วันมหาสงกรานต์ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๓ เมษายน เวลา ๑๙ นาฬิกา ๔๖ นาที ๑๒ วินาที
ตรงกับเวลา ๒๐ นาฬิกา ๔ นาที ๑๒ วินาที (เวลามาตรฐานประเทศไทย)
สงกรานต์ (วันเถลิงศก) วันที่ 15 เม.ย.2555 เวลา 23 นาฬิกา 43 นาที 48 วินาที
นางสงกรานต์นามว่ากิมิทาเทวี
คำทำนาย เกณฑ์พิรุณศาสตร์ปีนี้
พฤหัสบดี เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๕๐๐ ห่า
ตกในเขาจักรวาล ๒๐๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๕๐ ห่า
ตกในมหาสมุทร ๑๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๕๐ ห่า
ตรงกับเวลา ๒๐ นาฬิกา ๔ นาที ๑๒ วินาที (เวลามาตรฐานประเทศไทย)
สงกรานต์ (วันเถลิงศก) วันที่ 15 เม.ย.2555 เวลา 23 นาฬิกา 43 นาที 48 วินาที
นางสงกรานต์นามว่ากิมิทาเทวี
ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ
หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา)
มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ, ควาย) เป็นพาหนะคำทำนาย เกณฑ์พิรุณศาสตร์ปีนี้
พฤหัสบดี เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๕๐๐ ห่า
ตกในเขาจักรวาล ๒๐๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๕๐ ห่า
ตกในมหาสมุทร ๑๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๕๐ ห่า
เกณฑ์นาคราชให้น้ำปีมะโรง
นาคราชให้น้ำ ๓ ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล
เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในไร่นา จะได้ ๑ ส่วน เสีย ๑๐ ส่วน
คนทั้งหลายจะตกทุกข์ได้ยากลำบากแค้น
เพราะกันดารอาหารบ้าง จะฉิบหายเป็นอันมากแล
คำทำนายตามฉบับเว็บมุมดูชะตา
เนื่องจากนางสงกรานต์นอนลืมตามา จึงทำนายได้ว่า พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี
วันมหาสงกรานต์เป็นวันศุกร์
จึงทำนายได้ว่า พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก พายุพัดแรง
ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก
วันเนาเป็นวันเสาร์
จึงทำนายได้ว่า ข้าวปลาจะแพง ข้าวจะได้น้อยผลไม้จะแพง
น้ำน้อย จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ
วันเถลิงศกเป็นวันอาทิตย์
จึงทำนายได้ว่า พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศกระทรวงวัฒนธรรมประกาศนางสงกรานต์ปี 2555 "กิมิทาเทวี" น้ำพอประมาณพายุจัดบ้านเมืองเกิดยุทธสงครามจะฆ่าฟัน
กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศวันสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2555 ความว่า ปีมะโรง จัตวาศก จันทรคติเป็น อธิกมาส ปกติวาร สุริยคติเป็น อธิกสุรทิน วันมหาสงกรานต์ ตรงกับ วันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2555 เวลา 19.46.12 น. ตรงกับเวลา 20.04.12 น. (เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน)
นางสงกรานต์นามว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ) เป็นพาหนะ
เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ พฤหัสบดี เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ วาโย (ธาตุลม) น้ำพอประมาณ พายุจัด
เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะโรง นาคราชให้น้ำ 3 ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล
เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิดกิมิชาติ คือ มีด้วงแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล 1ส่วน เสีย 5 ส่วน
บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม จะฆ่าฟันกัน จะนิราชจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมากแล วันเถลิงศก ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน เวลา 23.43.48น. ตรงกับเวลา 0.01.48น. (เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน)
ความหมายนางสงกรานต์ วันจันทร์ ถึง วันอาทิตย์
นางสงกรานต์ เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ให้จารึกลงในแผ่นศิลาติดไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว ซึ่งเป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณ ผู้ไม่รู้หนังสือได้รู้ว่าวันมหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรงกับวันใด และ เวลาใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ เพราะคนสมัยก่อนไม่มีปฏิทินเช่นสมัยนี้ การจะรู้ว่าวันเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ตรงกับวันใดจะต้องรอให้โหรคำนวณเสียก่อน โดยแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จากนั้นทางราชการก็จะออกประกาศสงกรานต์ ของปีนั้นๆ ไปป่าวประกาศแจ้งให้ราษฎรได้ทราบถึงวัน เวลาเปลี่ยนศักราชใหม่ กำหนดการพระราชพิธี ศาสนพิธี วันมงคล วันอวมงคลที่ควร/ไม่ควรประกอบกิจการ เกณฑ์น้ำฝน และชื่อนางสงกรานต์ของปีนั้นๆ เป็นต้น ซึ่งประกาศสงกรานต์นี้นับว่ามีสาระประโยชน์ยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม เพราะสมัยโน้นยังไม่มีกรมอุตุนิยมวิทยาหรือสื่ออื่นใดที่จะบอกถึงสภาพดินฟ้า อากาศที่จำเป็นต่อการเพาะปลูก หรือแจ้งวันสำคัญต่างๆให้ทราบล่วงหน้า ประชาชนจะทราบเรื่องต่างๆข้างต้นก็จากประกาศสงกรานต์นี้เอง
