วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชุมนิติวิทยาศาสตร์แห่งอาเซียน...ประเทศไทย ก้าวสู่มาตรฐานสากล?

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า องค์ความรู้ด้านนิติวิทยาศาสตร์ ถือเป็นกลไกสำคัญยิ่งในกระบวนการยุติธรรม ที่ช่วยคลี่คลายคดีอาญา และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกบิลเมือง และ ในโอกาสที่ประเทศไทย โดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เป็นเจ้าภาพในการประชุมสัมมนาเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์แห่งอาเซียน (AFSN) และการประชุมสัมมนาเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์แห่งเอเชีย ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 26-30 พฤศจิกายน 2555 

ได้สัมภาษณ์พิเศษ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยเรื่อง ความสำคัญของนิติวิทยาศาสตร์ระดับอาเซียน

ประโยชน์ในการประชุม AFSN
ปีนี้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมได้ก่อตั้งครบ 10 ปี (ก่อตั้งปี 2545) และจะจัดให้มีการประชุมงานนิติวิทยาศาสตร์ระดับสากลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งการประชุมเครือข่ายอาเซียน ด้านนิติวิทยาศาสตร์ จะมีนักนิติวิทยาศาสตร์และผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์ จากหลายประเทศจำนวนกว่า 500 คน เดินทางมาร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับนิติวิทยาศาสตร์ ทั้งสิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, บรูไน, เกาหลี จีนและญี่ปุ่น ซึ่งปี 2555 นี้เป็นปีแรกที่ลาว, กัมพูชา และ เวียดนาม จะเข้าร่วมการประชุมด้วย ยกเว้นพม่ายังไม่เข้ามาร่วมการก่อตั้ง AFSN มีเป้าหมายสร้างฐานข้อมูล DNA เชื่อมโยงกันในระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งต่อไปนี้การบริการทางนิติวิทยาศาสตร์ จะต้องเชื่อมโยงข้อมูลในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องยอมรับว่าการที่ประเทศไทย เข้าร่วมเป็นสมาชิก AFSN ก่อนหน้านี้ได้กลายเป็นผลดี เนื่องจากเรื่องนี้ปรากฏว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายอาเซียนปี 2558 ด้วย

สำหรับ AFSN แบ่งความร่วมมือด้านต่างๆ 4 กลุ่มย่อย โดยยึดตามเกณฑ์นิติวิทยาศาสตร์ของมาเลเซีย และสิงคโปร์
  1. กลุ่มที่ 1 คือ คณะสารพันธุกรรม (DNA) มีความพยายามให้สมาชิกใช้เครื่องมือกับน้ำยา ให้อยู่ในโหมดเดียวกันได้ เพราะทำให้สามารถเชื่อมโยงผลข้อมูลดีเอ็นเอกันได้ทั่วโลก
  2. กลุ่มที่ 2 คณะยา-สารพิษวิทยา toxicology เป็นเรื่องเคมี สารพิษ กับเรื่องยาเสพติด ยกตัวอย่าง ต่อไปในอนาคตฐาน จะให้ทราบว่า เฮโรอีนประเภทนี้ตรวจพบที่ประเทศไหนบ้าง ซึ่งจะมีการขยายผลไปสู่สารพิษวิทยาตัวอื่นๆ
  3. กลุ่มที่ 3 คณะระบบมาตรฐาน พัฒนาระบบงานด้านนิติวิทยาศาสตร์สู่มาตรฐานสากล
  4. กลุ่มที่ 4 คณะสารเคมี ตรวจพยานหลักฐานชิ้นเล็กๆ ซึ่งจะพบในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้ หรือระเบิด ซึ่งเป็นหลักฐานที่สากลให้ความสนใจและจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
 
ปัจจุบันมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์ในอาเซียนเป็นอย่างไร
สำหรับมาตรฐานงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ของเครือข่ายในอาเซียน ณ วันนี้ ประเทศแถบโซนอาเซียนที่ได้มาตรฐานนี้มีเพียงมาเลเซีย ซึ่งมาตรฐานสูงสุดยึดแบบอเมริกา
 
ปัจจัยที่ทำให้มาเลเซียมีความก้าวหน้าด้านนิติวิทยาศาสตร์
ในอดีตสิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นประเทศอยู่ในอาณานิคมได้รับการดูแลจากประเทศอังกฤษ เพราะฉะนั้น แล็บของเขาจึงมีต้นกำเนิดมานาน 100 ปี ทำให้พัฒนาตัวเองไปตามระบบสากล จนกระทั่งได้ขึ้นทะเบียนมาตรฐานของอเมริกันที่มีชื่อเรียกว่า ASCLD/LAB นับว่าเป็นประเทศในแถบเอเชียที่ยอดเยี่ยมมากที่ได้มาตรฐานนี้ซึ่งการจะขึ้นทะเบียนตัวนี้ได้ต้องปฏิบัติงานดีทุกส่วนทุกแล็บ ไม่มีลักษณะที่จะสั่งซ้ายหัน ขวาหันได้ง่ายๆ
 
