วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระราชทานชื่อนกกระเรียน "ล่องลม-ชมฟ้า"


ชาวโคราชปลื้มปีติ สมเด็จพระเทพฯพระราชทานชื่อนกกระเรียนพันธุ์ไทย ล่องลม-ชมฟ้า 

ชาวจังหวัดนครราชสีมาปลื้มปีติหลังจากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระราชทานชื่อ "ล่องลม - ชมฟ้า" ให้กับนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่ถือกำเนิดขึ้นใน ศูนย์เพราะขยายพันธุ์นกกระเรียนพันธุ์ไทย ภายในสวนสัตว์นครราชสีมา   โดยนกกระเรียนทั้ง 2 ตัวดังกล่าว เกิดขึ้นจากการผสมพันธุ์ของนกกระเรียนพันธุ์ไทยของสวนสัตว์นครราชสีมา ตัวพ่อเป็นนกกระเรียนที่มีหมายเลขทะเบียนประจำตัวนกกระเรียนพันธุ์ไทยตัวที่ 53 และตัวแม่มีหมายเลขประจำตัวเลขที่ 56 โดยนกกระเรียนที่ได้รับพระราชทานนามว่า ล่องลม เป็นเพศผู้ ฝักไข่เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2554 

ขณะที่ตัวที่ได้พระราชทานนามว่า ชมฟ้า เป็นเพศเมีย ฝักออกจากไข่เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2554  ซึ่งนกกระเรียนทั้ง 2 ตัวนี้ถูกเลี้ยงดูที่ผิดแปลกไปกว่านกกระเรียนตัวอื่นๆที่มีอยู่ภายในสวนสวนนครราชสีมาที่มีอยู่ประมาณ 120 ตัว โดยส่วนใหญ่ทั้งหมดจะถูกเลี้ยงด้วยการจำกัดไม่ให้นกกระเรียนได้สัมผัสหรือคุ้นเคยกับมนุษย์โดยตรง เพื่อไม่ให้กระทบต่อพฤติกรรมตามธรรมชาติของนกกระเรียนที่ต่อไปจะมีการนำไปปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ เนื่องจากหานกเหล่านี้มีพฤติกรรมที่คุ้นเคยกับมนุษย์แล้ว เมื่อนำกลับไปปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติแล้วจะไม่มีความปลอดภัยและอาจจะถูกมนุษย์ทำร้ายได้

นายวันชัย สภาสุ หัวหน้าฝ่ายบำรุงสัตว์ สวนสัตว์นครราชสีมา กล่าวว่า โครงการเพาะขยายพันธุ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยของสวนสัตว์นครราชสีมา เริ่มขึ้นขึ้นเมื่อปี 2532 ที่ผ่านมา จากการได้รับการบริจาคพ่อแม่พันธุ์จากประชาชนเพียง 1 คู่และมีการนำมาเพาะขยายพันธุ์ด้วยการผสมเทียมและต่อมามีการพัฒนาต่อยอดจนสามารถผสมพันธุ์และเพาะขยายพันธุ์ตามธรรมชาติเป็นผลสำเร็จ จนถึงปัจจุบันมีนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่เพาะขยายพันธุ์สำเร็จภายในศูนย์เพาะขยายพันธุ์มากกว่า 200 ตัว ซึ่งส่วนหนึ่งถูกนำไปปรับสภาพและปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ รวม 26 ตัว ล่าสุดจากรายงานขณะนี้มีเหลืออดอยู่ภายในธรรมชาติที่จังหวัดบุรีรัมย์รวม 21 ตัว และยังคงมีความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะเพาะขยายพันธุ์และนำไปปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติให้ได้มากที่สุด


แหล่งที่มา    เว็บไซต์โพสทูเดย์ 16 กรกฎาคม 2555 เวลา 17:22 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตอน 37 ลาก่อนทองแดง

ตอน 36   อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...