นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า กรณีมีผู้ร้องเรียนว่าป้ายทะเบียนรถยนต์ใหม่ หรือป้ายแดงขาดตลาด ว่าจากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาล ส่งผลให้มีการซื้อรถยนต์มากขึ้น รวมถึงค่ายรถยนต์ที่แข่งขันสูงและนำรถอีโคคาร์ออกจำหน่าย เป็นอีกแรงจูงใจให้คนซื้อรถจำนวนมาก
ทั้งนี้ ปกติแล้ว ขบ.จะประมาณการจำนวนรถที่จะมาจดทะเบียนในแต่ละปี เพื่อผลิตป้ายให้พอดีกับรถ เพราะไม่ต้องการให้ป้ายทะเบียนไปอยู่กับตัวแทนจำหน่าย หรือศูนย์จำหน่ายรถมากเกินไป โดยขณะนี้ได้กระจายป้ายแดงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1 แสนแผ่น ที่เหลือกระจายในปริมณฑลและต่างจังหวัดทั่วประเทศ 6 แสนแผ่น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ ขบ. มีป้ายทะเบียนไม่เพียงพอได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจผ่อนผันการจับปรับ ให้เจ้าของรถยนต์ที่ยังไม่ได้ป้ายทะเบียนตัวจริง
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม กล่าวว่า ขบ.จะเปิดประกวดราคาหาผู้ผลิตป้ายทะเบียนรถยนต์วงเงิน 227 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาป้ายทะเบียนไม่เพียงพอในวันที่ 18 ก.ค.นี้ และคาดว่าจะได้รับป้ายทะเบียนภายในเดือน ส.ค.นี้ กว่า 7 ล้านแผ่น
สำหรับการประกวดราคาหาผู้ผลิตป้ายครั้งนี้ ทาง ขบ.จะเพิ่มการรับประกันแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ จาก 1 ปี เป็น 5 ปี และหากพบว่าไม่ได้คุณภาพ ผู้ผลิตจะต้องส่งป้ายใหม่ให้เจ้าของรถใน 15 วัน และจ่ายเงินค่าธรรมเนียมแทนเจ้าของรถ 100 บาท
แหล่งที่มา เว็บไซต์โพสทูเดย์ 15 กรกฎาคม 2555 เวลา 11:32 น.
รถป้ายแดงคืออะไร
รถป้ายแดงโดยทั่วไปหมายถึงป้ายชั่วคราวใช้สำหรับรถที่อยู่ระหว่างการขอมีทะเบียนจริงออกมา ซึ่งไม่เกี่ยวกับการซื้อสดหรือผ่อน โดยมีเงื่อนไข และข้อกำหนดส่วนมากใช้กับรถใหม่ ที่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนกับทางกรมการขนส่งฯ หรือ ที่จดทะเบียนแล้วและอยู่ระหว่างรอรับป้ายทะเบียนตัวจริงอยู่
การใช้รถป้ายแดง
- อนุโลมให้ใช้ช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น ถึงพระอาทิตย์ตก เวลาโดยประมาณ 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น ( 06.00 น.- 18.00 น.) และ
- ต้องมีหนังสือที่ใช้คู่กับป้ายแดง โดยต้องเขียนระบุ วันที่ ชื่อคนขับ จะเดินทางจากไหน และ ไปที่ไหน เวลาไปและกลับ และ
- ที่สำคัญต้องห้ามบรรทุกคน (คนขับนั่งได้คนเดียว ห้ามมีผู้โดยสาร) และ
- ห้ามบรรทุกสัตว์และสิ่งของ
แหล่งที่มา เว็บไซต์ http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090405015312AA6z0i9
ประเภทของป้ายทะเบียน
ป้ายทะเบียรถของไทยในปัจจุบัน ทำจากอลูมิเนียม มีขนาด 13.5 x 6 นิ้ว พื้นป้ายสะท้อนแสง สำหรับประเภทของป้ายทะเบียนนั้นสามารถแบ่งได้ตามประเภทการใช้งานของรถต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ป้ายสีขาวอักษรสีดำ คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- ป้ายสีขาวอักษรสีฟ้า คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- ป้ายสีขาวอักษรสีเขียว คือ ป้ายทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคล
- ป้ายสีขาวอักษรสีแดง คือ ป้ายทะเบียนรถ 3 ล้อส่วนบุคคล
- ป้ายสีเหลืองอักษรสีดำ คือ ป้ายทะเบียนรถรับจ้างบรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 7 คน
- ป้ายสีเหลืองอักษรสีเขียว คือ ป้ายทะเบียนรถรับจ้าง 3 ล้อ
- ป้ายสีเหลืองอักษรสีฟ้า คือ ป้ายทะเบียนรถ 4 ล้อเล็กรับจ้าง (ป้ายรถกระป๊อ)
- ป้ายสีเหลืองอักษรสีแดง คือ ป้ายทะเบียนรถรับจ้างระหว่างจังหวัด
- ป้ายสีแสดอักษรสีดำ คือ ป้ายทะเบียนรถ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม
- ป้ายสีเขียวอักษรสีขาว คือ ป้ายทะเบียนรถบริการธุรกิจ รถบริการทัศนาจร และรถบริการให้เช่า
แหล่งที่มาจากเว็บ http://board.postjung.com/453605.html |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น