วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ฮว่านง๊อก...ต้นพญาวานร

ว่านพญาวานร มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น ว่านหางลิง ว่านลิง หรือ ฮว่านง็อก เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งมาจากประเทศเวียดนาม โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pseuderatherum Platiferum สายพันธุ์ Acanthaceae

ลักษณะ
เป็นพันธุ์ไม้เตี้ย ๆ สูงประมาณ 1 เมตรกว่า ๆ แต่ก็ไม่ใช่ไม้ล้มลุก ดู ๆ เป็นพันธุ์ไม้ธรรมดา ๆ จึงไม่เป็นที่สนใจกับคนทั่ว ๆ ไป ฮวานง็อกเข้ามาเมืองไทยทางภาคอีสานแถว ๆ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา เป็นพันธุ์ไม้ใบอ่อนสีเขียว ปลายใบแหลม แตกกิ่งก้านสาขามาก ออกตามโคนง่ามใบ ใช้เคี้ยวใบสด ๆ ก่อนรับประทานอาหารวันละ 4-7 ใบ มากน้อยแล้วแต่ชนิดของโรค กินสด ๆ ง่าย ๆ ไม่มีรสฝาดเฝื่อนแต่ประการใด ว่าจริง ๆ แล้ว แปะตำปึงที่ว่าน่ากินกว่าจินฉี่เหมาเยี่ย แต่ฮวานง็อกหรือพญาวานรน่ากิน กว่าแปะตำปึงเสียอีก ทั้งคุณค่าทางสมุนไพรจะเหนือกว่าด้วยซ้ำไป และไม่มีศัตรูพืชเหมือนแปะตำปึง คือ  เพลี้ยแป้งที่เกาะอยู่ตามใต้ใบ ตามส่วนยอด ทำให้ยอดและใบหงิก แต่แก้ไขง่าย ๆ โดยตัดส่วนยอดทิ้งเสีย  ยอดอ่อนจะแตกใหม่ตามโคนง่ามใบ ไม่ควรใช้ยาปราบศัตรูพืช   ฉีดพ่น เพราะจะเป็นอันตรายถึงผู้ที่เก็บใบไปกิน

คุณค่าทางสมุนไพร
เป็นที่ยอมรับกับผู้ที่ใช้มาแล้ว นอกจากเบาหวานได้ผลอย่างดีแล้ว ยังรักษาโรคมะเร็ง ไข้หวัด อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย  อาการทางเดินอาหารไม่ปกติ โรคกระเพาะอาหาร เลือดออกตามลำไส้ ตับอักเสบ ไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือดหรือขุ่นข้น โรคตาทุกชนิด รักษาอาการ มดลูกหย่อนยานของสตรีที่คลอดลูกใหม่ ๆ โรคความดันโลหิตสูง-ต่ำ ใช้กับสัตว์ก็ได้ เช่น ไก่เหงาเป็นอหิวาต์ เป็นนิวคาสเซิล หรือจากการชนไก่ โดยให้กิน 2-3 ใบ ส่วนการขยายพันธุ์ฮวานง็อกทำได้ง่าย ๆ เช่นเดียวกับแปะตำปึง  คือ ตัดลำต้นเป็นข้อ ๆ นำไปปักชำ รากใหม่จะงอกออกมาภายใน 7-10 วัน  ฮวานง็อกเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นง่าย โตเร็ว โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยช่วยแต่อย่างใด เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มหรือแดดรำไร

สรรพคุณ : รักษาอาการปวด ต้านการอักเสบ ลดความดัน โรคเบาหวาน
ส่วนที่ใช้ : ใบสดเคี้ยวกินหรือคั้นกรองเอาน้ำ
ตัวยาสำคัญ : อยู่ในใบสด มีฤทธิ์แก้ปวด ต้านการอักเสบได้ดี รสใบจะจืด เคี้ยวไปจะเหมือนเป็นวุ้น หรืออีกวิธีหนึ่งคือนำใบมาคั้นกับน้ำสะอาด หรือนำมาปั่น แล้วกรองเอาแต่น้ำดื่ม การใช้ใบสดๆจะได้ตัวยาดีกว่านำไปต้มหรือผ่านความร้อน

