วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หนี้สินภาคครัวเรือนของไทย

หนี้สินภาคครัวเรือนของไทย => สถานการณ์น่าเป็นห่วง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจตัวเลขเงินให้กู้ยืมภาคครัวเรือนของสถาบันการเงินทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันรับฝากเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาล สหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันการเงินอื่น เช่น บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์ ตลอดจนโรงรับจำนำ ในช่วงสิ้นปี 2555 พบว่า มียอดให้กู้ยืมรวม 8.81 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2552 ซึ่งมียอดให้กู้ยืมที่ 5.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.24 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 58.15%

ตัวเลขข้างต้นส่งผลให้ สัดส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนของไทยเพิ่มขึ้นจาก 61% เป็น 78% ของ GDP

สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่า ประมาณ 60% ของครัวเรือนไทยมีหนี้สิน โดยในบรรดาครัวเรือนที่เป็นหนี้ มีหนี้สินเฉลี่ย 241,760 บาท คิดเป็น 10.4 เท่าของรายได้ ... แน่นอนว่านี่เป็นตัวเลขเฉลี่ยตั้งประเทศ ถ้าดูแยกรายภาค จะพบว่า ครัวเรือนในกรุงเทพและปริมณฑลส่วนใหญ่มีหนี้สินเกิน 400,000 บาท ส่วนครัวเรือนในต่างจังหวัดส่วนใหญ่มีหนี้สินต่ำกว่า 200,000 บาท

ครัวเรือนของไทยมีรายได้เฉลี่ย 23,236 บาท มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 17,403 บาท ... แปลว่าครัวเรือนมีเงินเหลือออมเดือนละ 5,833 บาท ... สำหรับครัวเรือนที่เป็นหนี้ หากเอาเงินเหลือตรงนี้ไปชำระหนี้ (เฉลี่ย 241,760 บาท) จะใช้เวลาประมาณ 41 เดือน


แหล่งที่มา   Facebook : SSO Savings Club

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...