ในบุหรี่ 1 มวน เมื่อเกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด สารหลายร้อยชนิดมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และมีกว่า 60 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง
สารพิษที่สำคัญในควันบุหรี่ ได้แก่
- นิโคติน (Nocotine) เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันไม่มีสี เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติดและทำให้เกิดโรคหัวใจ
- ทาร์ (Tar) ประกอบด้วยสารหลายชนิด เป็นละอองหลวเหนียว สีน้ำตาลคล้ายน้ำมันดิน ทาร์จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้เยื่อบุหลอดลมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
- คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ซึ่งเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่พ่นออกจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวางการลำเลียงออกซินเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจนน้อยลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10-15 ทำให้หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้นและทำงานมากขึ้น
- ไฮโดรเจนไดออกไซด์ (Hydrogen dioxide) เป็นก๊าซพิษที่ใช้ในการสงคราม ก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) เป็นสาเหตุของโรคถุงลมปอดโป่งพอง เพราะไปทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม
- แอมโมเนีย (Ammonia) มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ใช้ในขบวนการผลิตเพื่อให้นิโคตินถูกดูดซึมผ่านปอดเร็วขึ้น
- ไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งปกติใช้เป็นยาเบื่อหนู ก็พบในบุหรี่ด้วยเช่นกัน
- ฟอร์มาล์ดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นสารที่ใช้ดองศพมีการนำมาใช้ในขบวนการผลิตบุหรี่
- สารปรุงแต่งกลิ่นรสจำนวนมากซึ่งยังไม่ทราบผลกระทบต่อร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น