่ะ

    ตอบลบ
  29. เงินประกันตำแหน่งที่นายจ้างหัก เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดจ่ายคืน นายจ้างสามารถหัก ณ ที่จ่ายได้เปล่าค่ะ

    ตอบลบ
  30. ตอบ ไม่ระบุชื่อ2 มิถุนายน 2557 15 นาฬิกา 26 นาที 00 วินาที GMT+7
    คำถาม
    เงินประกันตำแหน่งที่นายจ้างหัก เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดจ่ายคืน นายจ้างสามารถหัก ณ ที่จ่ายได้เปล่าค่ะ

    คำตอบ
    เงินประกัน ไม่ใช่รายได้จึงไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และเมื่อครบกำหนดตามเงื่อนไขตามสัญญาจ้างก็น่าจะคืนให้กับพนักงาน ตรงส่วนนี้ให้ดูรายละเอียดในสัญญาการว่าจ้างประกอบเพิ่มเติม

    ตอบลบ
  31. พอสิ้นปี บริษัทออกหนังสือ หักภาษี ณ ที่จ่ายให้ แต่ไม่ได้นำไปยื่น แบบนี้จะโดนภาษีย้อนหลังมั้ยค่ะ เงินเดือน 22,000 บาท

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เรื่องค่าปรับ กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เมื่อพ้นกำหนดเวลา (ข้อมูลจากกรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/37392.0.html)

      1. บุคคลธรรมดาที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี หรือยื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลา ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้

      2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 /91 ผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ หากท่านมิได้ชำระเงินภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี ถือว่ามิได้ยื่นแบบ ท่านต้องไปยื่นแบบ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1

      3. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เกินกำหนดเวลา
      3.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ รวมทั้งค่าปรับตามข้อ 1
      3.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระค่าปรับตามข้อ 1 เพียงอย่างเดียว

      4. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพิ่มเติมภายหลังกำหนดเวลาการยื่นแบบ
      4.1 กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษี พร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ
      4.2 กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ

      5. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ขอผ่อนชำระเงินภาษี หากท่านมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา จะหมดสิทธิ์การผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

      ลบ
  32. ผมทำงาน กลางคืน ในผับ เงินเดือน 20000 โดน หัก 5% ทุกเดือน เหลือเงินเดือนละ 19000

    บางเดือนไม่ถึง เพราะ มีวันหยุด ต่างๆ


    5% ที่ โดนหัก ผมสามารถ ทำคืนได้ไหม ปล. ไม่มีรายได้อื่นเสริม มาทำงานอยู่ ตจว คนเดียว

    หรือผมต้อง ยืน ใบภาษี ด้วยหรือเปล่า ผมคำนวนไม่เป็นครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เมื่อมีรายได้ ต้องยื่นภาษีทุกคน จะเสียภาษีหรือไม่ก็แล้วแต่รายได้ ซึ่งนายจ้างจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีทั้งปีให้กับลูกจ้าง โดยนำเอกสารฉบับนี้แนบประกอบการยื่นภาษีของปีนั้นๆ

      ทั้งนี้ ขอแนะนำให้เข้าไปที่เว็บไซต์ต่อไปนี้ เพื่อดูวิธีการกรอกภาษี ภงด 91 สำหรับผู้มีรายได้เฉพาะเงินเดือนอย่างเดียว ดังนี้

      การกรอกแบบแสดงรายการ ภงด 91 ตอน 1
      http://www.youtube.com/watch?v=0u6s4UGHHuY

      การกรอกแบบแสดงรายการ ภงด 91 ตอน 2
      http://www.youtube.com/watch?v=SSX6vQd8uDc

      โปรแกรมคํานวณภาษี 2556 อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2556
      http://money.kapook.com/view79058.html

      หรือจะแวะเข้าเว็บของกรมสรรพากรเพื่อหาความรู้ต่างๆ ที่น่าสนใจ ได้ที่ http://www.rd.go.th/

      ลบ
  33. เราเป็นบุคคลธรรมดาแตารับงานทำสวนมาเดือนละ 65000 แต่จ้างชาวบ้านทำงานเดือนละ 9000 หกคนโดนหักภาษี3%อีกเหลือเราเดือนละหมื่น แต่ด้วยความไม่เข้าใจโดนสรรพากรเก็บภาษีย้อนหลังเพราะไม่ได้ยื่นแบบเสียภาษีต้องทำอย่างไรดีคับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1. ไปยื่นแบบให้ถูกต้อง เพราะรายได้ของเราที่ถูกหักภาษี 3% จาก 65,000 บาท จะถือเป็นรายได้ของเราทั้งจำนวน
      2. ต้องหาหลักฐานการจ่ายเงินที่จ่ายให้ชาวบ้านมาด้วย

      ลบ
  34. ทำงานก่อสร้าง ค่าแรงวันละ 300 / วัน ต้องหักภาษีด้วย หรอครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าคำนวณเงินได้ทั้งปี 300 x 30 x 12 = 108,000 บาท เงินได้นี้น่าจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้านายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ก็สามารถขอเรียกคืน ตอนยื่นแบบภาษีในปีนั้นๆ ได้ค่ะ

      ลบ
  35. สอบถามเกี่ยวกับ กรณี ค่าลิขสิทธิ์ที่ได้มีการตีพิมพ์หนังสือกัยสำนักพิมพ์ซึ่งมิได้เป็นการประกวดแต่อย่างใด แต่เป็นการส่งไปเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ตามระบบของสำนักพิมพ์ปกติ สำนักพิมพ์มีการ หัก ณ ที่จ่าย 5 % ซึ่งเป็นการหัก ในกรณี เงินได้ประเภทรางวัลจากการชิงโชค หรือการจ่ายให้นักแสดงสาธรณะ หรือค่าเช่าซึ่งไม่มีข้อใดระบุว่าการหักณ ที่จ่าย 5 % รวมการจ่ายค่าลิขสิทธิ์หรือค่าตอบแทนจากการซื้อสิทธิ์ในการตีพิมพ์งานเขียน ตามที่เข้าใจการได้ตีพิมพ์ถือเป็นเงินได้ค่าตอบแทนไม่น่าจะมีการหักณที่จ่าย เหมือนการซื้อสินค้าเพื่อไปตีพิมพ์ แต่หากมีการหักณที่จ่าย น่าจะเป็น 3% มากกว่า เพราะเหมือนการจ้างทำของ คือการจ้างเขียนงาน ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห้ฯส่วนตัว รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แจงข้อที่เข้าใจผิดไปด้วยค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้า

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. รายได้ลิขสิทธิ์จะอยู่ในหมวด 40(3) ไม่ทราบว่าทางสำนักพิมพ์ได้ออกมาในมาตราใด (เขาจะมีการเขียนระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้ว)

      รายได้ 40(3) หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% อยู่แล้วค่ะ

      อย่างไรก็ตาม การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นไปตามกฎหมายบังคับไว้ แต่เราก็ต้องนำรายได้นี้มารวมกับรายได้อื่นๆ (ถ้ามี) เพื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีถัดไป คือ อยู่ในช่วงระหว่างเดือน ม.ค. - มี.ค. หากเขาหักไว้มากเกินไปก็สามารถเรียกคืนได้ หากหักน้อยไปก็ต้องจ่ายส่วนขาดอยู่แล้ว

      ดังนั้น ต้องนำรายได้ทั้งหมดมารวมเพื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่แล้วค่ะ

      ลบ
  36. ได้รับเงินได้ทั้งปีหักค่าลดหย่อนแล้วไม่ถึง 150,000 บาท บริษัทไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ บริษัทต้องออกหนังสือรับรองหักภาษีณ ที่จ่ายตอนสิ้นปีให้หรือไม่คะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้มีรายได้ 40(1) เงินเดือน จะต้องยื่นภาษีสิ้นปี ช่วง มกราคม - มีนาคม 2558 ทุกคน ซึ่งจะเสียภาษีหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งค่ะ

      สรุป ทางบริษัทต้องออกหนังสือรับรองรายได้ให้ ไม่ว่าจะหักภาษี หรือไม่ เพื่อนำไปประกอบการยื่นภาษีเงินได้

      ลบ
  37. เป็นแม่บ้าน อยากหารายได้เสริม ไปสมัครสมาชิกขายประกันภัยรถยนต์ ซื้อกรมธรรม์รถของตัวเองชื่อสามีไป 1 ฉบับ ทางบริษัทให้ชำระยอดเต็มไปก่อน แล้วจะโอนเงินค่าคอมพ์(ส่วนลด)กลับคืนมาให้ในบช.ธนาคารที่เราให้ไว้ตอนสมัคร เขาบอกสิ้นปีจะส่ง 50 ทวิให้ เราต้องนำไปยื่นภาษีด้วยไม๊คะ (ได้รับส่วนลด 1,2xx ค่ะ)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. รายได้ทุกมาตราต้องยื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้ ยกเว้น ม.40(4) เกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินฝาก 40(8) เงินปันผล สามารถจะไม่นำรวมได้ เพราะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว ส่วนรายได้อื่นๆ ไม่ว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ก็ต้องนำมารวมเป็นรายได้คะ

      ลบ
  38. ยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ทแจ้งที่อยู่ กรุงเทพ ขอคืนภาษี ทางกรมฯมีจดหมายเรียกรายงานตัว แต่ตอนนี้ย้ายมาทำงานต่างจังหวัดไม่สะดวกที่จะลางานไปรายงานตัวและภาษีที่ขอคืนน้อยไม่คุ้ม ขอเรียนถามว่า หากไม่ไปรายงานตัวจะมีความผิดหรือไม่ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่มีความผิดร้ายแรง แต่จะมีผลเสียหากไม่ไปชี้แจงหรือส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาจถูกออกหมายเรียกเพื่อทำการตรวจสอบ และประเมินภาษีตามหลักฐานเท่าที่มีอยู่ได้


      หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ RD CALL CENTER 1161

      ลบ
  39. เงินพิเศษโดนหัก3เปอเซนแล้วตอนสิ้นปีต้องนำมารวมกับเงินประจำเพื่อคำนวนภาษีหรือไม่คะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เงินรายได้ทุกมาตรา 40 (1) - 40 (8) จะต้องนำมารวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปี ยกเว้น มาตรา 40 (4) ก และ 40(4) ข สามารถไม่นำมารวมได้เมื่อถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วตามที่กฎหมายกำหนดไว้