สรรพคุณของต้นสมุนไพร
  1. รักษาคนสูงอายุ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำงานหนัก เกิดประสาทหลอน
  2. รักษาไข้หวัด ความดันโลหิตสูง ท้องไส้ไม่ปกติ
  3. รักษาบาดแผล เคล็ดขัดยอก กระดูกหัก
  4. รักษาอาการทางเดินอาหารไม่ปกติ
  5. รักษาอาการโรคกระเพาะอาหาร โรคเลือดออกในลำไส้ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  6. รักษาอาการคอพอก ตับอักเสบ
  7. รักษาอาการไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นข้น
  8. รักษาอาการโรคมะเร็งปอด อาการปวดต่างๆที่ไม่ทราบสาเหตุ ให้รับประทานต่อไป 100-200 ใบ อาการจะหายขาด
  9. รักษาโรคตาทุกชนิด เช่น ตาแดง ตาต้อ ตาห้อเลือด
  10. รักษาอาการมดลูกหย่อนของหญิงคลอดบุตรใหม่ ให้ผลดี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่
  11. รักษาโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ โรคประสาทอ่อนๆ
  12. สามารถใช้กับสัตว์ได้ จากเอกสารระบุว่าใช้กับไก่ชนหลังจากชนไก่แล้วต้องการให้ไก่ฟื้นจากอาการบาดเจ็บ ให้ไก่กินใบของต้นสมุนไพร จะฟื้นตัวได้เร็ว
รายละเอียดในการใช้รักษาแต่ละโรค
  1. โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล รับประทานครั้งละไม่เกิน 7 ใบ วันละ 2 ครั้ง รับประทานติดต่อกันไปจนครบ 50 ใบ
  2. โรคเลือดออกในลำไส้ รับประทานใบสด 7-13 ใบ หรือคั้นเอาน้ำ วันละ 2 เวลา
  3. โรคเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่ เป็นบิด รับประทานครั้งละไม่เกิน 7 ใบ วันละ 2 ครั้ง รับประทานติดต่อกันไปประมาณ 100 ใบ
  4. โรคตับอักเสบ คอพอก รับประทานครั้งละ 7 ใบ วันละ 3 ครั้ง รับประทานติดต่อกันไปจนครบ 150 ใบ
  5. โรคไตอักเสบ ปวดเป็นประจำ รับประทานครั้งละ 3-4 ใบ วันละ 3 ครั้ง รับประทานไปจนครบ 30 ใบ
  6. อาการท้องไส้ไม่ปกติ รับประทาน 7-14 ใบ 2 ครั้ง หาย
  7. ปวดเมื่อยตามร่างกาย รับประทาน 7-14 ใบ 2 ครั้ง หาย
  8. อาการปัสสาวะแสบ ปัสสาวะเป็นเลือด รับประทาน 14-21 ใบ โดยการคั้นเอาน้ำข้นๆรับประทาน
  9. โรคตาแดง รับประทาน 7 ใบ และบด 3ใบ ปิดที่ตาเวลานอน 1 คืน จะหาย
  10. โรคความดันโลหิตสูง จะลดทันทีเมื่อรับประทาน 5 – 9 ใบ
  11. แก้โรคเบาหวาน ผู้ชายรับประทาน วันละ 7 ใบ ผู้หญิงรับประทานวันละ 9 ใบ ภายใน 90 วัน หาย
  12. ใช้กับสัตว์ เช่น ไก่เหงา เป็นอหิวาต์ หรือ นิวคาสเซิ่ล ให้ไก่กิน 2-3 ใบ ไก่ชนหลังจากการชนแล้วให้กิน 2-3 ใบ
  13. สตรีหลังคลอด รับประทานวันละ 1 ใบ ทุกวัน จะทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว
* ข้อมูลอ้างอิงจาก เล่าขานตำนานว่าน ลำปาง ปาซิโร หนังสือ เทคโนโลยีชาวบ้าน

หมายเหตุ
  1. ควรใช้ใบสด สีเขียวไม่เหลือง ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป
  2. การกินเราใช้ใบสด เขียวๆ สีเหลืองไม่เอา มาเคี้ยวกิน 3-4 ใบ เช้า-เย็น
นำใบฮว่านง็อกมากินกับน้ำพริก น้ำพริกดับความเลี่ยนได้ หรือกินกับลาบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...