ความก้าวหน้านิติวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
การตรวจนิติวิทยาศาสตร์นั้น เจ้าภาพใหญ่น่าจะเป็นทางตำรวจ แต่ที่ผ่านมาเราไม่สามารถสร้างความร่วมมือได้ชัดนัก ขณะที่มาตรฐานงานนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนจะไปถึงระดับสากลขนาดนั้น ต้องได้ ISO 17025 คือ เรื่องแล็บกับน้ำยา ตอนนี้ระบบของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้มาตรฐาน ISO ภายในประเทศ คือ แล็บแอลกอฮอล์, แล็บดีเอ็นเอ แต่ยังไม่ได้แล็บพิษวิทยา อย่างไรก็ตามทางสถาบันฯกำลังขอแล็บตรวจเขม่าปืน และฟิสิกส์ ขณะที่การจะได้มาตรฐาน ASCLD/LAB นั้นจะต้องได้มาตรฐานทุกแล็บ ซึ่งต้องใช้งบประมาณมากและเตรียมตัวในอีกหลายๆ ด้านมากกว่านี้
 
ถามว่าทำไมเราต้องมีระบบมาตรฐานสากล เพราะประเด็นปัญหาในระบบกระบวนการยุติธรรมไทย แบ่งเป็น 4 ท่อน คือ 1.การพิสูจน์ทราบความผิด-การทำสำนวน โดยนิติวิทยาศาสตร์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2.การดำเนินคดี เป็นหน้าที่ของอัยการกับทนายความ 3.การพิจารณาคดีและตัดสิน คือศาล 4.ท่อนของการลงโทษ คือ ราชทัณฑ์ ดังนั้น การจัดประชุม afsn ขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้ จะมีผลมากในการเข้ามาช่วยเสริมแก้ปัญหาระบบกระบวนการยุติธรรมไทยในท่อนที่ 1
 
ช่วงที่ผ่านมา มีการ นำนิติวิทยาศาสตร์ ช่วยคลี่คลายคดีที่ภาคใต้
เราคิดว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นผู้นำทางนิติวิทยาศาสตร์เชิงความมั่นคงในโซนแถบอาเซียน เพราะมองว่าคดีทางภาคใต้ เป็นคดีก่อการร้ายเหมือนกับที่เกิดขึ้นทั่วโลก และการนำกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ ทำให้รู้คำตอบว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งผลตรวจดีเอ็นเอ พบว่ามีดีเอ็นเอ 700 กว่าราย ที่ปรากฏในคดีที่ภาคใต้ หรือบาง ดีเอ็นเอ ไปตรงกับคดีเก่าแต่ตำรวจปิดคดีไปนานแล้ว ตรงนี้สะท้อนว่ามีคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องคดีก่อการร้ายในภาคใต้จำนวนมาก ที่ผ่านมาตำรวจไม่ได้ให้ความสนใจ นำผลตรวจนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ประโยชน์เรื่องรูปคดีนัก เท่าที่หมอประมวลทั้งจากตำรวจ ที่จบใหม่และจบเก่านั้น พบว่าเขาถูกสอนให้ใช้การสืบสวนสอบสวนพยานบุคคลเป็นหลัก พวกเขาจึงอาจจะเข้าใจเอาว่าแค่นี้พอแล้ว
 
การประชุมเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์แห่งอาเซียน มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจ
งานนิติวิทยาศาสตร์ มีประโยชน์มากมาย ขอเชิญชวนทุกท่านที่เกี่ยวข้องและอยู่ในแวดวงนิติวิทยาศาสตร์เข้าร่วมงานประชุมกับ afsn ปลายปี 2555 โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ เรื่องเกี่ยวกับสารพิษวิทยา เรื่องสารพันธุกรรม (DNA) องค์ความรู้เรื่องพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล, เรื่องการพิสูจน์ศพนิรนามกับสิทธิมนุษยชน เช่น ศพจมน้ำตาย ศพเก่าในสภาพที่เหลือแต่กระดูกจะพิสูจน์อย่างไร เรื่องดูลายพิมพ์นิ้วมือ ตลอดจนงานนิติวิทยาศาสตร์หลากหลายด้าน เช่น ดิจิตัลฟอเรนสิค (Digital forensic) ซึ่งนอกเหนือไปจากพยานหลักฐานแบบคราบเลือด แต่เป็นเรื่องโทรศัพท์เรื่องการใช้คลื่นสัญญาณ พิสูจน์เสียง พิสูจน์จากภาพกล้องวงจรปิดฯ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...