วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตลาดน้อยเจริญกรุง

สำเพ็งถือเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ  เมื่อคนเริ่มหนาแน่นขึ้น สำเพ็งจึงมีการขยายตัวออกมาเป็นชุมชนต่างๆ หนึ่งในนั้น คือ "ตลาดน้อย" อยู่ทางตอนใต้ของสำเพ็ง  บ่อยครั้งจึงถูกเหมารวมเรียกว่าสำเพ็ง สมัยก่อนเรียกว่า "ตะลัคเกียะ" แปลเป็นไทยว่า ตลาดน้อย

ใครมาตลาดน้อย ถ.เจริญกรุง จะได้สัมผัสสถาปัตยกรรมที่เป็นสไตส์จีนแท้ๆ จากประวัติความเป็นมาระบุว่า ชาวจีนฮกเกี้ยนที่เข้ามาสู่ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถ้าในกรุงเทพฯ จะอาศัยอยู่แถบตลาดน้อย เยาวราช และฝั่งธนบุรี ถ้าในภาคใต้จะมีมากที่สุดที่ภูเก็ต  ส่วนใหญ่เป็นชาวฮกเกี้ยนได้อพยพมาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย

นอกจากนี้ ตลาดน้อยเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าน้อยใหญ่จำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงก็คือ ศาลเจ้าโจวชือก๋ง รูปปั้นเทพสีดำทั้งองค์ที่ผู้คนต่างพากันมากราบไหว้ขอพร โดยเชื่อว่าจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง


ไฮไลต์ตลาดน้อยที่ต้องไม่พลาดแนะนำ คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ตัวตึกด้านนอกทาสีเหลืองพาสเทล ขอบตึกตัดด้วยสีเทา เป็นอาคารโบราณแบบรอเนสซองซ์อายุหลักร้อยปี ที่นี่เป็นสำนักงานใหญ่แห่งแรกของธนาคารไทยพาณิชย์ หลังย้ายมาจากพระนคร เมื่อปี 2453

แหล่งที่มา นสพ. M2F วันอังคารที่ 26 มิ.ย. 55 (172)
------------------------------------------------------------------------------------------------

ประตูสู่ไชน่าทาวน์ นอกจากย่านเก่าเยาวชนที่รู้จักกันดีแล้ว "ตลาดน้อย" ถ.เจริญกรุง เขตสัมพันธวงศ์ ก็นับเป็นประตูสู่ไชน่าทาวน์อีกแห่งหนึ่ง ที่มีคนจีนจากแผ่นดินใหญ่จำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งอดีต เกิดเป็นชุมชนเก่าแก่อีกแห่งซึ่งยังคงเสน่ห์เมื่อครั้งอดีตไว้

ตลาดน้อย เป็นชุมชนจีนที่เกิดขึ้นมาจากการขยายตัวของสำเพ็งซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยที่บรรดาชาวจีนต่างพากันเรียกตลาดแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสำเพ็งซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ในขณะนั้นว่า "ตะลัคเกียะ" ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "ตลาดน้อย" และด้วยความที่อยู่ใกล้กับสำเพ็งมาก ในบางครั้งตลาดน้อยจึงถูกเรียกในฐานะส่วนหนึ่งของสำเพ็งด้วย

เมื่อมึคนจีนมาตั้งถิ่นฐาน แน่นอนว่าต้องมาควบคู่จัดเต็มเกี่ยวกับความเลิศรสของอาหารด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งในตลาดรวมถึงตึกสองฟากฝั่งถนนจึงเต็มไปด้วยร้านอาหารจีนสูตรโบราณเลิศรสหลากหลายชนิด รวมทั้งมีสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งอยู่ละแวกเดียวกันหลายแห่ง อาทิ โบสถ์คริสต์กาลหว่าร์ ศาลเจ้าโจวซื่อกง วัดญวนตลาดน้อย เป็นต้น

แหล่งที่มา    นสพ. M2F วันพุธที่ 9 ต.ค. 56 (491)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...