อย่างไรก็ดี แม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆจะก้าวหน้าไปมากแล้ว แต่คนจำนวนไม่น้อยก็ยังให้ความสนใจกับ ประกาศสงกรานต์ และ นางสงกรานต์ ใน แต่ละปีอยู่ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับนางสงกรานต์มาเสนอให้ทราบเป็นความรู้ไว้
ตามตำนานกล่าวว่า นางสงกรานต์เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม มีด้วยกันเจ็ดนาง และเป็นบาทบริจาริกา (สนม) ของพระอินทร์ เมื่อท้าวกบิลพรหมผู้บิดาซึ่งเป็นผู้แสดงมงคลต่างๆ แก่มนุษย์ เกิดไม่พอใจธรรมบาลกุมารที่มาแข่งทำหน้าที่เดียวกับตน จึงไปท้าพนันตอบปริศนากับธรรมบาลกุมาร แล้วแพ้ จึงต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญา แต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ
ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับและนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะของตน ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า ’นางสงกรานต์’ ส่วนท้าวกบิลพรหม นั้น โดยนัยจะหมายถึง พระอาทิตย์ เพราะกบิล แปลว่า สีแดง
นางสงกรานต์แต่ละวันมีนามใด และทรงอาวุธอะไรบ้าง
นางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนาง จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะต่างกันตามแต่ละวันในสัปดาห์ ดังนี้
วันอาทิตย์ ทุงษะเทวี |
วันจันทร์ โคราคะเทวี |
วันอาทิตย์
นาม ทุงษะเทวี ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค หรือปัทมราช(พลอยสีแดง)ภักษาหารมะเดื่อ หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือสังข์ มีครุฑเป็นพาหนะ วันจันทร์
นาม โคราคะเทวี ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีเสือเป็นพาหนะ
วันพุธ นางมณฑาเทวี |
วันอังคาร รากษสเทวี |
นาม รากษสเทวี (ราก-สด) ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต หัตถ์ขวาถือตรีศูล หัตถ์ซ้ายถือธนู มีสุกร เป็นพาหนะ
วันพุธ
นาม นางมณฑาเทวี ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย หัตถ์ขวาถือเหล็กแหลม หัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า มีคัสพะ(ลา)เป็นพาหนะ
วันศุกร์ กิมิทาเทวี |
วันพฤหัสบดี กิริณีเทวี |
นาม กิริณีเทวี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา หัตถ์ขวาถือขอช้าง หัตถ์ซ้ายถือปืน มีช้างเป็นพาหนะ
วันศุกร์
นาม กิมิทาเทวี ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือพิณ มีมหิงสา (ควาย)เป็นพาหนะ
วันเสาร์ มโหธรเทวี |
นาม มโหธรเทวี ทัดดอกสามหาว (ผักตบ) เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้ายถือตรีศูล มีนกยูงเป็นพาหนะ
ส่วนอิริยาบถที่นางสงกรานต์ขี่พาหนะมา อันเป็นการบอกช่วงเวลาว่า พระอาทิตย์เคลื่อนสู่ราศีเมษเวลาใดของวันมหาสงกรานต์ จะมีด้วยกัน 4 ท่า โดยมีความหมาย ดังนี้
- ถ้ายืนมาบนพาหนะ หมายถึง พระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษในระหว่างเวลารุ่งเช้าจนถึงเที่ยง
- ถ้านั่งมาบนพาหนะ หมายถึง ช่วงเที่ยงจนถึงค่ำ
- ถ้านอนลืมตามาบนพาหนะ หมายถึง ช่วงค่ำไปจนถึงเที่ยงคืน
- ถ้านอนหลับตามาบนพาหนะ หมายถึง เที่ยงคืนไปจนถึงรุ่งเช้า
จากหนังสือตรุษสงกรานต์ของ อาจารย์สมบัติ พลายน้อย ได้มีการกล่าวถึงความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องนางสงกรานต์ วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศกไว้อย่างน่าสนใจหลายประการ ได้แก่
ความเชื่อเกี่ยวกับอิริยาบถของนางสงกรานต์ เชื่อว่า
- ถ้านางสงกรานต์ ยืนมา จะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้
- ถ้านางสงกรานต์ นั่งมา จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ
- ถ้านางสงกรานต์นอนลืมตา ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข
- ถ้านางสงกรานต์นอนหลับตาพระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี
