วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ติด QR code บนตัววัว เช็คข้อมูลได้ละเอียดยิบ


ยุคนี้เป็นยุคแห่งเทคโนโลยีจริงๆ เพราะหลายสิ่งล้วนเกิดจากการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ดังเช่น เจ้าของฟาร์มโคนมในประเทศอังกฤษแห่งหนึ่งที่สร้างความฮือฮาด้วยการติด "คิวอาร์โค้ด" บนตัววัว เพื่อที่จะเก็บข้อมูลได้สะดวกขึ้น ไม่ต้องมานั่งจดนั่งจำกันอีกต่อไป แค่คุณนำมือถือไปสแกนบนตัววัว คุณก็จะได้ข้อมูลของเจ้าวัวตัวนั้นแบบว่าละเอียดยิบเลยล่ะ


โดยไอเดียดังกล่าวมาจาก เจน บราวน์ เจ้าของฟาร์มโคนม เซาท์ฟิลด์ ในเมืองโซเมอร์บี้ มณฑลเลเชสเตอร์เชียร์ ที่เธอเกิดปิ๊งไอเดียมาจากสิ่งรอบตัวเมื่อเธอเห็นว่า ทุกวันนี้ทุกคนหันมาใช้สมาร์ทโฟนกันแทบทั้งสิ้น ดังนั้น เธอจึงตัดสินใจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจของเธอ โดยเริ่มต้นทดลองวัวในฟาร์มที่มีชื่อว่า เลดี้ แชมร็อก ด้วยการพ่นสเปรย์ คิวอาร์โค้ด (QR code) ที่เรารู้จักกันดีในการสแกนเก็บข้อมูลต่าง ๆ เริ่มด้วยการนำแผ่นคิวอาร์โค้ดมาวางเป็นแบบบนตัววัว จากนั้นก็พ่นสเปรย์ตามแบบ เสร็จแล้วเราก็มาทดสอบการใช้งานกันได้เลย


ส่วนวิธีการใช้งานก็แสนจะง่าย นั่นคือ หากคุณได้แวะไปชมฟาร์มวัวดังกล่าว แล้วคุณอยากได้ข้อมูลของเจ้าเลดี้ แชมร็อก เพียงแค่คุณหยิบสมาร์ทโฟนในมือของคุณขึ้นมาสแกนคิวอาร์โค้ด มันก็จะปรากฎข้อมูลอย่างเร็วของเว็บไซต์ www.thisisdairyfarming.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของฟาร์มดังกล่าว แล้วคุณจะสามารถคลิกไปดูข้อมูลของวัวตัวนี้ ทั้งลักษณะทางกายภาพ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง หรือรายงานการเลี้ยงดูในแต่ละวันได้เลย เช่น อาหารที่ชอบของมัน ทางฟาร์มเลี้ยงดูมันอย่างไร มันมีปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง ผ่านการรีดนมมากี่ครั้ง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวก็เป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคและเจ้าของฟาร์มเองที่สามารถติดตามเก็บข้อมูลของวัวในฟาร์มได้อย่างใกล้ชิด และที่สำคัญก็คือ สีที่สเปรย์ลงบนตัววัวนั้นไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เพราะมันจะค่อยจางลงเองเมื่อเวลาผ่านไป


นับว่าเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ดีที่ช่วยพัฒนาธุรกิจฟาร์มโคนมได้อย่างดีเลยจริง ๆ คาดว่าอีกไม่นาน ฟาร์มอื่น ๆ อาจจะนำวิธีดังกล่าวไปใช้ให้เป็นประโยชน์เช่นกัน


แหล่งที่มา   เว็บไซต์กระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก thisisdairyfarming.com, buzzpatrol.com, gamme.com.tw

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...