1. ผู้มีคุณสมบัติได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป โดยเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2492
(3) ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ ผู้รับเงินเบี้ยยังชีพตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย หรือกรุงเทพมหานคร ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้เป็นประจำ
2. ให้ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามข้างต้นยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้ สูงอายุด้วยตนเองต่อผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2552 จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2552 ในวัน เวลา และสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนา
(2) สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับในกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยัง ชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคารในกรณีมีความจำเป็นไม่สามารถมาลงทะเบียนได้ตามวรรค หนึ่ง ผู้สูงอายุอาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทน
3. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานของผู้สูงอายุ ที่ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากข้อมูลทางทะเบียนราษฎรแล้วให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานที่อื่นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ กำหนด ภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 สำหรับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้จัดส่งรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ให้ อำเภอและจังหวัดทราบตามลำดับ และให้จังหวัดรวบรวมส่งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบต่อไป
4. การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามระเบียบนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ่ายเป็นรายเดือนๆ ละ 1 ครั้ง ในอัตราเดือนละ 500 บาท ดังนี้
(1) จ่ายเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
(2) จ่ายเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร
5.ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบนี้ มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป และให้สิทธิของบุคคลดังกล่าวสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ถึงแก่กรรม
(2) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๕
(3) แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่
สอบถามเพิ่มเติม
- ศูนย์ประชาบดี โทร. 1300
- ศูนย์ดำรงธรรม โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง
- ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน โทร.1111 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร โทร 0-2245-5166 ในวันและเวลาราชการ (เฉพาะกรุงเทพมหานคร)
ครม. ได้อนุมัติปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากเดิมที่จ่าย ให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 500 บาทต่อเดือน ในอัตราที่เท่ากันทั้งหมด เป็นผู้ที่มีอายุ
- 60 -69 ปี จ่าย 600 บาท
- 70-79 ปี จ่าย 700 บาท
- 80-89 ปี จ่าย 800 บาท
- 90 ปีขึ้นไปจ่าย 1,000 บาท
แหล่งที่มา เว็บไซต์ okNation วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2554
กทม.รับตกเบิก 6 เดือน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
รองผู้ว่าฯ กทม. เผย รับตกเบิกย้อนหลัง 6 เดือน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กทม. ภายใน 30 มี.ค. นี้
นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงจ่ายเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล โดยผู้ที่อายุ 60 - 69 ปี จะได้รับเงิน 600 บาท ผู้ที่มีอายุ 70 - 79 ปี จะได้รับ 700 บาท ผู้ที่มีอายุ 80 - 89 ปี จะได้รับ 800 บาท ขณะผู้ที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค .54
ซึ่งปีงบประมาณ 2555 กทม. ได้รับอนุมัติเงินอุดหนุนรัฐบาลในโครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุหรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นจำนวนเงินกว่า 2,000 ล้านบาท แต่เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้จ่ายเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันได ทำให้งบประมาณที่ต้องใช้ในการเบิกจ่ายเป็นเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สุงอายุเพิ่มขึ้น เป็นเงินกว่า 3,890 ล้านบาทส่งผลให้ที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือน ต.ค. 54 - มี.ค. 55 กทม. จำเป็นต้องจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุรายละ 500 บาทต่อเดือนไปก่อน
อย่างไรก็ตามขณะนี้ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือน ก.พ. 55 ดังนั้น กทม. โดยสำนักงานเขต 50 เขต จะดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันไดตกเบิกย้อนหลังเดือน ต.ค. 54 - มี.ค. 55 รวม 6 เดือน ภายในวันที่ 30 มี.ค. 55 ส่วนการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือน เม.ย. 55 เป็นต้นไป จะสามารถจ่ายเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันไดได้ตามกำหนดวันที่ 10 ของทุกเดือน ณ สำนักงานเขตพื้นที่ ที่ได้ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
แหล่งที่มา เว็บไซต์สนุกดอทคอม 23 มี.ค. 55 14.33 น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น