ต่อให้ทำงานดี เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานมากแค่ไหน ช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ก็อาจไม่มีความหมาย หากการลาออกของคุรทำไม่ถูกวิธี เปรียบไปก็เหมือนกับนักฟุตบอลที่ส่งบอลกันมาสวย แต่จังหวะสุดท้ายจบสกอร์ไม่ได้นั่นเอง แต่คนทำงานอย่างเพิ่งกังวลไป เพราะการลาออกไม่ใช่เรื่องยากเลย
1. ทำตามขั้นตอน
เมื่อมั่นใจว่าจะลาออกแล้ว สิ่งแรกที่ควรทำคือแจ้งกับหัวหน้างานเป็นคนแรก จากนั้นค่อยบอกเพื่อนร่วมงาน ที่สำคัญ อย่าลืมเตรียมเหตุผลดีๆ ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลที่แท้จริงทั้งหมด เพราะอาจทำลายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันได้
2. ยื่นเอกสาร
ถ้าไม่มีแบบฟอร์มลาออก ก็ควรระบุเป็นลายลักษณ์อักษรแบบเป็นทางการ ส่วนจะบอกล่วงหน้า 15 วัน หรือ 1 เดือน ก็แล้วแต่กฎระเบียบของบริษัท ส่วน "เหตุผลที่ลาออก" ก็ไม่จำเป็นต้องระบายความในใจ ใส่อารมณ์ดราม่า แค่สั้นๆ กระชับก็พอ
3. ไม่ทิ้งงาน
ถึงจะอยากลาออกแค่ไหน แต่ก็ควรสะสางงานที่ทำค้างไว้ให้เสร็จสมบูรณ์ อย่าปล่อยให้เป็นภาระของคนอื่น ที่สำคัญ ต้องตั้งใจทำ อย่าทำงานส่งๆ ด้วยคิดว่า ยังไงก็ลาออกอยู่แล้ว เพราะอย่างน้อยเมื่อต้องจากกันจริงๆ เจ้านายจะต้องเสียดายที่คุณลาออก
4. เคลียร์โต๊ะทำงาน
ไม่ต้องเป็นซินเดอเรลล่าทิ้งรองเท้าแก้วไว้ดูต่างหน้า ของส่วนตัวเก็บกวาดให้เกลี้ยงโต๊ะ ส่วนของที่เบิกมาจากส่วนกลาง ถ้ายังใช้งานได้ดีก็ควรส่งคืนให้เป็นสมบัติออฟฟิศ
5. เก็บความลับ
แม้จะเกลียดเพื่อนร่วมงาน หรือเจ้านายมากแค่ไหน เรื่องในที่ทำงานเก่าก็ถือว่าเป็นเรื่องห้ามเม้าท์เด็ดขาด เก็บไว้กับตัวคัณน่ะดีแล้ว
6. ไปแล้วอย่าไปเลย
เมื่อลาออกใหม่ๆ คุณจำเป็นต้องรับสายจากบริษัทเก่าบ้าง เผื่อช่วยเคลียร์งานเก่าที่ต่อเนื่อง หรือเทรนพนักงานใหม่ที่มารับช่วงต่อ
เพียงเท่านี้ คุณก็ลาออกได้อย่างหมดห่วงแล้วล่ะ
แหล่งที่มา นสพ. M2F วันอังคารที่ 15 พ.ค. 55 (143)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น