      ลบ
  40. ถ้าเราไม่ทราบว่าเราจะโดนนายจ้างหักภาษีหรือไม่ เราตรวจสอบยังไงคะ แล้วถ้าโดนหักภาษี เราจะไปเรียกคืนภาษีได้ที่ไหน อย่างไร วิธีการใด คือถ้าเราไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มาก่อนแต่อย่างใดเลย รบกวนหน่อยนะคะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปกติทุกเดือนที่รับรายได้จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเงินที่ได้รับจะลดลงเท่ากับยอดที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (หากไม่มีรายจ่ายอื่นๆ หักร่วมด้วย) และสิ้นปีก็จะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับพนักงานทุกคน ซึ่งจะนำเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีเงินได้ต่อไป (ยื่นในเดือน มกราคม - มีนาคม ของทุกปี)

      ไม่ทราบว่าในแต่ละเดือนที่รับมียอดเงินถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือเปล่า แต่ก็อาจเป็นไปได้ที่ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้ หากมียอดรายได้ที่ได้รับยกเว้น แต่อย่างไรก็ตามตอนสิ้นปีทางหน่วยงานก็ต้องออกหนังสือรับรองภาษี ณ ที่จ่ายอยู่ดี แม้จะไม่มีการหักภาษีก็ตาม เพื่อใช้ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี (ไม่ว่าเราจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องยื่นภาษีอยู่แล้ว)

      ลบ
  41. สอบถามหน่อยครับ พอดีเป็น Sale มีค่าคอมมิชชั่น ทุกเดือน แต่ทางบริษัทไม่ได้หักภาษี 3 % ให้ ( แต่ให้เป็นจำนวนเงินเต็มโดยไม่หักภาษี ) และทางบริษัทก็ไม่ได้ส่งสรรพากรให้ อย่างนี้ผมจะมีความผิดไห้ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความผิดน่าจะเกิดกับทางบริษัทที่ไม่นำส่งกรมสรรพากร

      ลบ
  42. สอบถามค่ะ เป็นลูกจ้างเงินเดือน 14000 บ. บริษัท หัก 3% ไม่มีใบรับรองการเสียภาษีให้ อย่างนี้เราสามารถตรวจสอบจากกรมสรรพากรได้ไหมคะ ว่าเงินที่หักไปนี้นำไปจ่ายภาษีให้รัฐหรือไม่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้จ่ายเงินได้ ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวน 2 ฉบับ ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดจากปีภาษี ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หากไม่ออกหนังสือรับรองฯ เว้นแต่จะแสดงไว้ว่ามีเหตุสุดวิสัย มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

      ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ CALL CENTER 1161

      ลบ
    2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
  43. กรณีที่ถูกหักภาษีเงินเดือน ณ ที่จ่าย โดยเจ้าของเงินเดือนไม่ได้ยินยอม พอสิ้นปีมาแล้วไปยื่นภาษีเงินได้ แต่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ขอเรียนถามดังนี้
    1. เมื่อขอเงินคืนจากรัฐแล้ว ทำไมไม่คิดดอกเบี้ยให้ด้วย เพราะถ้านำเงินส่วนนี้ไปฝากธนาคารก็จะได้ดอกเบี้ย หรือถ้านำไปลงทุนอย่างอื่นก็จะได้ดอกผลงอกเงยขึ้นมา
    2. หน่วยจ่ายเงินเดือนรู้ได้อย่างไรว่าเขาจะต้องเสียภาษี เพราะเขาไม่ได้แจ้งให้คุณทราบว่าเขามีอะไรที่จะนำไปลดหย่อนบ้าง ขนาดสามีหรือภารรยาเขาก็ยังไม่รู้เลย
    3. อยากให้ยกเลิกระบบนี้ เพราะเป็นการเอาเปรียบประชาชนมากจนเกินไป ถึงแต่ละรายจะถูกหักไปไม่มาก แต่เมื่อรวมกันทั้งประเทศก็น่าจะหลายล้าน อย่าคิดแต่ว่าเงินแค่นิดเดียว ให้ถามความสมัครใจของเจ้าตัวเขาก่อนอย่าใช้มาตรการบังคับ
    4. ถ้าเป็นหน่วยงานราชการ ถือว่าเป็นการละเมิดหรือไม่?

    ตอบลบ
  44. ถามหน่อยคะ สามีเสียภาษี 40 (7) ภรรยาเสียภาษี 40(8) ยื่นทางเน็ตรวมกันได้มั้ยคะ สรรพากรบอกว่าไม่ได้ ก้อเลยจะไปยื่นแยก เพราะของภรรยาเป็นรายได้เสียภาษีเหมาจ่ายปีละ 1200 เลยไม่ได้นำบุตร และบิดามาหักลดหย่อน อย่างนี้เวลารายได้ของสามีถูกหักภาษีณที่จ่าย 3% จะนำค่าลดหย่อนบุตร 2 คน และบิดามารดาของทั้งสามี และบิดาของภรรยามาหักได้เต็มจำนวนมั้ยคะ หรือหักได้แค่ครึ่งเดียว คะในกรณีแยกเสียภาษีน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. บุตร
      ====
      กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหัก
      ลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท

      อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
      =================
      หักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และหักลดหย่อนได้สำหรับบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้อีกคนละ 30,000 บาท

      สำหรับกรณีของคุณ ต่างฝ่าย ต่างมีรายได้ จึงต้องแยกลดหย่อนของบุตร และของบิดา/มารดาของผู้มีเงินได้ สำหรับที่คุณได้ยื่นแบบไปแล้ว ยังไม่ได้หักลดหย่อนก็สามารถยื่นแบบเพิ่มเติมแล้วนำลดหย่อนมาหักได้คะ

      ลบ
  45. ถามหน่อยคะ ภรรยาเสียภาษี 40(8) เป็นคล้ายแบบเหมาจ่ายปีละ 1200 จึงไม่ได้หักลดหย่อนบุตร 2 คน และบิดา แต่ทางสามีเสียภาษี40(7) ถูกหักภาษีณที่จ่าย 3% อยากทราบว่า เสียภาษีแยกกัน แล้วทางสามีจะนำค่าลดหย่อนของบุตร 2 คน บิดาของภรรยา และบิดามารดาของตนเองมาหักได้เต็มจำนวนคนละ 30000 หรือไม่คะ หรือหักได้แค่ครึ่งเดียว และถ้าหากยื่นทางเน็ตนำรายได้มารวมกันได้หรือไม่คะ เห็นทางสรรพากรบอกว่ายื่นรวมกันไม่ได้หรือคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การแยกยื่นมีข้อดีที่ไม่นำรายได้ทั้งสองมารวมกัน ทำให้เราเสียภาษีในอัตราขั้นต่ำ เพราะต่างฝ่ายต่างยื่นของตนเองจะเหมาะสมกว่าคะ ยกเว้นรายได้ทั้งสองรวมกันแล้วต่ำกว่า 300,000 บาทต่อปี แบบนี้รวมหรือแยกก็ไม่แตกต่างกันคะ ดังนั้นจะรวมรายได้ก็ได้คะ

      ลบ
  46. ขอรบกวนครับ กรณีรับเหมางานติดตั้งไฟฟ้า มีรายการซื้ออุปกรณ์เช่น ท่อ สายไฟ อื่นๆ และจ่ายค่าแรงลูกน้อง(จ่ายเงินสด)เราจะจอvat.ดีหรือเป่า ถ้าจดจะยังถูกหัก3%ยุหรือเป่าแล้วรายการซื้อและจ่ายต่างๆจะนำมาหักยังไง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กรุณาติดต่อสอบถามโดยตรงกับกรมสรรพากร http://rdsrv2.rd.go.th/contactus/index.html จะรวดเร็วและคำตอบถูกต้องกว่า ขอบคุณคะ

      ลบ
  47. อยากปรึกษาเรื่องการออกบิลภาษีย้อนหลังทำได้ไหมค่ะ ถ้าลูกค้าให้บิลหักณที่จ่ายมาแล้วแต่เรายังไม่ได้ออกบิลภาษีให้เราควรทำอย่างไรดี เครียดมากค่ะอยากปรึกษาเป็นการส่วนตัวด้วยนะค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กรุณาติดต่อสอบถามโดยตรงกับกรมสรรพากร http://rdsrv2.rd.go.th/contactus/index.html จะรวดเร็วและคำตอบถูกต้องกว่า หรือติดตามจากบล็อก https://www.facebook.com/TaxBugnoms?ref=ts&fref=ts ขอบคุณคะ

      ลบ
  48. รบกวนติดต่อเป็นการส่วนตัวได้ไหมค่ะมีเรื่องสำคัญอยากปรึกษาและมันยาวากค่ะ รบกวนด้วยระค่ะติดต่อทางไหนได้บ้างค่ะหรือติดต่อทางเฟชบุคอินบ๊อกได้หไมค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้านะค่ะตอนนี้เครียดมากความรู้เรื่องบิลภาษีมีน้อยเหลือเกิน เฟช shecommon Aum ค่ะรบกวนด้วยนะค่ะหรือจะให้หนูติดต่อไปก้อได้ค่ะ.

