ศูนย์ข่าวอาร์เอสยูนิวส์ 30 เม.ย. 2555 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ระบุคนไทยไม่สนใจเรื่องอาเซียน ยก "ลาว" เป็นตัวอย่างสร้างองค์ความรู้นำไปสู่การปรับยุทธศาสตร์ชาติรับ "เออีซี" ห่วงมาตรฐานการศึกษาไทยตกต่ำ เหตุเรียนเพื่อผ่าน-ภาษาอังกฤษใช้งานไม่ได้ เตือนต้องเร่งแก้ปัญหาก่อนเปิดประชาคมอาเซียน
จากการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ซึ่งจัดโดย คณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิตกล่าวว่า แม้คนไทยจะรู้เรื่องการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มานานแล้ว แต่ส่วนใหญ่กลับไม่เคยให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว จึงไม่มีการเตรียมตัวหรือสร้างความรู้ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยเห็นได้ชัดจากการประเมินผลเรื่องการรับรู้การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งพบคนไทยมีความรู้เรื่องอาเซียนอยู่อันดับที่ 8 จากทั้งหมด 10 ประเทศ ต่างจากประเทศลาวที่ประชาชนตื่นตัวเรื่องประชาคมอาเซียนอยู่ในอันดับ 1 เพราะไทยเคยมีทัศนคติดูถูกว่าประเทศลาวไม่มีพื้นที่ทางทะเลและไม่สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจได้ แต่ปัจจุบันนี้ลาวกลับใช้ความตื่นตัวเรื่องเออีซีเป็นแรงผลักดันไปสู่การปรับยุทธศาสตร์ประเทศให้เป็นแลนด์ลิงค์ (Land Link) เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของอาเซียน ถือเป็นการปรับตัวเพื่อรับกับการเปิดเสรีอาเซียน ต่างจากไทยที่ไม่เคยสนใจจึงทำให้ไม่มีการเตรียมตัวและวางยุทธศาสตร์เพื่อปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแต่อย่างใด
"การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็เปรียบเสมือนน้ำท่วมที่ทั่วถึงทุกพื้นที่ เพราะแนวทางของประชาคมอาเซียนจะขยายครอบคลุมในทุกด้านไม่ว่าจะเป็น สังคม เศรษฐกิจ การเมือง แรงงาน การศึกษา อุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ผมยังมีข้อมูลที่น่าตกใจว่า ในการประเมินการศึกษาของประเทศไทย พบว่าอยู่ในเกณฑ์ 3.6 คะแนนจาก 10 คะแนน ซึ่งทำให้สงสัยว่าเกิดเหตุการณ์นี้ได้อย่างไรในยุคที่ไทยพัฒนาก้าวหน้ามาไกลขนาดนี้ โดยในการประเมินดังกล่าวทำให้เรารู้ตัวว่า สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มีคะแนนในการประเมินการศึกษาดีกว่าประเทศไทย"อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว
ดร.อาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากภาพรวมของการศึกษาไทยที่ตกต่ำแล้ว ขณะนี้พบว่าศักยภาพด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยต่ำกว่านักเรียนของประเทศลาว เนื่องจากระบบการศึกษาของไทยเน้นการเรียนภาษาอังกฤษแบบขอผ่านเท่านั้น จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ทำให้ตนเชื่อว่าปัญหาดังกล่าวกำลังจะย้อนกลับมาเป็นอุปสรรคสำคัญเมื่อไทยเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างแน่นอน โดยเฉพาะภาษาซึ่งเป็นจุดอ่อนมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษให้กับคนไทยจึงเป็นปัญหาแรกที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตามตนมองว่าการเร่งแก้ปัญหาภายในระยะเวลาสั้นๆ คงไม่ทันเวลา ดังนั้นประเทศไทยควรปรับโครงสร้างทางด้านการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ตนมีความเป็นห่วงเรื่องการปรับตัวของคนไทยเพื่อรับกับการเปิดประชาคมอาเซียนในอีกหลายด้าน เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และอีกหลายกิจการที่กำลังจะตกอยู่ในมือของคนต่างชาติ นี่เป็นปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ในขณะเดียวกันนักศึกษาไทยส่วนใหญ่กลับไม่สนใจหาแนวทางปรับตัวในยุคประชาคมอาเซียน แต่กลับสนใจเพียงแค่เรียนให้จบโดยไม่คิดขวนขวายหาแนวทางปรับตัวเพื่อเตรียมหางานในยุคที่ชาวต่างชาติกำลังเข้าครอบครองกิจการต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก
แหล่งที่มา เว็บไซต์สนุกดอทคอม 30 เม.ย. 55 14.26 น.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ตอน 37 ลาก่อนทองแดง
ตอน 36 อ่านตอนสามสิบหก เรื่อง "ลาก่อนพ่อสิงโต...พ่อหมาใจดี...." ได้ที่นี่ ทองแดงเริ่มไม่ทานข้าวช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566 ช่วงนั...
-
ใครที่นึกเบื่อตลาดติดแอร์ แต่ชื่นชอบตลาดเปิดท้ายรวมถึงของขายแบกกะดินราคาถูก หรือร้านขายตามล็อกหลากหลายแนว มาทอดน่องช็อปให้เพลินที่ "ต...
-
การจ่ายเงินรายได้ไม่ครบถ้วน ว่าจริงๆ แล้วเงินที่ทางผู้จ้างได้จ่ายให้ผู้รับจ้างไม่ครบนั้น เพราะว่าทางผู้จ้างได้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น