วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ศิลปะแห่งการงีบหลับ

ศิลปะแห่งการงีบหลับ
เรามานอนกลางวันกันเถอะ

โดยระยะเวลางีบหลับที่แนะนำก็คือ
10 - 20 นาที เพราะระยะเวลานี้ 
จะทำให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่า
แถมยังทำให้เราหายงัวเงียช่วงบ่ายได้
และไม่รบกวนกับการนอนช่วงกลางคืนด้วยนะ

แต่ระวังให้ดี ถ้ามันก้าวข้ามไปถึง 30 นาทีแล้วล่ะก็
มันจะกลายเป็นการงีบที่ดูดพลังไปแทน
คุณจะตื่นมาพร้อมกับความเหนื่อยล้า ไม่สดใส งัวเงีย
และส่งผลต่อการนอนหลับตอนกลางคืนอีกด้วย
.
แต่ถ้าเป็นการนอนหลับถึง 60 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง
มันจะเป็นการนอนที่ส่งผลดีต่อการจำ
(เป็นการนอนในช่วง slow-wave sleep)
อาจจะตื่นมามึนงงบ้าง แต่ก็นับว่าเป็น
ระยะที่ดีต่อการจำ เหมาะสำหรับก่อน
การพรีเซนต์งานหรือการอ่านหนังสือก่อนสอบ

การงีบ 90 นาที นับว่าเป็นการงีบที่ครบรอบพอดี 
ซึ่งจะผ่านหลายช่วงของการนอน ระยะเวลานี้
จะช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้น
จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น แถมเหมือนได้หลับเต็มตื่น
แต่อาจจะดูนานไปหน่อยสำหรับการงีบระหว่างการทำงาน
(จริง ๆ ระยะเวลาการนอนหลับค่อนข้างละเอียด อาจจะหา
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ REM Sleep แล้วจะเข้าใจมากขึ้น)

ช่วงเวลาที่แนะนำสำหรับการงีบก็คือ
ช่วง 13.00 น. – 16.00 น. เพราะปกติแล้ว
ตามธรรมชาติของมนุษย์ นี่เป็นช่วงเวลางัวเงีย
จากที่เราทานข้าวกลางวันมาแล้ว และ
สัญชาตญาณก็บอกให้เรานอนตอนนี้
ถ้าเราได้งีบเล็ก ๆ นับว่าจะเป็นผลดีเลยล่ะ

ส่วนท่าที่เหมาะแก่การงีบก็คือ
การเอนหลังพิงพนัก
อาจจะไม่ใช่การนอนที่สะดวกสบายนัก
แต่ก็เป็นการป้องกันการหลับลึกนั่นเอง
.
ส่วนข้อสุดท้ายเป็นเหล่าอุปกรณ์ที่ช่วย
ให้การงีบหลับมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1. ดินสอ
อันนี้เป็นเทคนิคเดียวกับไอน์สไตน์
โดยจะเป็นการถือดินสอไว้ในมือ
เพราะถ้าเราหลับลึกเมื่อไรดินสอ
เราจะหล่น และเราจะสะดุ้งตื่นนั่นเอง

2. กาแฟ
การดื่มกาแฟก่อนงีบจะช่วยให้เราตื่นมา
กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลไป
กาแฟจะยังไม่ออกฤทธิ์ในช่วง 20 นาทีแรก
ที่เราแวบมางีบ

3. มือถือ 
ตั้งปลุกไว้เถอะครับเพื่อความปลอดภัย
และได้ระยะเวลาที่ถูกต้อง

4. ที่ปิดตา
เพื่อการงีบที่สมบูรณ์แบบ
เราต้องสร้างบรรยากาศที่มืด
ให้เหมาะสมแก่การนอน

แต่ที่ทำงานคงไม่ได้มีที่มืดให้นอนขนาดนั้น
ก็พกพาที่ปิดตาไปเลย
อยากงีบตอนไหนก็ใช้ได้เลย
.
แต่ระวังกันหน่อยนะ สำหรับบางองค์กร
การงีบหลับอาจจะดูเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
สักเท่าไร ถึงแม้จริง ๆ แล้วการนอนหลับสั้น ๆ
จะไม่ใช่สิ่งที่แย่เลย แถมช่วยให้การทำงาน
มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกต่างหาก แต่
สำหรับสังคมไทย การกระทำแบบนี้
อาจจะยังไม่เปิดกว้าง ยังไงก็ลองเช็ก
วัฒนธรรมองค์กรดี ๆ ก่อนที่จะงีบหลับนะ

 แล้วคุณล่ะ มีความคิดอย่างไรบ้าง
มันเหมาะสมไหมกับการงีบหลับช่วงบ่าย ๆ
ตอนทำงาน มาร่วมแชร์กันได้เลยครับBrandThink
6 พฤศจิกายน เวลา 07:00 น. ·
ศิลปะแห่งการงีบหลับ
เรามานอนกลางวันกันเถอะ

เราอาจจะเคยผ่านตากันมาบ้าง
สำหรับบทความที่พูดถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ที่อนุญาตให้หลับในที่ทำงานได้
โดยเจ้านายไม่ว่า เพราะที่นั่นการงีบหลับ
ระหว่างทำงานเป็นเหมือนสัญลักษณ์
ของการทำงานหนัก และเป็นเรื่องธรรมดา
มาก ๆ เพราะแสดงออกถึงความอ่อนล้า
มันแปลว่าคุณทำงานหนักนั่นเอง
(แถมมีบางคนแอบนอนหลับ เพื่อแสดงว่า
ตัวเองทำงานหนักอีกด้วย) และในไทย
หลายองค์กรสมัยใหม่ก็เริ่มมีนโยบาย
ให้พนักงานใช้เวลาช่วงเล็ก ๆ ไป
กับการงีบหลับ เพราะจริง ๆ แล้ว
การงีบหลับที่มีระยะเวลาที่ถูกต้อง
จะช่วยให้สมองเราทำงานได้
อย่างลื่นไหลมากขึ้นอีกหลายระดับ

ข้อมูล   Facebook BrandThink  6 พฤศจิกายน เวลา 07:00 น. · 

แหล่งที่มา  :  Facebook Toolmorrow 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...