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กรุณาติดต่อสอบถามโดยตรงกับกรมสรรพากร http://rdsrv2.rd.go.th/contactus/index.html จะรวดเร็วและคำตอบถูกต้องกว่า หรือติดตามจากบล็อก https://www.facebook.com/TaxBugnoms?ref=ts&fref=ts ขอบคุณคะ

      ลบ
    2. ได้รับคำตอบจาก บล็อก TaxBugnoms ดังนี้
      คำตอบคือ
      ===========================
      ถามว่าออกได้ไหม ได้ครับ แต่
      1. วันที่มันจะไม่เรียงตามความเป็นจริง อาจจะมีปัญหาในการตรวจสอบ
      2. ถามว่าควรทำอย่างไร คำตอบคือควรออกแหละครับ แต่ถ้าทางลูกค้ายอมแก้วันหัก ณ ที่จ่ายก็โอเคครับ เป็นข้อแนะนำเฉยๆ นะครับ
      ===========================
      หวังว่าคำตอบที่ได้รับน่าจะแก้ไขปัญหาและทำให้หายเครียดได้บ้าง ขอบคุณคะ

      ลบ
  49. ขอถามน่ะค่ะถ้าเบริด์ นักร้องอาชีพเดินทางไปร้องเพลงที่ประเทศอังกฤษ 2 ครั้ง คือระหว่างวันที่ 1- 31 มกราคม และในวันที่ 1-31 ธันวาคม ส่วนเวลาที่เหลืออยู่ในประเทศไทย โดยได้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 20 ล้านบาท แต่ไม่ได้นำเงินเข้ามาในประเทศไทยอยากทราบว่านายเบริด์ ต้องเสียภาษีหรือไม่แล้วถ้านำเงินมาใช้ต้องเสียภาษีอย่างไรค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าไม่ได้นำเงินเข้ามาในประเทศไทย ปีนั้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

      ลบ
  50. รบกวนสอบถามค่ะ
    ทำไม บริษัท ที่จดทะเบียนเป็น บริษัท จำกัด ถึงได้มีการหัก ณ ที่บ้าง ไม่หักบ้าง แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า บริษัทไหนต้องหัก หรือ ว่าบริษัทไม่ต้องหัก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปกติ บริษัทต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทุกคนที่มีรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นปีทางบริษัทจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้เรา (รายได้ทั้งหมด และ ภาษีหักที่จ่ายทั้งหมด ตลอดปี) ก็ใช้สำหรับยื่นภาษีต่อไป

      ลบ
  51. เป็นแม่บ้าน วันละ 300บาทไม่ได้เข้าประกันสังคม โดนหัก 3% ทุกเดือน แบบนี้เราจะได้เงินคืนที่ถูกหักไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การหัก 3% ทุกเดือน คือการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ถ้าใช่ เมื่อสิ้นปีทางบริษัทก็จะออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำไปยื่นภาษีในปีต่อไป (การเสียภาษีหรือไม่ขึ้นอยู่กับรายได้ แต่ต้องมีหน้าที่ยื่นภาษี) และถ้าเงินได้ไม่ถึงฐานภาษีที่ต้องเรียกเก็บ ก็จะขอคืนจากกรมสรรพากรได้

      ลบ
  52. น้าทำรับเหมาก่อสร้างจดทะเบียนเป็น ห้างหุ้นส่วน จำกัด ทุกครั้งที่รับเงินจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว และพอสิ้นเดือนน้าก็จะส่งเอกสารรายรับทั้งหมดให้ฝ่ายบัญชี จากนั้นทางฝ่ายบัญชีก็จะรวมยอดค่าแรงที่จ่ายให้กับคนงานได้เท่าไรก็ให้จ่ายภาษี 3%ของค่าแรงทั้งหมดอีกทีหนึ่ง จะกลายเป็นภาษีซ้ำซ้อนหรือเปล่าคะ ตัวอย่างเช่น เดือนสิงหาคม รับเงิน 1,000,000 บาท หัก ณ ที่จ่าย 30,000 บาท เหลือเงินที่รับจริง 970,000 บาท คิดเป็นค่าแรง 700,000 บาท ซึ่งค่าแรง 700,000บาทนี้เราต้องจ่าย 3% ให้กับสรรพากรอีกเป็นเงิน 21,000 บาท กลายเป็นว่าเงิน 1,000,000 บาทเราต้องจ่าย 3%นี้ 2 รอบซ้ำซ้อนหรือเปล่าสงสัยมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  53. รบกวนสอบถามหน่อยครับ ปกติผมมีรายได้ต่อปี 3-4 แสนบาท แต่ปีนี้น่าจะเกินล้าน ผมจะเข้าข่ายภาษีแบบใหนครับ (ผมไม่รู้เรื่องภาษีเลยครับ) ผมกับภรรยา จดทะเบียนพาณิชย์คนละชื่อกัน คือมีคนละใบ สามารถใช้ชื่อภรรยาเป็นคนรับจ้างทำของได้หรือไม่ ผมมีลูกกับภรรยา 2 คน สามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1. ถ้าไม่จดทะเบียนนิติบุคคล เสียภาษี บุคคลธรรมดา
      2. ถ้ามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
      3. จ้างภรรยาได้ไหม ทางทฤษฏีจ้างได้ แต่สรรพากรอาจจะเพ่งเล็ง ดังนั้นถ้าจ้างต้องมีหลักฐานการทำงานจริง
      4. ถ้าเรามีรายได้ และภรรยาไม่มีรายได้ เอามาลดหย่อนได้ แต่ถ้าภรรยามีรายได้ ควรแยกยื่นกันจะดีกว่า เพราะจะได้ลดหย่อนลูกคนละ 15,000 บาท (ถ้าลูกเรียนอยู่ได้ 17,000 บาท)

      ขอบคุณคำตอบที่ได้จาก Facebook : TaxBugnoms

      ลบ
  54. ขอปรึกษาหน่อยครับ พอดีผมมีอาชีพรับจ้างธรรมดา รายได้ไม่เท่าไหร่ครับ แต่อยากจับงานเกี่ยวกับสั่งของจากราชการ จากบริษัท เวลาเรารับงานจาก ราชการ หรือบริษัท แล้วพอดีเราไม่ใช่บริษัท แต่ด้วยความที่อยากได้งาน ก็ไปจ้างบริษัท ทำใบต่างๆ ที่ ทางบริษัทต้องการ และก็ทำใบเสร็จรับเงินที่มีราคารวมภาษีแล้ว แต่ทีนี้พอเสร็จงานทางบริษัทที่เราจ้าง บอกว่าเราต้องจ่ายทั้ง ณ ที่จ่าย ตามใบเสร็จ7% และ เราก็ต้องจ่ายให้เค้าเพิ่มอีก 7 % เค้าบอกว่าเพื่อเค้าจะได้ไปหักภาษีปลายปีอีก สรุปแล้วโดน 14% ทำให้ผมขาดทุนไปพอสมควร ขอความรุ้หน่อยครับว่า ผมโดนหลอกมั้ยครับ หรือว่าถุกแล้ว แล้วถ้าผมเกิดอยากจะรับงานจากทางบริษัทและ ราชการมาจริง ๆ ผมควรต้องไปจดทะเบียน อะไรดีครับ แต่คาดว่าไม่ได้จับงานมากมายอะไร ปีๆนึงคงไม่เยอะหรอครับ แต่ไม่อยากเสียภาษีที่เยอะ เหมือนที่เราไปจ้างบริษัทครับ รบกวน ขอคำปรึกษาหน่อยครับ

    ตอบลบ
  55. ทำงานประจำรับเงินเดือน ได้จ่ายภาษีปี 57 ไปแล้ว ส่วนปี 58 ก้ทำงาน ตั้งแต่ 1 มค ถึง 31สค. 58 โดนปลดออก ต่อมาได้รับงานมาทำ แต่ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ ถูก หัก 3% โดยจะเริ่มงานวันที่ 19 ตค นี้ รบกวนสอบถามว่า หากถึงสิ้นปี จะต้องเสียภาษีอย่างไร กับรายได้สองส่วนนี้ คือ 1) 1มค - 31 สค. เป็นพนักงานประจำ โดนหักภาษีทุกเดือน จาก บ.ที่ทำ และ 2) 19 ตค - 31 ธค ไม่ใช่พนักงานประจำ รับงานมาทำ โดนหัก3% จากรายได้ ต้องเสียอย่างไรค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นำรายได้ทั้งสองส่วนมารวมกัน โดยแต่ละส่วนทางผู้จ่ายเงินจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และจะต้องระบุว่าเป็นรายได้ในมาตราใด ก็นำรายได้นั้นๆ มาหักค่าใช้จ่ายให้ดูเอกสารของกรมสรรพากรประกอบว่ารายได้แต่ละประเภทหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร แต่เท่าที่แจ้งรายละเอียดมาน่าจะเป็นรายได้มาตรา 40(1) และ 40(2) ซึ่งทั้งสองรวมกันจะหักค่าใช้จ่ายได้ 40% ไม่เกิน 60,000 บาท แล้วก็คำนวณตามภาษีทั่วไป หรือจะยื่นแบบออนไลน์ทางกรมสรรพากรก็จะคำนวณยอดให้เสร็จ

      ลบ
  56. สอบถามค่ะ ทำงานบริษัทฯ แต่บริษัท ได้รับเงินจากบริษัทฯอื่น จากการแข่งขันหาลูกค้าได้มากที่สุด ทำให้ ผู้จ่่ายเงินได้ ออกใบหัก ณ ที่จ่าย 5% ในนามบริษัทฯ
    แต่เนื่องจากได้เป็นเงินสด ทางบริษัทฯ จึงแจกเงินให้กับทุกคนในทีม สงสัยค่ะว่า เราเป็นพนักงานในทีมที่ได้เงินที่แจกมา จะต้องเอามาเสียรายได้บุคคลธรรมดาหรือเปล่าน่ะค่ะ แล้วเราต้องรอขออะไรจากบริษัทฯ ในการออกใบหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ทราบว่าเงินได้ที่ได้รับเป็นจำนวนเต็ม หรือได้รับเป็นเงินจำนวนไม่เต็ม แต่อย่างไรก็ต้องสอบถามทางบริษัทฯ ว่าในการจ่ายเงิน มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายส่งกรมสรรพากรหรือไม่ และแต่ละเดือนที่ได้รับไม่ทราบว่าได้รับใบสลิปเงินเดือนหรือไม่ หากได้รับสลิปเงินเดือนก็สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือเปล่า รายละเอียดที่ส่งมายังไม่ชัดเจน จึงตอบได้กลางๆ

      ลบ
  57. การทำสัญญาขายวัสดุ(หิน ทราย)ผู้ขายเป็นบุุคธรรมดา แต่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคล ผู้ซื้อจะหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ครับ ถ้าหัก กี่ % ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับหัก ณ ที่จ่าย ขอบคุณคำตอบจาก facebook TaxBugnoms

