วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความต้องการทองคำมาจากไหน?

จากข้อมูลพบว่า ในตลาดโลกมีความต้องการทองคำประมาณไตรมาสละ 1,000 ตัน (หรือปีละ 4,000 ตัน) โดยมาจาก 5 แหล่ง ดังนี้
  1. ใช้เป็นเครื่องประดับ – ประมาณไตรมาสละ 500 ตัน โดยเกินครึ่งมาจาก จีน และ อินเดีย
  2. ใช้ในอุตสาหกรรม – ประมาณไตรมาสละ 100 ตัน ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรม semiconductor และ ทันตกรรม
  3. ใช้เป็นทุนสำรองของธนาคารกลาง – ประมาณไตรมาสละ 100 – 150 ตัน
  4. ซื้อเพื่อการลงทุนเป็นทองคำแท่ง - ประมาณไตรมาสละ 280 – 380 ตัน
  5. ซื้อเพื่อการลงทุนผ่านกองทุน ETF – เช่น กองทุน SPDR Gold Trust
เมื่อดูข้อมูล 5 ไตรมาสย้อนหลังจะเห็นได้ว่า ราคาทองที่ตกลงต่อเนื่องในปี 2013 เกิดจากแรงเทขายของกองทุน ETF ซึ่งมีการขายสุทธิจำนวน 177 ตันในช่วงไตรมาสแรก แต่ Demand จากส่วนอื่นยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ... ดูข้อมูลในช่วงไตรมาส 2 ทราบว่า กองทุน ETF ขายทองคำออกมาอีกประมาณ 300 ตัน ทำให้ราคาทองร่วงลงมาต่ำกว่า $1,300 ในขณะนี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงที่ราคาทองคำลงแรง (จากการเทขายของกองทุน ETF) กลับมีแรงซื้อ “สวน” เข้ามาจำนวนมาก ทั้งจากคนที่ต้องการซื้อเป็นเครื่องประดับ (เพื่อให้ของขวัญ ตามธรรมเนียมของคนจีนและอินเดีย) และจากคนที่ต้องการซื้อทองคำแท่งเพื่อลงทุน ... ว่ากันว่า 2 กลุ่มนี้ต้องการทองคำจริงๆ เป็นพวกซื้อเก็บระยะยาว แต่รอจังหวะอยู่นานเพื่อซื้อในช่วงราคาตก

อีกข้อมูลที่น่าสนใจมาก คือ ในบรรดาประเทศที่เข้าซื้อ ‘ทองคำแท่ง’ เพื่อการลงทุนในรอบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรามาเป็นอันดับ 4 ของโลก คือ ซื้อทองคำมากถึง 82.7 ตัน!!!

สรุป - ถ้าเราดูข้อมูลกันดีๆ จะพบว่า ความต้องการทองคำมาจากหลายแหล่ง การที่ทองราคาตกแรง มีสาเหตุหลักจากการเทขายของกองทุน ETF แต่ความต้องการทองคำเพื่อใช้ประโยชน์อื่น (เช่น เครื่องประดับ อุตสาหกรรม ลงทุนในทองคำแท่ง) ไม่ได้ลดลงไปด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก World Gold Council

แหล่งที่มา   Facebook : SSO Savings Club

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...