วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

10 สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังจากทั่วโลก


1. เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton)
แน่นอนว่าในบรรดานักวิทยาศาสตร์เก่ง ๆ จะขาดนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่าง เซอร์ไอแซก นิวตัน ไม่ได้เด็ดขาด โดย เซอร์ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ปี 1642 และเสียชีวิตลงขณะอายุ 46 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม ปี 1727 (ตามปฏิทินจูเลี่ยนของ จูเลียส ซีซาร์) ซึ่งเขาเป็นอัจฉริยะที่เก่งรอบด้านทั้งในฐานะนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยา โดยผลงานเด่นที่สุดของเขาที่คนรู้จักกันดีที่สุดก็คือ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและกฎแรงโน้มถ่วงสากล ที่เขาคิดขึ้นมาได้จากการสังเกตผลแอปเปิ้ลที่ตกจากต้นนั่นเอง 



2. หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) 
หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นนักเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ปี 1822 และเสียชีวิตลงในวัย 72 ปี เมื่อวันที่ 28 กันยายน ปี 1895 ซึ่งเขาคนนี้ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ช่วยชีวิตผู้คนมากที่สุดคนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะเป็นผู้คิดค้นวิธีรักษาโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคพิษสุนัขบ้าและโรคแอนแทร็คซ์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น จากการคิดค้นวิธีพาสเจอร์ไรซ์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและถนอมอาหารให้เก็บได้นานขึ้นอีกด้วย


3. กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)
นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของฉายา "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่" คนนี้ เกิดที่ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปี 1564 และมีชีวิตอยู่จนอายุ 77 ปี จนกระทั่งเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม ปี 1642 โดยเขาเป็นผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับแนวคิดของวิทยาศาสตร์ยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง ด้วยการยึดมั่นในทฤษฎีของตัวเองว่าดาวเคราะห์เป็นฝ่ายหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งขัดกับความเชื่อของชาวคริสต์ในสมัยก่อนที่สนับสนุนทฤษฎีของอริสโตเติลที่เชื่อว่าพระอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นฝ่ายหมุนรอบโลก จนทำให้เขาถูกห้ามไม่ให้สอนนักเรียนของเขาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้อีก มิฉะนั้นจะถูกจับเผาทั้งเป็น เขาจึงได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นมาด้วยตัวเองเพื่อศึกษาเพิ่มเติมและพิสูจน์ว่าทฤษฎีของเขาเป็นความจริงในที่สุด


4. มารี กูรี (Marie Curie)
มารี กูรี เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปี 2410 และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ปี 2477 ในวัย 66 ปี ซึ่งเรียกได้ว่าเธอเป็นผู้หญิงเก่งแห่งยุคคนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะในขณะที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ในยุคสมัยของเธอไม่ได้รับการศึกษาหรือโอกาสเท่าเทียมกับผู้ชายนัก เธอกลับมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าจนกระทั่งค้นพบรังสีเรเดียมที่สามารถยับยั้งการขยายตัวของโรคมะเร็งได้ในที่สุด จนเป็นผลให้เธอได้รับรางวัลโนเบล ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากความเฉลียวฉลาดของเธอแล้ว การอุทิศตัวให้สังคมของเธอก็ยังทำให้หลาย ๆ คนประทับใจอีกด้วย เพราะเธอเลือกที่จะไม่จดสิทธิบัตรสิ่งที่เธอค้นพบซึ่งจะทำให้เธอกลายเป็นเศรษฐีได้สบาย ๆ แต่กลับเลือกอุทิศตัวเพื่อส่วนรวมและค้นคว้าต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิตจากการใกล้ชิดรังสีเรเดียมมากเกินไปในที่สุด


5. อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein)
คงไม่มีใครไม่รู้จักนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ปี 1879 และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 18 เมษายน ปี 1955 ในขณะที่มีอายุ 77 ปี คนนี้ ซึ่งถึงแม้เขาจะเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วโลกรู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ที่จริงแล้วเขาเคยเป็นเด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้มาก่อน โดยเขาไม่สามารถพูดได้จนกระทั่งอายุ 3 ขวบ และอ่านหนังสือออกเมื่อ 8 ขวบ จนไม่มีใครคาดคิดว่าเขาจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จได้มากขนาดที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ รวมถึงสร้างทฤษฎีใหม่ ๆ มากมาย โดยเฉพาะผลงานเด่นเช่นทฤษฎีทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่อธิบายว่าเราทุกคนจะมองเห็นอัตราความเร็วแสงได้ในระยะเท่ากัน และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบายกฎแรงโน้มถ่วงในเชิงเรขาคณิต ซึ่งทำให้นักวิชาการหลายคนจับตามองจนได้รับรางวัลโนเบลในที่สุด



6. ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)
ชาลส์ ดาร์วิน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี 1809 และเสียชีวิตลงในวัย 73 ปี ในวันที่ 19 เมษายน ปี 1882 ซึ่งจนกระทั่งยุคปัจจุบัน ทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติคนนี้คิดค้นขึ้นก็งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะมีทั้งคนที่ยอมรับและโต้แย้งในเวลาเดียวกัน โดยดาร์วินได้เขียนนังสือเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตว์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งอ้างว่าสัตว์ทั้งหลายจะปรับสภาพร่างกายเพื่อให้เข้ากับการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อมทำให้มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นวิวัฒนาการ ซึ่งแม้ในปัจจุบันเขาจะได้รับยกย่องเป็นนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะคนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งก็ยังมีผู้ที่ปฏิเสธแนวคิดของเขาเช่นกัน


7. โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison)
เชื่อเถอะว่าในบ้านของเราต้องมีสิ่งประดิษฐ์ของ โทมัส อัลวา เอดิสัน กันทุกคนแน่นอน เพราะนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปี 1847 และเสียชีวิตในวัย 84 ปี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ปี 1931 คนนี้ เป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์มากมายที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันกว่า 1,000 ชิ้น โดยเฉพาะการคิดค้นหลอดไฟที่เป็นผลงานชิ้นเอก แม้ว่าเขาจะมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ทำให้อ่านหนังสือไม่ออกจนกระทั่งอายุ 12 ปี และบกพร่องเรื่องการฟังหลังประสบอุบัติเหตุบนรถไฟก็ตาม 


8. นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)
นิโคลา เทสลา เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวโครเอเชียสัญชาติอเมริกัน ที่เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ปี 1856 และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 7 มกราคม ปี 1943 ในขณะที่มีอายุ 86 ปี โดยมีฉายาว่า "นักประดิษฐ์ที่โลกลืม" เพราะเป็นนักประดิษฐ์คนสำคัญแต่กลับมีน้อยคนที่รู้จัก หรือถูกรู้จักในฐานะนักวิทยาศาสตร์เพี้ยนจากการที่เขามีปัญหาในการเข้าสังคม มากกว่าจะสนใจผลงานของเขาที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้คนอื่น ๆ ซึ่งเขาเป็นผู้ประดิษฐ์ขดลวดเทสลา หรือ Tesla coil ซึ่งเป็นหม้อแปลงที่สามารถแรงดันไฟฟ้าสูง แถมยังเป็นผู้ค้นพบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า จึงเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลา อีกทั้งยังเป็นผู้ค้นพบวิธีการสื่อสารแบบไร้สายอีกด้วย



9. กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi)
นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีซึ่งเกิดเมื่อวันที่  25 เมษายน ปี 1874 และเสียชีวิตลงในขณะอายุ 63 ปี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปี 1937 คนนี้ คือคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตวิทยุคนแรกของโลกอย่างเป็นทางการ ซึ่ง กูกลิเอลโม มาร์โคนี ก็ได้ฉายแววความฉลาดมาตั้งแต่เด็กจากการสนใจเรื่องไฟฟ้าอยู่เสมอ จนพ่อของเขาสนับสนุนด้วยการจ้างครูพิเศษมาสอนเรื่องไฟฟ้าให้กับเขาโดยเฉพาะ และจากความสำเร็จของผลงานชิ้นสำคัญนี้ก็ได้เปลี่ยนเขาให้กลายเป็นเศรษฐีจากการเปิดบริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โคนีในที่สุด


10. อริสโตเติล (Aristotle)
สุดท้ายนี้คือคนที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกในยุคสมัยเริ่มแรกของวิทยาศาสตร์อย่างนักวิทยาศาตร์ชาวกรีกซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 384 - 322 ปีก่อนคริสตศักราชอย่าง อริสโตเติล นั่นเอง ซึ่งเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญรอบด้านในหลายสาขา เช่น ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ วรรณกรรม และชีววิทยา โดยไหวพริบของอริสโตเติลนั้นทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็นศิษย์เอกของอัจฉริยะอย่างเพลโต ตั้งแต่อยู่ในวัย 18 ปี โดยผลงานที่เด่นที่สุดของเขาเห็นจะเป็นด้านชีววิทยา ซึ่งเขาเป็นผู้จำแนกประเภทของสัตว์ตามลักษณะออกเป็น 2 ประเภท คือ พวกที่มีกระดูกสันหลังและพวกที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ทำให้ผู้คนนับถือความสามารถจนได้เป็นพระอาจารย์และพระสหายสนิทของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช


หลังจากได้ทราบเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลกทั้ง 10 คนนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า ความพยายามและความขยันนั้นสำคัญกว่าโอกาสที่ได้รับจริง ๆ เพราะแม้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนจะมีความบกพร่องทางร่างกายหรือถูกกีดกันด้านความคิด แต่ก็สามารถพิสูจน์ตัวเองจนเป็นที่ยอมรับได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...