ในการยื่นภาษีนี้ เรามีสิทธิ์ในการหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง มีคำแนะนำจาก ว่าที่ ร.ต. วุฒิชัย ธนะไพรินทร์ วิทยากรรับเชิญจากธนาคารกรุงไทย ที่ได้สรุปสิทธิในการหักค่าลดหย่อน ดังนี้
- ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนตามรายการต่างๆ ดังนี้
- ลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท
- ลดหย่อนคู่สมรส 30,000 บาท (คู่สมรสไม่มีเงินได้ หรือคู่สมรสรวมคำนวณภาษี)
- ลดหย่อนบุตร (อายุไม่เกิน 25 ปี/ไม่เกิน 3 คน)
- กำลังศึกษาอยู่ในประเทศ คนละ 17,000 บาท
- ไม่ได้ศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ต่างประเทศ คนละ 15,000 บาท
- ลดหย่อนบิดา/มารดา ของผู้มีเงินได้ และบิดา/มารดาของคู่สมรส อายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่มีเงินได้ หรือเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท คนละ 30,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพของบิดา/มารดา ของผู้มีเงินได้ และบิดา/มารดาของคู่สมรส หักได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินคนละ 15,000 บาท
- ผู้เลี้ยงดูอุปการะคนพิการในครอบครัว หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
- เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือ กองทุน กบข. หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
- กองทุน RMF หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุน LTF หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริงของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้
- เงินบริจาคเพื่อกีฬา หักลดหย่อนได้ 15,000 บาทของเงินที่จ่ายจริงของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน แต่ไม่เกิน 20% ของเงินได้
- เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้เท่าที่บริจาคจริงของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนเงินบริจาคการศึกษาและกีฬา แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้
- เบี้ยประกันชีวิต (ตามแบบที่กำหนด)
- เบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น