วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฎหมายภาษีใหม่!!

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ โดยเป็นผลมาจากที่ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติมาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมใช้อัตราภาษีเงินได้ประเภท 5 ขั้นอัตรา เป็น 7 ขั้นอัตรา และจะบังคับใช้ในปีภาษี 2556 ที่จะต้องยื่นรายการในปี 2557 เป็นต้นไป โดยสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนั้น สรุปได้ดังตารางด้านล่างนี้



“ปรับอัตราภาษีคณะบุคคลและห้างหุ้นส่วนสามัญ” โดยจะเปลี่ยนจาก “อัตราภาษีเงินได้ตามอัตราก้าวหน้า (เดิม)” มาเป็นอัตราภาษีในรูปแบบใหม่โดยให้ “คณะบุคคล” เสียภาษีทันทีในอัตรา 20% ของยอดรายรับ และ “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” เสียในอัตรา 20% ของกำไรหรือรายรับสุทธิ (รายได้ – รายจ่าย)


โดยการเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 เรื่องนั้น ขณะนี้ได้ร่างออกเป็นพระราชบัญญัติและผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และอยู่ในขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อนำส่งรัฐสภาพิจารณาต่อไปครับ แต่ท้ายที่สุดแล้วจะเป็นยังไงนั้น คงต้องติดตามดูกฎหมายฉบับจริงกันต่อไป ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างหรือเปล่า เพราะมีหลายกระแสเหลือเกินในตอนนี้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น มีข่าวดีเรื่องการเปลี่ยนแปลง “อัตราภาษีเงินได้” ลดลงเช่นเดียวกัน โดยพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 564 ได้กำหนดให้ “ยกเว้น” ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ จำนวน 300,000 บาทแรก  สำหรับผู้ประกอบการนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 530 (เดิม) ที่ยกเว้นกำไรสุทธิจำนวน 150,000 บาท และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป



ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับเรื่องสุดท้ายนั้น เราจะว่ากันถึงเรื่องเบาๆ อย่าง “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” โดยเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมาทางกรมสรรพากรได้ออก “ประกาศอธิบดีสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 197” กำหนดเพิ่มเติมเรื่องของการจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขายเพิ่มเติม โดยให้ผู้ประกอบการทุกคนต้อง “กรอกข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อหรือผู้ขาย” และ “รายละเอียดของสถานประกอบการ (สำนักงานใหญ่หรือสาขา)” ในรายงานภาษีขายและรายงานภาษีซื้อเพิ่มเติมจากเดิม โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป ซึ่งเรื่องนี้อาจจะไม่มีความสำคัญมากนักแต่สำหรับผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ขอแนะนำให้เตรียมพร้อมรับมือเรื่องดังกล่าวไว้ล่วงหน้าเลยจะดีกว่า  เพราะบางกิจการอาจจะมีความยุ่งยากในการใช้งานร่วมกับโปรแกรมบัญชีหรือระบบบัญชีก็เป็นได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการทั่วไปนั้น คาดว่าคงจะไม่มีผลกระทบมากเท่าไรนัก

แหล่งที่มา   Facebook : TaxBugnoms

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...