      ลบ
    2. คำตอบข้างต้นไม่สามารถใช้อ้างอิงทางกฎหมายได้ อย่างไรตรวจสอบให้แน่ชัดกับทางสรรพากรอีกทีหนึ่งด้วย (คำตอบที่ฝากเพิ่มเติมจาก facebook TaxBugnoms)

      ลบ
  58. หากเรามีเงินโอนเข้าบัญชีจำนวน5ล้าน..รับเงินแทนบุคคลอื่น(เป็นญาติ..งานไม่ผิดกฏหมาย)..เราต้องเสียภาษีอย่างไรค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับคำตอบจาก Facebook ของ TaxBugnoms

      ก็เป็นรายได้ของเรา ดูว่าเป็นเงินได้ประเภทไหน และหักค่าใช้จ่ายตามกฎหมายกำหนดปกติ

      ลบ
  59. ทำงานยังไม่ถึงปีเงินเดือน ประมาณ 15000 บาท หักภาษี 3% แล้วเราจะขอคืนยังไงละคะไม่เข้าใจเลยช่วยชี้แนะหน่อยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เมื่อสิ้นปี 2558 ผู้มีรายได้ทุกคนจะต้องยื่นภาษีในระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2559 และเมื่อคำนวณทั้งปีหากมีรายได้้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี เงินภาษีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็สามารถขอรับคืนได้ค่ะ

      ลบ
  60. ขอคำแนะนำค่ะ ดิฉันรับทำป้ายโฆษณา ประเภทไวนิล สติกเกอร์ นามบัตร ใบปลิวต่างๆ แต่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง ออกแนวฟรีแลนซ์คือ รับออกแบบและส่งงานไปพิมพ์ที่ร้านคนอื่นซึ่งให้ราคาหลังร้าน แล้วเรามาบวกราคาเอาเอง ตอนนี้หาหน้าร้านเป็นของตัวเองได้แล้ว อยากทราบว่าถ้าจดทะเบียนพาณิชย์ชื่อร้านกับใช้ชื่อในนามบุคคลธรรมดา ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แบบไหนจะยุ่งยากหรือมีข้อดีและเสียต่างกันอย่างไรคะ ไม่มีความรู้ด้านนี้เลย กลัวทำผิดระเบียบสรรพากร เลยคิดว่า ให้ทางผู้จ้างไม่ต้องหักเลยจะดีกว่ามั้ย มีอยู่บริษัทเดียวที่มีใบสั่งครั้งนึงก็ประมาณ 10,000 + -ค่ะ นอกนั้น คนธรรมดามาจ้างทำงาน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จดทะเบียนพาณิชย์ ไม่เกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายนะ !!ยังงงๆกับคำถาม

      ขอบคุณคำตอบจาก Facebook : TaxBugnoms

      ลบ
    2. ต้องอภัยด้วยนะคะ ที่คำถามไม่เคลียร์ คำถามก็คือ ดิฉันอยากทราบว่า จะจดทะเบียนพาณิชย์ในนามร้าน ของดิฉันเองแล้วให้ลูกค้าใช้หัก ณ ที่จ่าย 3 %หรือใช้เลขประชาชนในการหัก ณ ที่จ่าย 3 % ดีกว่ากันคะ ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ

      ลบ
    3. ถ้าไม่ได้จดบริษัท เป็นบุคคลเดียวกัน เลขไหนก็ได้ << ขอบคุณคำตอบจาก Facebook :
      TaxBugnoms >>

      ลบ
  61. ขออนุญาตค่ะ
    นาง.ก และ นาย.ค เป็นเพื่อนกัน นาย ค. ติดต่องานให้นาง ก.ซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัท และตกลงกันว่าจะแบ่งงานให้ทำ นาง ก. ไปรับงานมาจาก บริษัท ข. แล้วเอางานมาส่งต่อให้ นาย.ค ทำ บริษัท ข.จ่ายค่าจ้าง 100,000 บาท และหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เหลือเงิน 97,000 บาท พอ นาย ค.ทำงานเสร็จ นางก. ก็จ่ายเงินให้ 97,000 พร้อมกับหักภาษี ณ ที่จ่าย อีก 3% เป็นเงิน 2,910 บาท และมีค่าจ้างทำบัญชีอีก 3,000 บาท เมื่อ เวลาผ่านไปถึงสิ้นปี อยู่ๆ นาง ก.มาบอกว่า รายได้ของ บริษัท นาง ก.เกิน ต้องมาคิดภาษีกับ นาย.ค อีก 15% ทั้งๆที่จำนวนที่นาย.ค ได้รับมาก็เป็นจำนวนเต็ม และภาษีก็โดนหักเต็มไปแล้ว อย่างนี้สามารถเอาผิดกับนาง.ก ได้มั้ยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. << ขอบคุณคำตอบจาก Facebook : TaxBugnoms >>

      เอาผิดในกรณีไหน
      ถ้าเป็นค่่าจ้าง ก็ตกลงตามสัญญา ผิดสัญญาเอาผิด
      ถ้าไม่ชอบใจเรื่องภาษี แจ้งสรรพากร

      ลบ
  62. กรณีที่ลูกจ้างลาออก ต้นปี มีเงินได้จากเงินเดือน จากเงินเดือน ประมาณ ไม่ถึง 30000 ทางบริษัทจะต้องออกหนังสือรับรองรายได้ให้ลูกจ้างที่ลาออกไปแล้วหรือไม่ ( ไม่มีหัก ณ ที่จ่ายไว้เลย)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มีรายได้มาตรา 40(1) แม้ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย ก็ต้องออกหนังสือรับรองให้ลูกจ้างเพื่อนำไปรวมกับรายได้อื่นๆ ในปีนั้น เพื่อยื่นภาษี แต่จะเสียภาษีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ฐานเงินเดือน

      ลบ
  63. ทำงาน ใด้เป็นรายวัน วันละ420 แต่ทางบริษัทหักภาษี3%ทุกเดือน พอไปถามหาใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็บอกว่าไม่มี ควรจะทำยังไงดีครับ ใด้รับเงินสดนะครับเงินออกทุกสิ้นเดือน

    ตอบลบ
  64. ขอถามดังนี้ครับ เงินเดือน มค.-ธค. 2015 จำนวนเงินที่จ่าย 185400 บาท ภาษีที่หักและนำส่งไว้ 277 บาท กองทุนประกันสังคม 7931 บาท ผู้จ่ายเงิน หักภาษา ณ ที่จ่าย ปี 2015 เสียเบี้ยประกัน 20292 บาท คำนวณแล้วผมต้องเสียภาษีกี่บาทครับ ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. รายได้ ม.40 (1) 185,400.00
      หัก ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 40% ไม่เกิน 60,000 -60,000.00
      --------------
      125,400.00
      หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว -30,000.00
      ประกันสังคม -7,931.00
      เบี้ยประกันชีวิต -20,292.00
      --------------
      เงินได้สุทธิ 67,177.00
      ========
      เงินได้ต่ำกว่า 150,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
      ดังนั้น สามารถขอรับเงินภาษีคืน จากที่ส่งไปได้ จำนวน 277.00

      ลบ
  65. บริษัทหักเงินเราไปทุกเดือน และไม่ออกสลิปให้ และยื่นภาษีให้เราไม่ครบตามที่หัก เราฐานะลูกจ้างทำอย่างไรได้บ้างค่ะ รู้สึกถูกเอา้เปรียบและบริษัทที่เลี่ยงภาษี เอาผิดอย่างไรได้บ้าง

    ตอบลบ
  66. รบกวนสอบถามค่ะ พอดีมีรายได้มากกว่า 1ทางคือรายได้จากงานประจำ แต่รายได้รวมยังไม่ต้องเสียภาษี
    2.รายได้จากงานอื่นๆ เป็นรายได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ รายได้ 2 ทางรวมกันยังไม่ต้องเสียภาษี
    แบบนี้เราต้องยื่นภาษี ทั้ง 2 เลยไหมค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้มีรายได้ทุกคน จะต้องยื่นแบบภาษีในปีถัดไประหว่าง 1 มกราคม - 31 มีนาคม ดังนั้น ไม่เกี่ยวกับเสียภาษีหรือไม่เสียภาษี ขึ้นอยู่กับการคำนวณแบบในปีนั้นๆ แต่ต้องยื่นแบบภาษีเสมอ

      ลบ
  67. สอบถามหน่อยค่ะ เนื่องจากแฟนทำงานรับเหมาทั่วไปรายได้ไม่ประจำแต่ปีที่แล้วไปรับเหมาติดตั้งแอร์รับเงินเข้าบัญชีเป็นรายเดือนตามเราเบิกรวมกันแล้วก็ล้านกว่า แล้วมีการหักภาษี ณ ที่จ่าน3%แล่วเราต้องยื่น ภาษีไหมค่ะ เพราะที่ผ่านมา เราไม่ได้ยื่น เพราะรายได้ไม่ประจำ

    ตอบลบ
  68. อยากทราบว่า1.ถ้ามีเงินเดือน12000ต่อเดือนต้องไปยื่นเรื่องเสียภาษีมั้ยคะแล้วถ้าทำไม่ถึงปีต้องยื่นด้วยรึเปล่า2.พอดีทำเรื่องกู้บ้านแล้วมีหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่งมาสามารถทำเรื่องคืนภาษีได้มั้ยคะพอดีส่งมาหลายปีแล้วไม่คยยื่นเรื่องเลยค่ะ3.ในกรณีที่ภรรยาไม่มีรายได้แล้วทำเรื่องลดหย่อนภาษีได้มั้ยคะ4.ถ้ามีลูกจะต้องแนบเอกสารอะไรในการลดหย่อนภาษีบ้างคะ พอดีไม่เข้าใจและไม่เคยยื่นเรื่องเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  69. รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ พอดีไปขอเอกสาร ทวิ 50 จากแผนกHR. แต่เขาไม่ยอมออกให้ โดยให้เหตุผลว่า คนที่เงินเดือนไม่ถึงจะไม่ออกเอกสารให้ อันนี้ควรทำอย่างไรค่ะ

    ตอบลบ
  70. รบกวนสอบถามหน่อยค่า.

