วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Gen Y กับ เงินออม

แผนออมเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน Gen Y (อายุ 20+)

ต้องยอมรับว่า น้องๆ Gen Y ที่อยู่ในวัยเริ่มทำงานมักจะลงมือออมเงินไม่ค่อยสำเร็จ เพราะรายได้ยังน้อย ค่าครองชีพสูง และมีของล่อใจเยอะ ... แนวทางหนึ่งที่จะ "เอาชนะใจ" ตัวเราเองให้ได้ คือ การสร้างระบบ "ออมก่อนใช้" เพื่อฝึกวินัยการออมให้กับตัวเองในระยะยาว => วันนี้มีแผนออมเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือนวัย 20+ มาฝาก ลองนำไปใช้ดูนะ

นอกจากน้องๆ Gen Y ที่ทำงานบริษัทเอกชนจะได้ออมกับกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ได้บำนาญหลังเกษียณแล้ว ขอแนะนำให้ออมเพิ่ม คนที่เริ่มออมอายุน้อยจะได้เปรียบ เพียงเดือนละ 1,000 บาท ตอนเกษียณก็มีเงินล้าน ... ถ้าคิดว่าเงิน 1 ล้านจะไม่พอใช้ ก็ออมเพิ่มได้

ออมเดือนละ 2,000 =>ตอนเกษียณมีเงิน 2 ล้าน
ออมเดือนละ 3,000 =>ตอนเกษียณมีเงิน 3 ล้าน

บัญชี "ออมเพื่อความสุข" นี่อยากแนะนำเป็นพิเศษ ใช้กับตัวเองแล้วได้ผล ผมจะคอยสะสมไว้ทุกเดือน เอาไว้ซื้อของที่อยากได้ ดังนั้น ผมจะมีเงินก้อนไว้ซื้อมือถือใหม่ หรือ เอาไว้ไปเที่ยวต่างประเทศ โดยไม่ต้องผ่อน

ส่วน 'บัญชีฉุกเฉิน' แนะนำให้มีอย่างน้อย 3 เท่าของค่าใช้จ่าย ... เช่น ถ้ามีค่าใช้จ่ายประจำ (ค่าเช่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารถ ฯลฯ) เดือนละ 10,000 บาท ควรมีเงินใน 'บัญชีฉุกเฉิน' อย่างน้อย 30,000 บาท


Gen Y เก็บเงินไม่เป็น จริงหรือ?

Generation Y หมายถึง กลุ่มคนที่เกิดในช่วง ค.ศ. 1980 - 2000

"คน Gen Y มีจุดแข็ง คือ หัวไว ไฮเทค เรียนรู้เร็ว และกล้าแสดงออก ... แต่มีจุดอ่อน คือ เบื่อง่าย ใจร้อน อยากไปให้ถึงเป้าหมายเร็วๆ เช่น มีธุรกิจของตัวเอง / มีชื่อเสียง / รวยเร็ว ฯลฯ ... ซึ่งการสร้างธุรกิจหรือการสร้างฐานะทางการเงิน เราต้องมีเงินเก็บก่อน เพื่อนำเงินไปต่อยอดการลงทุน ... แต่น่าแปลกที่ เพื่อนๆ Gen Y ด้วยกัน ส่วนใหญ่ใช้เงินเก่ง และเก็บเงินไม่เป็น ... แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาทำธุรกิจล่ะครับ?"

Cr. Pic from FireFish Recruitment Software — กับ Bowling Chonthicha และ 2 อื่นๆ

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ Gen Y เก็บเงินไม่ได้ซะที?


  1. รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย - เพิ่งเริ่มทำงานเองพี่ เงินเดือนหมื่นต้นๆ ไหนจะค่าห้อง ค่ารถ ค่าข้าว ค่าน้ำ/ไฟ/โทรศัพท์/internet ... แค่นี้ก็จะไม่พอกินอยู่แล้ว 
  2. มีของล่อใจเยอะ - ไปจอง iPhone 5s มาแล้ว อยากได้มาก ตังค์ไม่มี ผ่อน 0% เอาก็แล้วกัน
  3. มีหนี้เพียบ - เงินเดือนออกก็ใช้หนี้เกือบหมดแล้ว ไหนจะหนี้ กยศ (กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา) หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ฯลฯ ทุกวันนี้จ่ายขั้นต่ำแทบทุกเดือน ดอกเบี้ยบานไปถึงไหนแล้วก็ไม่รู้ ไม่อยากจะคิด
  4. มีภาระทางบ้าน - ถ้าเอาแค่ตัวเองก็รอดนะ คือมีรายรับมากกว่ารายจ่าย แต่ต้องส่งเงินให้พ่อแม่ทุกเดือน ไม่มีเหลือเก็บเลย
  5. ไม่รู้จะเก็บไปทำไม - พ่อแม่เตรียมทุกอย่างไว้ให้พร้อมแล้ว เงินไม่พอใช้ก็ขอได้ อยากได้ของชิ้นใหญ่หรืออยากมีเงินไปทำธุรกิจกับเพื่อน ทางบ้านก็พร้อมสนับสนุน
  6. ......(ระบุ).....