- ถ้าวันอาทิตย์ เป็น วันมหาสงกรานต์ ปีนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้จะงอกงามนัก ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเนา ข้าวจะตายฝอย คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยาจะร้อนใจ ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเถลิงศก พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศ
- ถ้าวันจันทร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิง คุณนายทั้งหลายจะเรืองอำนาจ ถ้าวันจันทร์เป็นวันเนา มักเกิดความไข้ต่างๆ และเกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ ถ้าวันจันทร์เป็นวันเถลิงศก พระราชินีและท้าวนางฝ่ายในจะมีความสุขสำราญ
- ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง แต่ถ้าวันอังคารเป็นวันเนา ผลหมากรากไม้จะแพง ถ้าวันอังคารเป็นวันเถลิงศก ข้าราชการทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล
- ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ ข้า ราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ถ้าวันพุธเป็นวันเนา ข้าวปลาอาหารจะแพง แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่ ถ้าวันพุธเป็นวันเถลิงศก บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำราญ
- ถ้าวันพฤหัสบดี เป็นวันมหาสงกรานต์ ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่ และเจ้านาย ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเนา ผลไม้จะแพง ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเถลิงศก สมณชีพราหมณ์จะปฏิบัติกรณียกิจอันดีงาม
- ถ้าวันศุกร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก พายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก ถ้าวันศุกร์เป็นวันเนา พริกจะแพง แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แม่หม้ายจะมีลาภ ถ้าวันศุกร์เป็นวันเถลิงศก พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก
- ถ้าวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง ถ้าวันเสาร์เป็นวันเนา ข้าวปลาจะแพง ข้าวจะได้น้อย ผลไม้จะแพง น้ำน้อย จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ถ้าวันเสาร์เป็นวันเถลิงศก บรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู
นอกจากนี้ยังมีคำพยากรณ์อันเป็นความเชื่อทางล้านนาอีกตำราว่า
- ถ้าวันมหาสงกรานต์ตรงกับวันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ นางแพงศรี ปี นั้นข้าวจักแพงมากนัก คนทั้งหลายจักเป็นพยาธิ (เป็นโรค) ข้าศึกจักเกิดมีกับบ้านเมือง หนอนแมลงจักลงกินพืชไร่ข้าวนา ฝนตกบ่ทั่วเมือง คนมั่งมีเศรษฐีจักฉิบหาย คนเกิดวันพุธมีเคราะห์ คนเกิดวันเสาร์มีโชคลาภ
- ถ้ามหาสงกรานต์ตรงกับวันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโนรา ปี นั้นงูจักเกิดมีมาก คนทั้งหลายจักเกิดเป็นพยาธิมากนัก ฝนหัวปีดี หางปีบ่พอดี ข้าวกล้าลางที่ดี ลางที่ก็บ่ดี คนเกิดวันอังคารมีเคราะห์ คนเกิดวันพุธมีโชค
- หากตรงกับวันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษสเทวี ปี นั้นฝนหัวปีดี กลางปีไม่ดี ปลายปีดีมาก ข้าวไร่ข้าวนาจักเสีย ลูกไม้บ่มีหน่วยหลาย(ได้ผลน้อย) บ้านเมืองจักเกิดกลียุค แมลงมีปีกจักทำร้ายพืชผักข้าวกล้ามากนัก คนเกิดวันอาทิตย์มีเคราะห์ เกิดวันพฤหัสบดีมีโชค
- หากตรงกับวันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มันทะหรือมณฑา ปีนั้นฝนตกบ่ทั่วเมือง หัวปีมีมาก กลางปีน้อย ข้าวในนาจะได้ครึ่งเสียครึ่ง ของบริโภคจะแพง ขุนนางขุนเมืองจะตกต่ำ คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดจันทร์และวันเสาร์มีโชค
- ถ้าตรงกับวันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ นางกัญญาเทพ ปี นั้นฝนตกเสมอต้นเสมอปลายชอบตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดวันอาทิตย์มีโชค
- ถ้าตรงกับวันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ ริญโท ปีนั้น ฝนตกหัวปีดี กลางปีบ่มีหลาย เพลี้ย บุ้งจักกัดกินทำร้ายข้าวนาพืชไร่ อันตรายจักเกิดมีแก่สมณพราหมณ์ สัตว์น้ำจะแพง พืชผักจะถูก คนเกิดวันพุธจักมีเคราะห์ คนเกิดวันพฤหัสบดีมีโชค
- หากตรงกับวันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ สามาเทวี ปีนั้นฝนแล้ง แมลงต่างๆจักทำร้ายพืชไร่มากนัก ไฟจักไหม้บ้านไหม้เมือง เกิดอัคคีภัยใหญ่ ข้าวยากหมากแพง คนเกิดวันจันทร์มีเคราะห์ คนเกิดวันศุกร์มีโชค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น