    ถ้าบริษัท จะจ้างคนงานมาจัดสวน คิดเป็นรายวัน วันละ300บาท
    ถือเป็นเงินได้ตาม มาตรา40 วงเล็บที่เท่าไร แล้วต้องหัก ณ ที่จ่าย3% ใช่หรือไม่คะ. ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กรณีจ่ายค่าจ้างทำของ ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ได้กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 สำหรับการจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับดังต่อไปนี้

      (1) ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ หรือค่าจ้างทำของอย่างอื่นที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

      (2) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง

      (3) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง

      ส่วนการจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 เหมือนเดิมตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528 ฯ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2528

      ลบ
  71. สอบถามข้อมูล ครับ คือผมได้รับจ้างรับเหมาระบบไฟ(เป็นบุคคลธรรมดา) ตกลงค่าจ้างทำงาน 5 วัน รวมเป็นเงินค่าใช้จ่าย 30,000 บาท (ทางผู้ว่าจ้างหักผม 3 %) เหลือ 29,100 และ กรณีผมไปว่าจ้างผู้รับเหมาอีกรายมาทำแทน(จ้างเขาไป 25,000 บาท (ผม จะ หัก 3 % เขา) ผมต้องทำยังไมมั่งครับ เพราะ ไมาได้เป็น นิติบุคคล

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กรณีจ่ายค่าจ้างทำของ ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ได้กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 สำหรับการจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับดังต่อไปนี้

      (1) ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ หรือค่าจ้างทำของอย่างอื่นที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

      (2) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง

      (3) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง

      ส่วนการจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ยังคงให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 5.0 เหมือนเดิมตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528 ฯ ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2528


      การจ่ายเงินทุกกรณีดังกล่าว ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องนำส่งภาษีที่ต้องหักด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 สำหรับกรณีผู้ถูกหักที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือแบบ ภ.ง.ด.53 สำหรับกรณีที่ผู้หักมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายไม่ว่าจะได้หักภาษีดังกล่าวไว้แล้วหรือไม่ สำหรับการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป และเมื่อได้หักภาษีไว้แล้วผู้หักภาษีจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวน 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันให้แก่ผู้ถูกหักภาษีด้วย

      ลบ
  72. อยากทราบว่าทางบริษัทยื่นหักณที่จ่ายหรือยัง ต้องทำไงคะ แล้วจะได้รับเงินคืนภายในกี่วันคะ บริษัทไม่มีเอกสารอะไรให้เลย แต่หัก3%ทุกเดือน แล้วกำลังจะลาออก เราจะได้เงินคืนมั้ยคะ

    ตอบลบ
  73. โดนหัก3%ทุกเดือน แต่ไม่รู้บริษัทยื่นหักณที่จ่ายหรือยัง ต้องทำไงคะ

    ตอบลบ
  74. รายได้ต่อปีต้องไม่เกินกี่บาทค่ะ ถึงจะขอคืนภาษี3%ได้คืน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สำหรับรายได้ปี 2558 ทั้งปี 150,000 บาทแรก จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

      ลบ
  75. ยื่นหักณที่จ่ายไปตั้งแต่ สิ้นกุมภาพันธ์ แร้วจะได้รับเช็คตอนไหนค่ะ

    ตอบลบ
  76. (รบกวนช่วยแก้ปัญหาให้หน่อยค่ะ) คือดิฉันมีใบเสร็จค่ารถขนส่ง ของบริษัท นาย ก. 4,800 บาท ของเดือนกุมภาพันธ์ 59 แต่ดั้นแนบใบหัก ณที่จ่ายที่แนบคู่กับใบเสร็จ ผิดบริษัทไปค่ะ ไปแนบชื่อบริษัท นาย ข. แทนที่จะต้องแนบ บริษัท นาย ก. ได้มาตรวจสอบทีหลังว่าแนบหัก ณที่จ่ายผิด บริษัท และได้ยื่นส่ง ภงด.53 กับสรรพากรไปแล้วของเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งหมด ต้องแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้องค่ะเพราะเดือนมีนาคมนี้จะต้องยื่นแก้ไขค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอสอบถามค่ะ ถ้าเราได้เงินเดือน 13800/เดือน ถูกหัก 3% ทุกเดือน แล้วสิ้นปีสามารถเบิกที่หัก 3% ไปทุกเดือนคืนได้มั้ยคะ

      ลบ
    2. รบกวนสอบถามค่ะ ถ้าได้เงินเดือน 13800/เดือน ถูกหัก 3% ทุกเดือน สิ้นปีสามารถเบิก 3% ที่ถูกหักไปทุกเดือนคืนได้มั้ยคะ

      ลบ
  77. (รบกวนช่วยแก้ปัญหาให้หน่อยค่ะ) คือดิฉันมีใบเสร็จค่ารถขนส่ง ของบริษัท นาย ก. 4,800 บาท ของเดือนกุมภาพันธ์ 59 แต่ดั้นแนบใบหัก ณที่จ่ายที่แนบคู่กับใบเสร็จ ผิดบริษัทไปค่ะ ไปแนบชื่อบริษัท นาย ข. แทนที่จะต้องแนบ บริษัท นาย ก. ได้มาตรวจสอบทีหลังว่าแนบหัก ณที่จ่ายผิด บริษัท และได้ยื่นส่ง ภงด.53 กับสรรพากรไปแล้วของเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งหมด ต้องแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้องค่ะเพราะเดือนมีนาคมนี้จะต้องยื่นแก้ไขค่ะ หรือพอจะติดต่อสอบถามให้คำแนะนำทางไหนได้ค่ะ ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
  78. ขอสอบถามค่ะ
    เงินเดือน 13,800 ต่อเดือน หัก 3% ทุกเดือน พอสิ้นปีเราสามารถเบิกเงินที่หัก 3% ไปทุกๆเดือน คืนได้หรือไม่คะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การเสียภาษีเงินได้ จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่มีรายได้เกิดขึ้น และในปีถัดไป ระหว่าง 1 มกราคม - 31 มีนาคม จะต้องยื่นภาษีทั้งปี (นำรายได้ทุกหมวด) แล้วมายื่นภาษีทั้งปี หากรายได้ทั้งปีต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะได้รับเงินภาษีที่หักไว้ขอคืนทั้งหมดได้

      ลบ
    2. แล้วถ้าเกินกำหนดนี่แสดงว่าเบิกไม่ได้ใช่มั้ยคะ

      ลบ
  79. รบกวนสอบถามครับ ผมเป็นพ่อค้ารายได้ไม่เกิน 300 บาทต่อวัน ไม่เคยเสียภาษีใดๆทั้งสิ้น แต่ได้เขียนเรื่องสั้นส่งสำนักพิมพ์(เป็นครั้งคราว) แล้วทางสนพ.ก็ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% ตามกฎหมาย ในกรณีนี้ผมไปขอเงินไม่กี่ร้อยบาทนี้คืนจากสรรพากรได้ไหมครับ เพราะปกติก็จนอยู่แล้ว

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การเสียภาษีเงินได้ จะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่มีรายได้เกิดขึ้น และในปีถัดไป ระหว่าง 1 มกราคม - 31 มีนาคม จะต้องยื่นภาษีทั้งปี (นำรายได้ทุกหมวด) แล้วมายื่นภาษีทั้งปี หากรายได้ทั้งปีต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะได้รับเงินภาษีที่หักไว้ขอคืนทั้งหมดได้

      ลบ
  80. รบกวนขอสอบถาม บริษัทซื้อsticker เป็นวัตถุดิบ ออกแบบงานตามลูกค้าสั่ง พิมพ์ออกมาเป็นสติกเกอร์ส่งให้บริษัทลูกค้า จะถูกหักภาษี 3% หรือไม่ ผมต้องการคำตอบ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจะต้องหักออกจากเงินได้ก่อนจ่ายให้แก่ผู้รับทุกคราว หรือเป็นจำนวนเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนผู้มีเงินได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนดและนำส่งแล้ว ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ผู้เสียภาษีได้รับ และเป็นเครดิตภาษีของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในการคำนวณภาษีที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี

      ลบ
  81. สอบถามค่ะทำอู่รถจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนไปสั่งตัดสติ้กเกอร์ในราคา1200ต้องหักภาษีณที่จ่ายไหมค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจะต้องหักออกจากเงินได้ก่อนจ่ายให้แก่ผู้รับทุกคราว หรือเป็นจำนวนเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนผู้มีเงินได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนดและนำส่งแล้ว ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ผู้เสียภาษีได้รับ และเป็นเครดิตภาษีของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในการคำนวณภาษีที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี

      ลบ
  82. ทำงานเป็นนักร้องในผับ ร้านจ่ายคืนละ 10,000 บาท โดยรับในนามของดิฉันคนเดียว แต่ได้แบ่งจ่ายให้น้องๆในวง เหลือรายได้ของตัวเอง 2,000 บาท ดิฉันทำงานที่ร้านนี้สัปดาห์ละครั้ง รวมต่อเดือน รับเงินจากที่ร้านประมาณ 40,000 บาท ทำงานร้านนี้เป็นเวลา 2 ปีกว่าโดยไม่เคยยื่นภาษี เพราะเข้าใจผิดว่าร้านหักไปแล้ว แต่วันนี้ที่บ้านโทรมาบอกว่า มีจดหมายส่งมาเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ว่ามีรายได้เกือบล้านที่ไม่ได้เสียภาษี กรณีนี้เราสามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ สามารถแจ้งสรรพากรได้ไหม ว่าเรารับร้านมาจริง แต่ได้จ่ายให้ผู้อื่นต่อ กังวลมากค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปกติ ก็ต้องยึดตามเอกสารที่ออกมาให้ ซึ่งถ้าไม่ถูกต้องก็ต้องแจ้งตั้งแต่แรกเลย ตอนนี้ผ่านมานานถึง 2 ปีคงต้องติดต่อกรมสรรพากร 1161

