ทีมนักวิจัยอิสราเอลเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังให้เป็นเซลล์ต้นกำเนิด ก่อนพัฒนาเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ หวังใช้รักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว เบื้องต้นทดลองในสัตว์ เห็นสัญญาณที่ดีชัดเจน พร้อมเดินหน้าศึกษาวิจัยต่อไป หวังให้ถึงการทดสอบระดับคลินิกในเร็ววัน มั่นใจไร้ปัญหาร่างกายต่อต้านเนื้อเยื่อปลูกถ่าย
นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่ทีมนักวิจัยจากศูนย์การแพทย์รามบาม (Rambam Medical Center) ในเมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ได้ทดลองนำเอาเซลล์ผิวหนังจากผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่เป็นชายจำนวน 2 คน มาผสมเข้ากับยีนและสารเคมีที่มีสูตรเฉพาะ เพื่อทำการสร้างเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ และพัฒนาเป็นเซลล์ที่ต้องการ
ทั้งนี้ บีบีซีนิวส์ระบุว่าเซลล์ที่นักวิจัยผลิตได้จากสเต็มเซลล์ที่เกิดจากเซลล์ผิวหนังของผู้ป่วยดังกล่าวนั้น มีคุณสมบัติเหมือนกับเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่แข็งแรงอย่างไร้ที่ติ และเมื่อนำไปทดลองปลูกถ่ายให้หนูทดลอง ก็พบว่าเซลล์เหล่านั้นเริ่มมีการประสานเข้ากับเนื้อเยื่อหัวใจที่อยู่บริเวณรอบๆได้เป็นอย่างดี
"มันเป็นอะไรที่ใหม่และน่าตื่นเต้นมากๆ ที่งานวิจัยของเราได้แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่เราจะนำเอาเซลล์ผิวหนังมาจากผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวขั้นรุนแรงที่มีอายุมากแล้ว สามารถที่จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงและดูหนุ่มสาวขึ้นได้ในที่สุด ด้วยเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจของเขาที่เกิดขึ้นในห้องแล็บนั่นเอง" ศ.ลิออร์ กิบสเทนท์ (Professor Lior Gepstein) หัวหน้าทีมวิจัยเรื่องนี้กล่าวและบอกว่านักวิจัยยังต้องทำงานกันอีกมากก่อนที่จะมีการนำไปทดสอบในผู้ป่วยจริง
ทีมวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางการรักษาด้วยสเต็มเซลล์นี้จะสามารถช่วยเยียวยาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งโรคหัวใจล้มเหลวนั้นเป็นอาการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีตามปรกติ และมีผู้ป่วยโรคนี้อยู่เป็นจำนวนมากทั่วโลก เฉพาะในประเทศอังกฤษเองนั้นก็มีมากกว่า 7.5 แสนคน
อีกทั้งการรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ที่ได้จากผู้ป่วยให้แก่ผู้ป่วยผู้เป็นเจ้าของเซลล์นั้นจะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการปฏิเสธเนื้อเยื่อของผู้ป่วย ในกรณีที่เป็นการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อที่นำมาจากบุคคลอื่นๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งงานวิจัยเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารยูโรเปียนฮาร์ท (European Heart Journal) เมื่อเร็วๆ นี้ และแม้ว่าการทดสอบเบื้องต้นในสัตว์ทดลองนั้นจะให้สัญญาณที่ดีแต่ทีมวิจัย แต่การทดลองนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยนั้นยังต้องอาศัยเวลาในการศึกษาวิจัยอีกหลายปีกว่าที่จะสามารถนำมาใช้ได้จริงกับผู้ป่วย
มีผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์จำนวนมากพยายามนำสเต็มเซลล์มาใช้เพื่อการรักษาโรคหัวใจหลายประเภท และภาวะบกพร่องต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคพากินสันส์ และโรคอัลไซเมอร์ส เป็นต้น เนื่องจากว่าสเต็มเซลล์นั้นมีความสามารถพิเศษในการที่จะเจริญไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆในร่างกายได้ และนักวิทยาศาสตร์ก็กำลังพยายามพัฒนาวิถีทางที่จะนำสเต็มเซลล์มาใช้ในการซ่อมแซมอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่เกิดความเสียหายหรือถูกทำลายจากสาเหตุต่างๆ
ดร.ไมค์ แนปตัน (Dr Mike Knapton) จากมูลนิธิหัวใจแห่งอังกฤษ (British Heart Foundation) กล่าวว่า งานวิจัยนี้เป็นความหวังอย่างยิ่งต่อขอบเขตการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม พวกเรายังคงมีหนทางที่จะดำเนินต่อไป ก่อนที่การค้นพบเหล่านี้จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในทางคลินิก
แหล่งที่มา เว็บไซต์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤษภาคม 2555 15:47 น.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น