ระหว่าง “ทาสของเงิน” กับ “นายของเงิน” เราจะเลือกอะไร? 

หลายคนที่ต้องใช้หนี้ที่ตัวเองไม่ได้ก่อ อาจจะเป็นหนี้ที่พ่อ แม่ หรือคนในครอบครัวสร้างไว้ แล้วกลายมาเป็นภาระของเรา อันนี้น่าเห็นใจ ... แต่ก็มีพวกเราหลายคนที่ก่อหนี้เองเพียงเพราะเรา “แพ้ใจตัวเอง” คือ รู้ทั้งรู้ว่าเรามีรายได้น้อย แต่ก็อดใจไม่ได้ ใช้เงินเกินตัว ...

สมมติว่าเราได้เงินเดือน 20,000 บาท และเผลอใจไปก่อหนี้ (บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด ฯลฯ) วงเงิน 100,000 บาท เราทราบใช่ไหมว่า หนี้พวกนี้มีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวมกันประมาณ 30% ต่อปี ... แปลว่า กู้มา 100,000 บาท เราจะมีภาระดอกเบี้ยฯ ปีละ 30,000 บาท ... เทียบได้ว่า ในเวลา 1 ปี จะมี 1.5 เดือนที่เราทำงานหาดอกเบี้ยไปจ่ายเจ้าหนี้ ยังไม่นับอีก 5 เดือนที่ทำงานหาเงินต้นไปคืนอีก ... รวมๆ แล้วก็ต้องทำงานเกินครึ่งปีเพื่อ “เจ้าหนี้” ... ลองคิดดูดีๆ ว่า เรากำลังเป็น “ทาสของเงิน” หรือเปล่า?

ในทางตรงข้าม หากเราเรียนรู้ที่จะ “เก็บเงิน” เป็น เราเก็บได้สัก 500,000 บาท เอาไปลงทุนได้ผลตอบแทนปีละ 6% (นี่ถือว่าน้อย หลายคนบริหารพอร์ตเก่งๆ ทำได้มากกว่านี้) คิดเป็นผลตอบแทน 30,000 บาทต่อปี ... เทียบได้ว่า ในเวลา 1 ปี สินทรัพย์ของเราช่วยจ่าย “โบนัส” ให้เรา 1.5 เดือน ... แบบนี้เราเป็น “นายของเงิน” จริงไหม?

บางคนเก็บเงินเก่งมาก ซื้อคอนโดราคา 2 ล้านบาทแล้วปล่อยให้เช่าเดือนละ 10,000 บาท ... แบบนี้ก็เป็นการให้ “สินทรัพย์” ของเราทำงานหาเงินให้เราใช้

อยากเป็น “ทาส” หรือ “นาย” ... อยู่ที่ “ใจ” ของเราเท่านั้น .. และควรหัดเก็บเงินให้เป็นตั้งแต่อายุยังน้อย ฝึกให้เป็นนิสัยไว้นะ

ปล1 “หนี้ก้อนแรก” ที่เราอาจจะก่อได้ คือ การกู้เงินซื้อบ้าน แต่มีข้อแม้ว่าต้องกู้ในวงเงินที่เรามีปัญญาผ่อนไหวจริงๆ นะ

ปล2 หากเราเพิ่งเริ่มทำงาน มีรายได้น้อยไม่พอค่าครองชีพจริงๆ ก็คงต้องหาวิธีเพิ่มรายได้ (เช่น หางานเสริม) หรือ ลดรายจ่าย หรือทำทั้ง 2 อย่าง

แหล่งที่มา   Facebook : SSO Savings Club 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...