วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

QE และผลกระทบต่อตลาดการเงินไทย

มาตรการ Quantitative Easing (QE) คือ การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ อัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อซื้อพันธบัตร ทำให้ราคาพันธบัตรเพิ่มขึ้น และกดดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 10 ปี (เส้นสีเขียว) ให้ต่ำลง เมื่อดอกเบี้ยต่ำ ก็จะเพิ่มแรงจูงใจให้คนกู้เงินไปขยายธุรกิจและจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เมื่อดอกเบี้ยต่ำ คนที่มีเงินลงทุนก็ต้องย้ายเงินจากบัญชีเงินฝากและพันธบัตร ไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ทำให้เรามีตลาดหุ้น (ดัชนี S&P500 – เส้นสีน้ำเงิน) ที่อยู่ในขาขึ้นมาเกือบ 5 ปีแล้ว

เม็ดเงินที่มีอยู่มากมายก็ไหลเข้ามาลงทุนในเอเชียด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงปี 2010-2012 คือ
  • ฝรั่งขนเงินมาซื้อหุ้นไทยจำนวน 100,000 ล้านบาท ... แต่ได้ขายออกไปแล้วประมาณ 60,000 ลบ. ช่วงต้นปีนี้
  • ฝรั่งขนเงินมาซื้อพันธบัตรไทยจำนวน 800,000 ล้านบาท ... มีขายออกไปบางส่วนประมาณ 80,000 ลบ. ช่วงต้นปีนี้
จะเห็นได้ว่า เงินที่ฝรั่งมาซื้อหุ้นไทยนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับที่เข้ามาซื้อพันธบัตร ... นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ... และเหตุที่ฝรั่งมาซื้อพันธบัตรไทยก็เพราะ ได้ดอกเบี้ยสูง + ได้กำไรจากค่าเงิน

Ben Bernanke ส่งสัญญาณว่า หากอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ลดลงเหลือ 7% และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 2% อาจจะลดการทำ QE หรือเลิกไปเลยในช่วงปลายปี 2013 – ต้นปี 2014 ... ฝรั่งก็จะถอนเงินออกจากเอเชีย ซึ่งเราได้เห็นแล้วจากการเทขายทั้งหุ้นและพันธบัตรของฝรั่ง ทำให้ตลาดร่วงแรง ในช่วงเดือน มิ.ย. 2556 ที่ผ่านมา ... หลายฝ่ายคาดว่า
  • ตลาดหุ้นจะผันผวนมากและมีแนวโน้มอยู่ในขาลง
  • ค่าเงินดอลล่าร์จะแข็งค่า (=> ค่าเงินบาทจะอ่อนค่า) ในระยะสั้น กดดันราคาทองคำให้ร่วงลงได้อีก


Cr. Pic by dshort.com

แหล่งที่มา   Facebook : SSO Savings Club

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...