อธิบดีกรมชลประทาน เผย โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม ของกรมชลฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากยูเอ็น
นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากที่กรมชลประทานได้ส่งนวัตกรรมการป้องกันและการบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ เข้าแข่งขันรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน จากองค์การสหประชาชาติ (UN) ประจำปี พ.ศ. 2555 นั้น ปรากฏว่า สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศสาขา Fostering Participation In Policy Making Decisions Through Innovative Mechanisms ประเภทนวัตกรรมการป้องกันและบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ สะท้อนประสิทธิภาพการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมได้สำเร็จ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจ ในความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ทั้งส่วนของภาครัฐและกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำภาคประชาชน
สำหรับนวัตกรรมการป้องกันและการบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยมดังกล่าว ก่อนหน้านี้เคยได้รับรางวัลนวัตกรรมการให้บริการประจำปี พ.ศ. 2554 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
นายมนัส กำเนิดมณี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงการไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำเป็นแหล่งน้ำต้นทุน ต้องใช้น้ำจากลำน้ำแม่ยมเป็นหลัก ซึ่งปริมาณน้ำในฤดูแล้งมีเพียงวันละประมาณ 252,000 ลบ.ม. เพียงพอสำหรับการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้แค่ 1.7 หมื่นไร่ แต่เกษตรกรมีการเพาะปลูกมากกว่า 9 หมื่นไร่
อย่างไรก็ตามภายใต้ขีดจำกัดดังกล่าว โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม ได้ศึกษาค้นคว้า เทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับการปฏิบัติ เพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมการป้องกันและการบรรเทาภัยแล้งแบบบูรณาการ โดยมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ใช้การบริหารจัดการน้ำแบบโซนนิ่งพื้นที่ และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ จนสามารถบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนได้รับความพอใจ และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเป็นพื้นที่กว่า 9หมื่นไร่ รวมทั้งยังสามารถเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรจาก 154 ล้านบาทเป็น 553 ล้านบาทต่อปีอีกด้วย
ทั้งนี้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จึงนับว่าเป็นหน่วยงานที่ 2 ของกรมชลประทานที่ได้รับรางวัลจาก UN ต่อเนื่องจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ สาขา Fostering Participation in Policy Making Decisions through Innovative Mechanisms ในการเสนอขอรับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2554 ประเภทการสร้างนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ของ UN
แหล่งที่มา เว็บไซต์โพสทูเดย์ 23 พฤษภาคม 2555 เวลา 13:08 น.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น