ทุกวันนี้มีปัจจัยรอบข้างหลายอย่างที่ทำให้คนใช้จ่ายเงินกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพที่สูงขึ้น หรือเป็นเพราะหมดเงินไปกับข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่อยู่นอกเหนือความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งปัญหาหลักอาจอยู่ที่เราไม่รู้จักจัดสรรปันส่วนเงินตามรายได้ให้เหมาะสม ส่งผลให้ถังแตกหรือเกิดภาวะใช้เงินเดือนชนเดือน แต่ถ้าหากคุณไม่อยากตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ งั้นลองมาดูเทคนิคการควบคุมเงินที่เรานำมาฝากกันดีกว่า
แยกรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วดูว่ามีเงินคงเหลือเท่าไหร่
สาเหตุที่ต้องคำนวนเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นออกไปก่อนหลังรับเงินเดือนมา นั่นก็เพราะว่าคุณจะได้ทราบตัวเลขที่แน่นอนว่ามีเงินคงเหลืออีกจำนวนเท่าไหร่ เพื่อจะได้นำไปจัดสรรปันส่วนระหว่างเงินที่ต้องเก็บ และเงินที่สามารถใช้ได้อีกครั้งหนึ่ง
พิจารณาดูว่าควรออมเงินแบบไหน
คุณควรหันมาสังเกตการใช้เงินในแต่ละเดือนดูบ้าง ว่ามีการใช้จ่ายมากขนาดไหน และในอนาคตมีแผนนำเงินไปลงทุนอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้เลือกฝากเงินกับทางธนาคารตามประเภทบัญชีที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น ผู้ที่มีความคิดจะเก็บเงินซื้อบ้าน อาจต้องเลือกฝากเงินแบบฝากประจำ ทั้งนี้ก็เพื่อบังคับตัวเองให้นำเงินไปฝากตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้
แบ่งเงินใช้จ่ายตามความเหมาะสม
เมื่อไหร่ที่ได้รับเงินเดือนมาแล้ว ขอให้คุณแบ่งเงินเอาไว้เลยสำหรับเงินเก็บส่วนหนึ่ง และเงินสำหรับใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น เพื่อให้คุณรู้สัดส่วนจำนวนเงินที่สามารถใช้ได้จริง โดยไม่ต้องไปแตะต้องกับเงินส่วนที่ออมไว้
ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
แม้ว่าจะเป็นวิธีที่ดูจุกจิกและอาจทำให้หลาย ๆ คน เบื่อกับการต้องมานั่งจดบันทึกว่ามีรายรับ - รายจ่ายมากน้อยขนาดไหน แต่มันจะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า ในแต่ละวันคุณหมดเงินไปกับอะไรบ้าง หากพบว่าเงินที่ใช้ดันหมดไปกับสิ่งของที่ไม่จำเป็น คราวหน้าจะได้ไม่ซื้ออีกไง
แหล่งที่มา เว็บไซต์กระปุกดอทคอม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น