      ลบ
  83. สอบถามค่ะ ธนาคารทหารไทยหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าดอกเบี้ยรับในปี วันที่ 27/7/58 แต่วันที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายระบุวันที่ 23/5/59 สามารถใช้สิทธิได้ในปีไหนคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ในเอกสารที่ออกภาษี ณ ที่จ่ายค่าดอกเบี้ยรับในปี วันที่ 27/7/58 น่าจะระบุช่วงเวลาของปีด้วย ซึ่งน่าจะเป็นปี 2558 ในอัตรา 15% ของรายได้ดอกเบี้ย ซึ่งถือเป็นรายได้ 40(4) รายได้ในกลุ่มนี้สามารถเลือกได้ว่าจะไม่นับมารวมเป็นรายได้อื่นๆ หรือจะนำมารวมเป็นรายได้ก็ได้

      สำหรับการยื่นแบบเพื่อเสียภาษีปี 2558 สำหรับบุคคลธรรมดาก็น่าจะหมดเวลาแล้ว (1 ม.ค. - 31 มี.ค. 2559) ก็เลยกำหนดแล้ว ตามที่แจ้งไว้รายได้ดังกล่าวไม่ต้องนำมารวมกับรายได้อื่นๆ ก็ได้ ซึ่งถ้าประสงค์เช่นนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรคะ

      ลบ
    2. ขอแสดงความเห็นส่วนตัวนะครับ
      1. กรณีคนที่ฐานภาษีน้อยกว่า 150,000 บาท ต่อปี (คิดว่าส่วนใหญ่คงไม่ได้ยื่นแบบภาษีด้วย)
      หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็คงไม่ได้ยื่นแบบขอคืน แบบนี้เงินส่วนนี้ก็เข้ารัฐไป (ผมคิดว่าคน
      ส่วนใหญ่ก็คงไม่รู้ด้วยว่าขอคืนได้ เพราะปกติก็ไม่ได้ยื่นแบบภาษีอยู่แล้ว) ตรงนี้ผมคิดว่า
      คงมีจำนวนไม่น้อย

      2. ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย นั่นคือรัฐเอาเงินของเราไปใช้ก่อน ซึ่งในความเป็นจริงเราสามารถ
      นำเงินจำนวนนี้มาบริหารให้เกิดดอกผลได้ แสดงว่าเราสูญเสียโอกาสตรงนี้ไป ลองมองมุม
      กลับกันดูสิครับ

      ลบ
    3. สำหรับกรณีแรก ส่วนใหญ่ผู้ที่เสียภาษีไม่มากอาจจะไม่ได้สนใจแต่การไม่ยื่นแบบก็น่าจะมีความผิด ดังนั้น มีรายได้ต้องยื่นแบบภาษีเสมอ ยกเว้นเป็นรายได้ประเภทเดียวที่สามารถเลือกได้ว่าจะรวมหรือไม่รวมเป็นรายได้ในปีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความประสงค์ว่าจะยื่นหรือไม่ยื่นก้ได้

      สำหรับกรณีที่สอง ถ้าไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อสิ้นปีจะต้องชำระหากปีใดเสียภาษีสูงอาจจะเกิดปัญหาไม่มีเงินจ่ายได้ ดังนั้น จึงเป็นที่มาที่ทางกรมสรรพากรหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อน แล้วมาคำนวณว่าจะต้องจะต้องจ่ายเพิ่ม หรือ รับเงินคืน อีกครั้งเมื่อสิ้นปี

      ลบ
  84. ดิฉันพึ่งทำงานได้7เดือนได้เงินเดือน 15,000 บาทแต่มีการหักค่าประกันสังคม 5%แล้วดิฉันต้องเสียภาษีด้วยหรือเปล่าค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. รายได้ไม่ถึง 150,000 บาท ต่อปี จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี แต่ก็ต้องมีหน้าที่ต้องยื่นแบบเมื่อสิ้นปี (ยื่น 1 มกราคม - 31 มี.ค.) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://carebest2555.blogspot.com/2016/05/60.html

      ลบ
  85. สอบถามค่ะ มีรายรับต่อปี 1,800,000 จะต้องชำระภาษีเพิ่มกี่บาทคะ รับทวิหัก ณ ที่จ่ายประมาณ 4,6++ ทุกเดือน ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอใช้ตัวอย่างจากด้านบนมาประกอบการอธิบายแทน

      รายได้ ม.40 (1) 185,400.00
      หัก ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 40% ไม่เกิน 60,000 -60,000.00
      --------------
      125,400.00
      หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว -30,000.00
      ประกันสังคม -7,931.00
      เบี้ยประกันชีวิต -20,292.00
      --------------
      เงินได้สุทธิ 67,177.00
      ========
      เงินได้ต่ำกว่า 150,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
      ดังนั้น สามารถขอรับเงินภาษีคืน จากที่ส่งไปได้ จำนวน 277.00

      ลบ
  86. อยากสอบถามว่า ถ้าเป็นเอเจนซี่จัดหานางแบบ เป็นประเภทบุคคลไม่ใช่บริษัท ถ้าไปเซ็นสัญญากับบริษัทว่าจะหานางแบบให้แล้ว ผลตอบแทนคือให้นางแบบและจะมีค่าหัวคิวให้กับเอเจนซี่ต่างหาก (แยกชัดเจน ว่าจะได้ต่อหัวเท่าไหร่) เรื่องภาษีจะทำยังไงคะ เพราะได้แค่ค่าหัวคิวไม่กี่บาท แต่หากเซ็นสัญญากับบริษัทไปแล้ว เวลารับเงิน ต้องรับของพริตตี้ทุกคน แบบนี้ ก็โดนภาษีหนักสุด ทั้งที่ได้ค่าหัวคิวไม่กี่บาท แบบนี้จะแก้ปัญหาอย่างไรคะ ชอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  87. สอบถามหน่อยค่ะ
    พอดีทางบริษัท ได้จ้างวงดนตรีมาทำการแสดง แล้ววงดนตรีได้ทำใบเสนอราคา ยกตัวอย่าง เช่น
    ค่าบริการ 60,000 บาท
    ครั้งที่1 ต้องมัดจำ 30% เป็นเงิน 18,000 บาท
    ครั้งที่ 2 จ่ายอีก 70% เป็นเงิน 42,000 บาท
    โดยที่เค้าระบุมาว่า ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ออกค่าภาษี หัก ณที่จ่าย ( ภาษีออกให้ )
    คำถามคือ
    1.วงดนตรี สามารถเรียกร้องให้บริษัทเป็นผู้ออก ค่าภาษี ได้หรือไม่ และเพราะอะไร
    2.บริษัทจ่ายเงินมัดจำไป จากยอด 60,000 x 30% = 18,000 บาท แต่ทางวงดนตรี ออกใบเสร็จมาเป็นจำนวนเงิน 18,556.70 ซึ่งทางบริษัทเข้าใจว่า วงดนตรีคงจะบวกกลับภาษี เข้าไป แต่ทางบริษัทไม่ได้ออกหนังสือรับรอง ให้กับวงในมัดจำแรก โดยจะออกให้หลังจบงานเป็นยอดเดียว ครั้งเดียว
    3.ตามข้อที่2 ทางวงต้องแก้ใบเสร็จเป็นยอด 18,000 หรือไม่

    ตอบลบ
  88. ผมเป็นส่วนราชการ เพิ่งมีการประชุมและแจ้งให้มีการหักภาษี 1%กับนิติบุคคลที่ส่วนราชการได้จ่ายเงินไปตั้งแต่ 500 บาท ผมต้องหักเงิน1%กับร้านค้าที่ส่วนราชการของผมไปซื้อของไว้ใช่หรือไม่ครับ(ก่อนหน้านี้ไม่เคยหักเลย) แล้วTOT ,การไฟฟ้า ,ประปา ผมต้องหักด้วยหรือไม่ และเวลาหักต้องมีแบบฟอร์มการหักภาษีด้วยหรือเปล่า(พอดีไม่เคยเห็นแบบฟอร์มการหักภาษี 1%ณที่จ่าย) แล้วเมื่อหักแล้วต้องส่งสรรพากรอำเภอทุกเดือนใช่หรือไม่ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แบบฟอร์มการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ลองติดต่อสอบถามทางกรมสรรพากรในรายละเอียดดังกล่าว เพื่อความชัดเจนและได้คำตอบที่ถูกต้อง

      ลบ
  89. รบกวนลองคำนวณให้หน่อยค่ะ อยากรุ้ว่าจะได้คืนภาษีเท่าไหร่ค่ะ

    เงินเดือน 15,000 บาท
    รายได้เสริม 50,000 / เดือน (หักภาษี ณ ที่จ่าย)

    มีบุตร 1 คน (อายุ 1 ปี)
    มีคู่สมรส (ไม่จดทะเยียน)

    มีค่าประกันสุขภาพของบุตร 1,800 บาท/เดือน (หักผ่านบัญชีสามี)
    มีประกันสังคม (บริษัทจ่ายให้หักจากเงินเดือน)

    ---------
    สามาถขอคืนภาษีได้เท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. รายละเอียดที่ให้ไม่เพียงพอที่จะคำนวณได้
      - รายได้มีตั้งแต่หมวด 40(1) ถึง 40(8) สำหรับเงินเดือนอยู่ 40(1) หักค่าใช้จ่ายไม่เกิน 40% ไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนรายได้เสริมคือรายได้อะไรจะต้องแจ้งรายละเอียดว่าในใบหักภาษี ณ ที่จ่ายแจ้งว่าหักในหมวดใด มาด้วยจึงจะทราบว่าคำนวณหักค่าใช้จ่ายเท่าใด

      - ค่าลดหย่อนมีส่วนตัว 30,000 บุตรคนละ 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 คน (มากสุด 45,000 บาท) โดยบุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี และหากบุตรศึกษาต่อในประเทศ (ตั้งแต่อนุบาล-ปริญญาเอก) ก็จะได้ลดหย่อนเพิ่มอีกคนละ 2,000 บาท คู่สมรสเฉพาะที่จดทะเบียนหักส่วนตัวได้ 30,000 ส่วนค่าประกันสุขภาพบุตรไม่มีลดหย่อนส่วนนี้ มีแต่ลดหย่อนประกันสุขภาพบิดา-มารดา ส่วนประกันสังคมก็ตามที่จ่ายจริง

      สามารถศึกษาวิธีการคำนวณด้วยตัวเองได้ที่เว็บ http://money.kapook.com/view112464.html

