วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561

วัคซีนสำหรับผู้สูงวัย ... เรื่องใกล้ตัว

การได้รับวัคซีนในวัยเด็กนั้น
ไม่สามารถป้องกันโรค
ได้ตลอดชีวิตอีกแล้ว

ผู้สูงวัยหลายคนอาจไม่เคยได้รับ
วัคซีนบางตัวมาก่อนเพราะตอน
ท่านยังเด็กนั้น ยังไม่มีวัคซีน
ป้องกันโรคต่างๆ ที่ดีพอ

อีกทั้งภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีน
อาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
จึงจำเป็นต้องฉีดกระตุ้นใหม่หรือ
เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายอ่อนแอลง
และโอกาสการติดเชื้อก่อโรคมากขึ้น
เช่น ไข้หวัดใหญ่และโรคปอดอักเสบ
จากเชื้อแบคทีเรียสูงขึ้น

ดังนั้นในผู้สูงอายุโดยทั่วไป
ก็มีความจำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีน
เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกัน
โรคที่มีความเสี่ยง มีผลกระทบ
กับสุขภาพได้เช่นเดียวกัน

ปัจจุบันการให้วัคซีนป้องกันโรค
สําหรับผู้สูงอายุนั้นมีความสำคัญ
และรณรงค์ให้เข้าถึงและฉีดมากขึ้น

คำแนะนำการให้วัคซีน
ป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และ
ผู้สูงอายุของราชวิทยาลัย
อายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2557 ได้แนะนำวัคซีน
ที่ควรได้รับ สำหรับผู้ที่มีอายุ
มากกว่า 65 ปีขึ้นไปไว้ดังนี้

1.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza Vaccine)

การเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุพบว่า
จะมีอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูง
และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
ไข้หวัดใหญ่สูงมากขึ้น รวมทั้งอัตราการ
เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ก็สูงที่สุดในผู้สูงอายุ

การให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่
ที่คาดว่าจะระบาดในปีนั้น

ไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยมีการแพร่กระจาย
ตลอดทั้งปี แต่เพิ่มมากในช่วงฤดูฝนการ
ดังนั้นการให้วัคซีนควรให้ในช่วงก่อน
มีการระบาดในแต่ละปีซึ่งในประเทศไทย
ควรเริ่มให้วัคซีนก่อนช่วงฤดูฝนราวๆ
เมษายนถึงพฤษภาคม ที่พิเศษคือ
จำเป็นต้องฉีดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
ตามการคาดการณ์ถึงสายพันธุ์
ที่อาจระบาดในปีนั้นๆครับ

ห้ามฉีดในผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง
เพราะไข่เป็นส่วนหนึ่งในขบวน
การผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั่นเองครับ

2.วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก 
(Tetanus vaccine) และ
โรคคอตีบ (Diphtheria vaccine)

ปัจจุบันพบว่าอัตราตายจากโรคนี้จะเพิ่มสูงขึ้น
ในผู้ป่วยที่สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคบาดทะยัก
ส่วนใหญ่มักไม่มีประวัติรับวัคซีนป้องกัน
โรคมาก่อนครับ หรือแม้ว่าเคยได้ครบ
แต่ก็ได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายมานาน
กว่า 10 ปี โดยพบว่าภูมิคุ้มกัน
โรคบาดทะยักมีแนวโน้มจะตก
ลดลงในช่วงวัยทำงาน วัยกลางคน

การให้วัคซีนทุก 10 ปี
ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันดีขึ้น
ในผู้สูงอายุได้มากทางหนึ่ง

ขณะเดียวกันก็พบว่าสามารถ
ลดความรุนแรงในกรณีที่เกิด
โรคบาดทะยักได้ ในปัจจุบัน
จึงมีการให้วัคซีนป้องกัน
โรคบาดทะยักและโรคคอตีบ
(tetanus diphtheria toxoid :Tdap)
แบบผสมกระตุ้น 1 ครั้งในผู้สูงวัย
และกระตุ้นด้วยวัคซีนบาดทะยัก
อีกทุกๆ 10 ปีครับ

3. วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine)

วัคซีนนี้ให้ความคุ้มครองจากการติดเชื้อตับอักเสบบี
เป็นระยะยาวอาจถึงตลอดชีวิตได้ ดังนั้นผู้สูงอายุ
ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี
มาก่อนหรือไม่แน่ใจควรได้รับการฉีดวัคซีนนี้

มันช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
ที่เป็นอันตรายทำให้ตับแข็งและเป็นมะเร็งตับได้ด้วย

4.วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส

เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส
ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคติดเชื้อ
ในกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคเรื้อรัง
ผู้สูงอายุ (มากกว่า 65ปี) ผู้ที่ไม่มีม้าม

ดยแนะนำให้ฉีด 1 ครั้ง ในช่วงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไป
ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านก่อนฉีดยาด้วย

5.วัคซีนงูสวัด (Zoster Vaccine)

หมอแนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อ
การเกิดและภาวะแทรกซ้อนโรคงูสวัดได้
มากกว่าวัยอื่นๆ

เชื้องูสวัดนั้นคือเชื้อตัวเดียวกับ
ที่เกิดโรคสุกใสนั่นเองซึ่งหลัง
จากหายแล้วมันจะหลบอยู่
ในร่างกายเรา วันดีคืนดี
ร่างกายเราภูมิคุ้มกันลดลง
อ่อนแอลง เชื้อมันจะกำเริบ
ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งวัคซีนจะ
ช่วยป้องกันและลดภาวะ
แทรกซ้อนจากตัวโรค
ได้มากเลยทีเดียว

ดังนั้นจะเห็นว่าการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ
มีความจำเป็นอย่างมาก

ช่วยลดความเสี่ยง
ช่วยลดความรุนแรง
ช่วยป้องกันโรคร้ายต่างๆได้อย่างมาก

ดังนั้นการมีความรู้เกี่ยวกับวัคซีน
จะทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจและเห็นถึง
ความสำคัญในการฉีดวัคซีนและ
ได้รับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม

อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่าย
ที่ต้องสูญเสียจากการเกิด
รคที่อาจเกิดขึ้นด้วยนะครับ

ป้องกันไว้ ... ย่อมดีกว่า

ขอขอบคุณคำแนะนำจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย 
www.cherseryhome.com

แหล่งที่มา   :   Facebook รู้ก่อนลืมแก่กับหมอเก่ง 
นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอารุณสันติ (หมอเก่ง) อายุรแพทย์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...