      ลบ
  90. ขอถามหน่อยค่ะ คือทำงานพาสทามเมื่อ ม.ค.-พ.ค.58 ได้เงินเดือนละ ประมาณ10000 บาท.สิ้นปีต้องยื่นแบบไหมคะ แล้วถ้ายื่นย้อนหลังสามารถทำได้เลยไหมคะ ต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่คะ พอดีไม่ทราบว่าต้องยื่นแบบ เกินระยะเวลายื่นมานานแล้วด้วย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90, ภงด.91) ค่าปรับไม่เกิน 7 วันจะอยู่ที่ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วันจะปรับที่ 200 บาท แต่ถ้าเกินไปถึง 1 เดือนก็อาจจะต้องเสียในอัตรา 1.5% ต่อเดือน หรือระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แต่ก็สามารถที่จะขอลดค่าปรับได้

      ลบ
  91. สอบถามครับ พอดีทำเว็บไซต์แล้วรับลงโฆษณาด้วย และมีบริษัทติดต่อลงโฆษณาด้วย และขอใบกำกับภาษี ผมจะให้เขาหัก ณ ที่จ่าย หรือทำเองได้หรือไม่อย่างไร เพราะไม่เคยทำ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้จ่ายเงินได้จะต้องมีหน้าที่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้รับเงินทำเองไม่ได้คะ) แล้วออกหน้งสือรับรอง และต้องนำเงินภาษีที่หักนี้ไปส่งให้กรมสรรพากรต่อไป

      ลบ
  92. ขออนุญาตสอบถามครับ ถ้าเป็นฟรีแลนซ์แล้วบริษัทที่จ้าง หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ในแต่ละงวดที่จ่ายค่าบริการมา จะมีสิทธิ์ในการโดนเรียกเก็บภาษีแบบรายได้บุคคลธรรมดาย้อนหลังหรือไม่ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าทุกปีที่ผ่านมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกปี ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรตามมาคะ

      ลบ
  93. ผมอยากทราบว่าผมถือใบหัก Tax3% อยู่ ทางบริษัทบอกให้ผมเอาไปยื่นเอาเงินคืนในสิ้นปีคือแบบใหนครับ แล้วผมเป็นบุคคลธรรมดา ผมต้องเสียภาษีมั้ยครับ เงินจ่ายเป็นงวดทุก 10-25ของทุกเดือน แต่บางวีคก็ไม่ออกก็มี ผมต้องทำยังไงครับ ต้องจ่ายภาษีมั้ยหรืออย่างไรรบกวนช่วยไขความกระจ่างทีครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
      1) บุคคลธรรมดา
      2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
      3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
      4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
      5) วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

      ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
      - ยื่นแบบภ.ง.ด. 90 สำหรบมีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท กำหนดเวลายื่น มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
      - ยื่นแบบภ.ง.ด. 91 สำหรบมีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1ม.40(1) ประเภทเดียว กำหนดเวลายื่น มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

      ลบ
  94. สวัสดีครับ คุณราตรี ผมรบกวนปรึกษาเรื่อง หักภาษี ณ ที่จ่ายครับ เนื่องด้วยผมทำงานรับจ้างอิสระ ทำนามบัตรซิลค์สกรีนให้กับลูกค้า บุคคล บริษัท ห้างร้านทั่วไป และทางบริษัทจะมีการหักภาษี ณ ที่ จ่าย 3% ถ้าตัวงานมียอดเกิน 1,000.-บาท และจะมีเอาสารการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3 % แนบกลับมาให้ผมทุกครั้งครับ

    ปีที่ผ่านๆมา ผมไม่ได้ไปยื่นขอคืนเลย เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องภาษี และผมไม่ได้จดทะเบียนการค้าด้วยครับ เพราะผมไม่มีหน้าร้าน และทำคนเดียวที่บ้าน โดยรับงานเฉพาะทางเน็ต แต่วันนี้ ผมมาค้นดูเอกสารใบหักภาษี ณ ที่จ่าย เลยรวมตัวเลขดู ปรากฎว่ายอดรวมที่ถูกหักภาษี 3 % ไปอยู่ที่ประมาณ 4,900.-บาทเศษ แล้วผมจะไปยื่นขอคืนภาษีได้ไหมครับ

    และผมมีรายจ่ายเรื่องซื้ออุปกรณ์ในการทำงาน เช่น สี น้ำมัน เป็นต้น และรายจ่ายเรื่องค่าเช่าบ้าน การศึกษาบุตร 1 คนอายุ 19 ปี กำลังศึกษาอยู่ และกรณีนี้ผมไปยื่นขอคืนภาษีได้ไหมครับ และผมต้องเสียอะไรต่างๆภาษีเพิ่มไหมครับ

    ยอดรวมรายได้ผมทั้งปีที่ถูกหักภาษีไป ประมาณ 160,000.-บาทครับผม รบกวนปรึกษาด้วยครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  95. สอบถามค่ะ กรณีที่ลืมหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีวิธีปฏิบัติอย่างไรบ้างค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้จ่ายค่าจ้างทำของให้บริษัทฯ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินค่าจ้างที่จ่าย

      ถ้าผู้จ่ายเงินได้มิได้หักและนำส่งภาษีหรือหักและนำส่งภาษีไว้ไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีดังกล่าวจากผู้จ่ายเงินได้ก่อน ตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ถ้าเรียกเก็บจากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้ ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีเงินได้มาไต่สวน ตามมาตรา 18 ทวิ มาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี เพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีต่อไป

      2. บุคคลธรรมดาเป็นผู้จ่ายค่าจ้างทำของให้บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้นั้นไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด

      ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.rd.go.th/publish/22934.0.html

      ลบ
  96. ขอสอบถามหน่อยค่ะ ขอแยกเป็นสองกรณีนะคะ
    1. กรณีทำงานเป็นฟรีแลนซ์ รับงานเป็นครั้ง แล้วบริษัทที่จ้างจ่ายเงินให้เป็นครั้งๆ ในแต่ละครั้งถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% พอสิ้นปีมีใบทวิ 50 มากกว่าหนึ่งใบ คำนวณแล้ว เงินได้ไม่ถึง 150,000 ค่ะ ต้องการภาษีคืน เวลากรอกยื่นภาษีออนไลน์ต้องกรอกอย่างไรคะ คือทราบว่าต้องกรอก 40(2) แต่ไม่ทราบว่าจะสามารถนำรายได้ที่ได้รับแต่ละครั้งมาบวกกันแล้วกรอกเป็นจำนวนเดียวได้มั้ย ถ้าในกรณีที่บริษัทที่จ้างและออกใบ ทวิ 50 ให้เป็นบริษัทเดียวกัน หรือว่าในแบบฟอร์มสามารถกรอกได้หลายจำนวนแล้วระบบจะรวมเอง

    2. กรณีที่รับจ้างฟรีแลนซ์จากหลายบริษัท จะต้องกรอกอย่างไรคะ มันจะมีแท็บที่ให้กรอกเลขประจำตัวของบริษัทที่จ่ายภาษี ถ้ามีหลายเจ้าต้องกรอกอย่างไรคะ

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  97. รับจ้างสอนพิเศษจากโรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่ง ทางโรงเรียนไม่ได้หักภาษีไว้ แต่มีใบจ่ายต่าตอบแทนให้ทุกเดือน (ออกในนามบุคคล) ต้องยื่นภาษีอย่างไร รายได้เดือนละ 12,000 บาท ค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ให้ติดต่อทางหน่วยงานเมื่อสิ้นปีไปแล้ว เพื่อขอใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ถ้าได้ใบนี้มาแล้วก็สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้คะ แต่รายได้เดือนละ 12,000 บาทก็ไม่ถูกหักภาษีอยู่แล้วคะ แต่ต้องยื่นแบบนะคะ ไม่แน่ใจว่าหน่วยงานการศึกษาจะได้รับการยกเว้นหรือไม่ ให้ติดต่อสอบถามอีกครั้ง ขอบคุณคะ

      ลบ
    2. ขอบคุุณสำหรับตำตอบนะคะ ได้สอบถามเพิ่มเติมไปยังโรงเรียนแล้วค่ะ ทางโรงเรียนแจ้งว่าไม่สามารถออกใบ 50ทวิให้ได้ เนื่องจากโรงเรียนยื่นภาษีในนามบุุคลธรรมดา แต่สามารถออกใบรายได้สรุปทั้งปีให้ได้ อย่างนี้เราสามารถนำใบรายได้สรุปนี้ไปยื่นภาษีได้หรือไม่ และควรยื่นรายได้ 40(?) เนื่องจากรายได้นี้ไม่ใช่เงินเดือนประจำ จ่ายให้ตามครั้งที่เข้าไปสอนค่ะ

      ลบ
    3. ในใบสรุปยอดของทางสถาบันจะต้องระบุว่าเป็นรายได้มาตรา 40 วงเล็บอะไรไว้คะ ปกติก็น่าจะเป็น 40(1) ในกรณีเงินเดือนคะ

      ลบ
  98. สอบถามครับ
    ถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดา แล้วขายสินค้าให้กับทางบริษัทที่จดทะเบียน โดยเราออกใบเสร็จรับเงิน+สำเนาบัตรประชาชน ให้กับทางบริษัทที่เป็นลูกค้า จะต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ครับ หรือถ้าไม่โดนหัก เราจะต้องเสียภาษีอีกหรือไม่ครับ ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร http://www.rd.go.th/publish/3535.0.html

      ข้อ 10 การจ่ายเงินทุกกรณีดังกล่าว ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องนำส่งภาษีที่ต้องหักด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 สำหรับกรณีผู้ถูกหักที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือแบบ ภ.ง.ด.53 สำหรับกรณีที่ผู้หักมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายไม่ว่าจะได้หักภาษีดังกล่าวไว้แล้วหรือไม่ สำหรับการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับรายหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป และเมื่อได้หักภาษีไว้แล้วผู้หักภาษีจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวน 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันให้แก่ผู้ถูกหักภาษีด้วย

      ลบ
  99. เพิ่งรับงาน freelance เป็นปีแรกค่ะ ซึ่งบางงาน ผู้จ้างซึ่งเป็นหน่วยราชการไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยมีใบสำคัญรับเงินให้เราเซ็นและให้เราแนบสำเนาบัตรประชาชน ซึ่งเราได้รับเงินเต็มจำนวนที่ปรากฏบนใบสำคัญรับเงิน อย่างนี้หมายความว่าให้เรารายงานรายรับนี้ในการยื่นภาษีไปใช่ไหมคะ. อีกกรณีนึงคือผู้จ้างเป็นบริษัท เขาจ่ายเงินให้เราเต็มและไม่เคยขอสำเนาบัตรประชาชนเราไป แบบนี้แสดงว่าเขาไม่ไปบันทึกรายจ่าย เราไม่ต้องเสียภาษี หรือเปล่าคะ. การจ้างไม่มีการทำสัญญาอะไร เราส่งใบแจ้งหนี้ไป เขาจ่ายเงินมา เท่านั้นเป็นงานหลักพันบาทค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ติดต่อสอบถามถึงใบรับรองภาษีกับหน่วยงานว่าเขามีออกหรือไม่ เพราะหน่วยงานรัฐอาจจะบันทึกเป็นหมวดอื่นๆ ซึ่งอาจจะได้รับการยกเว้นไม่เสียภาษีเงินได้ก็ได้คะ หากเขาออกใบรับรองอ้างอิงมาตรา 40 หมวดใดก็ตามจึงจะนำใบนี้มายื่นภาษีต่อไปคะ

      ลบ
  100. ขออนุญาตสอบถามเพิ่มเติมนะคะ หากหน่วยงานแจ้งว่าไม่มีใบรับรองภาษี แสดงว่าเขาบันทึกเป็นรายจ่ายในหมวดที่ยกเว้นภาษี แสดงว่าเราผู้รับเงิน ไม่ต้องเอารายได้นี้มารวมในการยื่นภาษี สรุปแบบนี้ถูกต้องไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หน่วยงานเอกชนก็ต้องมีออกใบรับรองหักภาษีให้อยู่แล้ว แต่หากเป็นหน่วยงานภาครัฐก็คงต้องสอบถามหากไม่มีก็คงอยู่ในหมวดรายจ่ายอื่นๆ ซึ่งอาจได้รับการยกเว้น

      ลบ
  101. รายได้จากการให้บุคคลธรรมดา (หลายราย)เช่ารถตู้ไปเที่ยว โดยผู้เช่าจ่ายค่าน้ำมันและผู้ให้เช่ามีคนขับรถให้ รายได้ทั้งปี 300,000 บาท ยื่นเสียภาษี 40(5) แล้วสรรพกรขอเอกสารใบหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องทำอย่างไรคะ

    ตอบลบ
  102. กรณีที่มีรายได้ ไม่เกิน 150,000.-/ปี แต่โดนหักไปแล้ว
    แต่ไปยื่นหลักฐานใบหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ครบ
    จะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนที่หักไปหรือไม่ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จะต้องรวบรวมเอกสารให้ครบถ้วนประกอบการยื่นภาษีประจำปี หากเป็นการยื่นในปี 2560 ซึ่งยื่นไปแล้ว ก็สามารถยื่นซ้ำได้คะ

      ลบ
  103. กรณีที่มีรายได้ ไม่เกิน 150,000.-/ปี แต่โดนหักไปแล้ว
    แต่ไปยื่นหลักฐานใบหักภาษี ณ ที่จ่ายตอนไหนคับ
    จะได้รับเงินคืนเมื่อไหร่คับ

    ตอบลบ
  104. เลขที่ใบหัก ครบปีต้องรันใหม่ไหมคะ หรือรันต่อเนื่อง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ส่วนนี้น่าจะเป็นแนวปฏิบัติของทางบริษัทฯ ว่าเป็นลักษณะใด หรือจะติดต่อสอบถามกรมสรรพากรอีกครั้งก็ได้ หากไม่แน่ใจ

      ลบ
  105. รบกวนตอบหน่อยนะคะ ดิฉันมีรายได้รวมทั้งปี1.2 ล้าน แต่ทำใหมยื้นส่งภาษีออนไลน์แล้วโดนภาษีย้อนหลังตั้ง6 หมื่นกว่าคะ หรือคำนวนอะไรผิดหรือเป่ลาคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ข้อมูลที่ให้ไม่พอเพียงจะตอบคำถามได้ คาดเดาว่าในปีก่อนๆ เคยยื่นเสียภาษีหรือเปล่าคะ เพราะหากยื่นภาษีทุกปี ไม่น่าจะเกิดลักษณะนี้ และหากคำนวณภาษีผิดพลาดทางกรมสรรพากรก็จะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบว่าเป็นภาษีของปีใด ภาษีจริงที่ต้องจ่ายคือเท่าใด และที่จ่ายมาถูกต้องหรือไม่ หากมีรายได้บางประเภทที่ไม่ได้นำมารวมก็อาจจะถูกคำนวณย้อนหลังได้ กรุณาติดต่อกรมสรรพากรโดยตรงเพื่อความชัดเจนต่อไป ขอบคุณคะ

      ลบ
  106. สอบถาม ถ้าในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา จ่ายเงินให้กับบริษัท สามารถออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายได้หรือไม่ครับ

    ตอบลบ
  107. ข้าราชการจะหักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวนเต็มหรือไม่...ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ เพราะว่า ข้าราชการเลี่ยงภาษีไม่ได้ มีแต่จ่ายเต็ม เมื่อคำนวณสิ้นปี เหลือเท่าไหร่เขาจ่ายหมด ถ้ามีเหลือมาก เขาผ่อนส่งได้...
    แต่การหักของเขาเต็มจำนวนจากกรมบัญชีกลาง มันคือการทำร้ายข้าราชการผู้น้อย ที่จะเอาเงินบางส่วนมาใช้ก่อน เช่นหักเดือนละ 3000 บาท เขาส่งหัก ณ ที่จ่าย 1500 บาทได้ ส่วนที่เหลือก็พอเลี้ยงครอบครัวตลอดเดือน เพราะข้าราชการแท้จริง มันต้องหักจุกจิกหลายอย่าง ทั้งเงินกู้ สหกรณ์ ฯลฯ สารพัด
    อย่าลืมว่า เขาหักลดหย่อนอื่นๆได้อีก เช่น บริจาค โครงการจ่ายตามโครงการช่วยภาษี เป็นต้น... อีกอย่างกรมบัญชีกลาง และสรรพากร มาอ้างว่า ส่วนเกิน จะส่งคืนให้ข้าราชการเอง แล้วทำไมไม่ให้เขาเหลือใช้ ขาดเท่าไหร่ เขาก็ส่งคืนได้ ... จำไว้ข้าราชการไม่ได้เลี่ยงภาษี และเลี่ยงภาาีเหมือนพ่อค้า... อย่าสร้างความเดือดร้อนแก่ข้าราชการ อย่าสร้างนโยบายบ้าจี้ และงี่เง่า เพราะข้าราชการเดือดร้อนเมื่อไหร่ ปัญหาคือ ประเทศจะเป็นง่อยไปทันที...ทบทวนเสียด้วย ตอนนี้หักภาษีเริ่มเดือนมกราคมปีนี้ เดือดร้อนไปทั่วประเทศแล้ว

    ตอบลบ
  108. สอบถามค่ะ เป็นพนักงานบริษัท (ฐานภาษี 20%) และมีรายได้ค่านายหน้า จากบริษัทอื่น ซึ่งมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย (5%) ทุกครั้ง ค่านายหน้าต้องยื่นภาษีด้วยมั้ยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. รายได้ทุกประเภทต้องยื่นภาษีอยู่แล้ว ดูรายละเอียดประเภทรายได้ทั้งหมด ที่ http://www.rd.go.th/publish/553.0.html

      ลบ
  109. ผมเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทแห่งหนึ่ง
    ได้เงินเดือน9000บาทต่อเดือนแต่หักประกันสังคม450บาททำให้ผมเหลือเงิน8550ต่อเดือนแล้วแบบนี้ผมจะทราบได้ยังไงว่าถูกหักภาษีรึป่าวแล้วผมจะสามาตรตรวจสอบได้ทางไหนบ้างครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. จากข้อมูลที่ให้มาก็ไม่น่าจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะมีรายได้ที่ไม่ถูกหักอยู่แล้ว ซึ่งสามารถร้องขอเอกสารใบรับรองเงินเดือนแต่ละเดือนกับหน่วยงานได้ และสิ้นปีทางบริษัทก็ต้องออกหนังสือเพื่อแจ้งถึงรายได้ทั้งปีและการหักค่าใช้จ่ายต่างๆ (เช่น ประกันสังคม) เพื่อประกอบการยื่นภาษีต่อไป (ไม่มีรายได้ถึงเกณฑ์ แต่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีปกติคะ)

      ลบ
  110. ผมเป็นร.ป.ภบรึษัทแห่งหนึ่งได้เงินเดือน9000บาทแต่หักประกันสังคมเดือนล่ะ450ผมจึงเหลือเงิน8550บาทต่อเดือนแบบนั้ผมจะทราบได้ยังไงว่าถูกหักภาษีรึป่าวเพราะทางบริษัทไม่เคยมีเอกสารให้เลยพอจะตรวจสอบทางไหนได้บ้างครับแล้วถ้าผมถูกหักภาษีจะมีสิทธิได้รับเงินคืนได้ไหมค่ะ

    ตอบลบ
  111. ขออนุญาติสอบถามครับ ถ้ามีคนเคยถามไปแล้วต้องขออภัยด้วยนะครับ
    คือว่าผมได้รับใบ ทวิ50 ประจำปีมานะครับ ยอดเงินรวมผมประมาณ 180000 ต่อปี แต่ไม่มียอดภาษีที่หักไว้เลย
    และในสลิปเงินเดือนของผมก็ไม่เคยมีหะกภาษีไว้เลย แบบนี้หมายความว่าเงินได้ของผมไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีอยู่แล้วถูกต้องหรือไม่ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เงินได้น่าจะไม่เสียภาษี อย่างไรก็ตาม ก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีอยู่ดีคะ

      ลบ
  112. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...